หลักการเป็นที่ปรึกษาในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (ฉบับย่อ)

IMG_0301-1

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? เมื่อได้ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่แล้ว บุคลากรทางการแพทย์หรือผู้ที่มีจิตอาสาที่จะทำทางด้านนี้ ควรเริ่มต้นด้วยความใส่ใจและเสริมสร้างความรู้ให้กับตนเองโดยศึกษาความรู้เพิ่มเติมอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ โดยเมื่อจะเป็นที่ปรึกษา อาจใช้ฉบับย่อ ?หลัก 3 ส.? ได้แก่ สังเกต สำรวจ ส่งเสริมสนับสนุน

? ? ? ? ? ? ? สังเกต ผู้ที่ให้คำปรึกษา ควรจะสังเกต เก็บข้อมูลของมารดาและครอบครัว เพื่อทำความเข้าใจกับสภาพ สิ่งแวดล้อม และข้อจำกัดของแต่ละครอบครัว ซึ่งจะได้ข้อมูลที่ใช้ในการให้คำปรึกษาได้เหมาะสม

? ? ? ? ? ? ? สำรวจ ผู้ที่ให้คำปรึกษา เมื่อได้ข้อมูลจากการสังเกตมาแล้ว ต้องสำรวจตรวจสอบว่า อะไรเป็นอาการที่พบหรือแสดงออก และอะไรเป็นปัญหา ซึ่งจะทำให้การแก้ปัญหาทำได้ตรงจุดและถูกต้อง เช่น มารดาเจ็บหัวนมขณะให้ลูกดูดนม อาการเจ็บหัวนมเป็นอาการที่พบ แต่ปัญหาอาจเกิดจากการเข้าเต้าที่ไม่เหมาะสม หรืออาจเกิดจากทารกมีภาวะลิ้นติด ดังนั้น อาการที่พบ อาจจะไม่ใช่สาเหตุของปัญหา

? ? ? ? ? ? ส่งเสริมสนับสนุน ผู้ที่ให้คำปรึกษา ควรส่งเสริมการวางแผนการแก้ปัญหาร่วมกับมารดาและครอบครัว เนื่องจากธรรมชาติของแต่ละครอบครัวมีความแตกต่างกัน มารดาและครอบครัวจะเลือกทางเลือกที่เหมาะสมกับตนเองเมื่อได้รับข้อมูลที่เพียงพอและเหมาะสมแล้ว จากนั้น ควรให้การสนับสนุนโดยเป็นแรงคิดและแรงใจในการดูแลพร้อมติดตาม ชื่นชมความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

? ? ? ? ? ซึ่งหากผู้ที่มีความตั้งใจที่จะช่วยเหลือมารดาให้สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นำหลักการเป็นที่ปรึกษาฉบับย่อนี้ไปใช้แล้ว ก็น่าจะช่วยให้เด็กไทยได้กินนมแม่มากขึ้น

เอกสารอ้างอิง

  1. Cadwell K, Turner-Maffei C. Pocket guide for lactation management. 2nd Burlington: Jones & Bartlett Learning 2014.