คลังเก็บหมวดหมู่: การคุมกำเนิด ทางเลือกสำหรับสุขภาพการเจริญพันธุ์

การคุมกำเนิด ทางเลือกสำหรับสุขภาพการเจริญพันธุ์

อาการลูกหิว สิ่งจำเป็นที่แม่ต้องสังเกต

IMG_0727

 

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? หลังคลอด ช่วงแรกจะมีการให้ทารกได้สัมผัสผิวกับมารดาเนื้อแนบเนื้อภายใน 30 นาทีแรก และให้ทารกได้อยู่บนอกแม่นานอย่างน้อย 1 ชั่วโมง ซึ่งจะช่วยพัฒนาการระบบประสาทของทารกและความคุ้นเคยกับเต้านมที่เป็นแหล่งอาหารที่สำคัญ โดยหากให้เวลาทารกนานเพียงพอ ทารกจะไขว่คว้าเข้าหาเต้านมและกินนมได้เอง

? ? ? ? ? ? ? ? แต่หลังจากนั้น สิ่งที่แม่จำเป็นต้องสังเกตคือ อาการที่ลูกหิว (feeding cues) ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่ นอนหลับแต่กลอกตาไปมา ขยับหรือหันศีรษะไปมา กำมือแน่น อมนิ้วมือหรือกำปั้น เลียริมฝีปาก ดูดหรือแลบลิ้น แต่หากแม่รอให้ทารกหิวมากจนร้องไห้แล้ว ทารกจะหงุดหงิด การจะควบคุมให้ทารกเข้าเต้าหรือกินนมกลับมีความลำบากหรือยากขึ้น ดังนั้น สิ่งนี้จึงเป็นสิ่งจำเป็นเบื้องต้นที่แม่จะต้องเรียนรู้ นั่นคือ?”การให้นมในเวลาที่เหมาะสมคือเวลาที่ลูกเริ่มหิว

เอกสารอ้างอิง

  1. Cadwell K, Turner-Maffei C. Pocket guide for lactation management. 2nd Burlington: Jones & Bartlett Learning 2014.

การคุมกำเนิดในมารดาที่เป็นกลุ่มอาการแอนติฟอสฟอไลปิดและโรคเอสแอลอี

w28

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

ในการรักษาผู้ป่วยกลุ่มอาการแอนติฟอสฟอไลปิดและโรคเอสแอลอี ควรระมัดระวังเรื่องการตั้งครรภ์เนื่องจากจะมีภาวะแทรกซ้อนของโรคและผลเสียจากการรักษาต่อมารดาและทารก ร่วมกับเมื่ออาการของโรคดีขึ้น โอกาสของการตั้งครรภ์ก็สูงขึ้น ดังนั้น การเลือกวิธีการคุมกำเนิดในผู้ป่วยกลุ่มอาการแอนติฟอสฟอไลปิดและโรคเอสแอลอี ควรเลือกด้วยความระมัดระวังดังนี้

-การให้สามีใช้ถุงยางอนามัย วิธีนี้ปลอดภัย ไม่เพิ่มโอกาสกำเริบของโรค

-การใส่ห่วงอนามัย วิธีนี้สามารถใส่ได้ทั้งชนิดที่ไม่มีและมีฮอร์โมน อย่างไรก็ตาม ในผู้ป่วยกลุ่มนี้มักมีภูมิคุ้มกันต่ำ การติดเชื้อง่าย การเฝ้าระวังการติดเชื้อในช่วงแรกของการใส่ห่วงอนามัยจึงมีความจำเป็น1,2 นอกจากนี้ ในผู้ที่ใส่ห่วงอนามัยอาจมีอาการหน่วงหรือปวดท้องน้อยเล็กน้อยได้

-การใช้ยาฉีดคุมกำเนิด กลุ่มยาฉีดคุมกำเนิดเป็นกลุ่มฮอร์โมนโปรเจสตินซึ่งไม่ส่งผลให้อาการของโรคกำเริบ จึงสามารถใช้ได้โดยปลอดภัย ไม่จำเป็นต้องวิตกกังวลเรื่องกระดูกบาง เนื่องจากหลังหยุดการใช้ยามวลกระดูกจะกลับสู่ภาวะปกติ3

-การใช้ยาคุมกำเนิดชนิดรับประทาน หากเป็นฮอร์โมนรวม การใช้เอสโตรเจนมักสัมพันธ์กับการกำเริบของโรค4 มีรายงานว่าสามารถใช้ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวมขนาดต่ำได้ในช่วงที่อาการของโรคสงบ5,6 ยาคุมกำเนิดชนิดรับประทานที่เป็นฮอร์โมนโปรเจสตินสามารถใช้ได้อย่างปลอดภัย

หนังสืออ้างอิง

1.???????????? Campbell SJ, Cropsey KL, Matthews CA. Intrauterine device use in a high-risk population: experience from an urban university clinic. Am J Obstet Gynecol 2007;197:193 e1-6; discussion? e6-7.

2.???????????? Stringer EM, Kaseba C, Levy J, et al. A randomized trial of the intrauterine contraceptive device vs hormonal contraception in women who are infected with the human immunodeficiency virus. Am J Obstet Gynecol 2007;197:144 e1-8.

3.???????????? Chabbert-Buffet N, Amoura Z, Scarabin PY, et al. Pregnane progestin contraception in systemic lupus erythematosus: a longitudinal study of 187 patients. Contraception 2011;83:229-37.

4.???????????? Cutolo M, Capellino S, Straub RH. Oestrogens in rheumatic diseases: friend or foe? Rheumatology (Oxford) 2008;47 Suppl 3:iii2-5.

5.???????????? Sanchez-Guerrero J, Uribe AG, Jimenez-Santana L, et al. A trial of contraceptive methods in women with systemic lupus erythematosus. N Engl J Med 2005;353:2539-49.

6.???????????? Petri M, Kim MY, Kalunian KC, et al. Combined oral contraceptives in women with systemic lupus erythematosus. N Engl J Med 2005;353:2550-8.

 

ประจำเดือนหลังการคุมกำเนิดแบบฉุกเฉิน

obgyn2

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? การคุมกำเนิดแบบฉุกเฉินชนิดที่ใช้ฮอร์โมนจะมีลักษณะประจำเดือนเปลี่ยนแปลงไปได้ โดยจะพบมีเลือดประจำเดือนออกมาก่อนกำหนดที่ควรจะเป็นร้อยละ 15 พบประจำเดือนคลาดเคลื่อนไม่เกินสามวันของกำหนดที่ควรจะเป็นร้อยละ 57 และพบประจำเดือนเลื่อนไปหลังกำหนดเกินสามวันร้อยละ 28 ซึ่งเวลาของเลือดประจำเดือนที่จะมานั้นอาจเกี่ยวกับช่วงของการใช้ยาคุมกำเนิดฉุกเฉินในช่วงที่แตกต่างกันที่สัมพันธ์กับการตกไข่1

??????????? จะเห็นว่าส่วนใหญ่ของประจำเดือนจะมาก่อนและใกล้เคียงกับกำหนดปกติโดยเลื่อนไม่เกินสามวัน ในกรณีที่มีประจำเดือนเลื่อนไปหลังกำหนดนั้น สิ่งที่ต้องระมัดระวังคือ การตั้งครรภ์ จึงควรสังเกตอาการของการตั้งครรภ์ และตรวจปัสสาวะหรือตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อทดสอบการตั้งครรภ์ ซึ่งจะทำให้สามารถวางแผนในการดูแลตนเองได้อย่างเหมาะสมหรือหากมีข้อสงสัยควรปรึกษาแพทย์

หนังสืออ้างอิง

1.???????????? Dunn S, Guilbert E, Burnett M, et al. Emergency contraception: no. 280 (replaces No. 131, August 2003). Int J Gynaecol Obstet 2013;120:102-7.

?

อาการข้างเคียงของการคุมกำเนิดแบบฉุกเฉิน

obgyn

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? เมื่อใช้ยาคุมกำเนิดแบบฉุกเฉินชนิดฮอร์โมนจะมีอาการข้างเคียงที่พบได้ โดยยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวมจะมีอาการคลื่นไส้ร้อยละ 50.5 อาเจียนร้อยละ 18.8 วิงเวียนร้อยละ 16.7 อ่อนเพลียร้อยละ28.5 ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนโปรเจสตินจะมีอาการข้างเคียงน้อยกว่า พบอาการคลื่นไส้ร้อยละ 23.1 อาเจียนร้อยละ 5.6 วิงเวียนร้อยละ 11.2 อ่อนเพลียร้อยละ16.9 การใช้ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนโปรเจสตินแบบให้สองครั้งหรือครั้งเดียวอาการข้างเคียงไม่แตกต่างกัน

??????????? การใช้ยาลดอาการคลื่นไส้อาเจียนจะลดอาการข้างเคียงเหล่านี้ได้ โดยแนะนำให้รับประทานยา domperidone ก่อนกินยาคุมกำเนิด 1 ชั่วโมง ในกรณีที่มีอาการอาเจียนภายในสองชั่วโมงหลังรับประทานยาคุมกำเนิดแบบฉุกเฉินควรรับประทานยาซ้ำอีกครั้ง

??????????? สำหรับภาวะแทรกซ้อนของการใส่ห่วงอนามัยชนิดทองแดงพบได้น้อย ได้แก่ อาการปวดท้องน้อย เลือดออกจากช่องคลอดผิดปกติ ภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบ มดลูกทะลุ และห่วงอนามัยหลุด1

หนังสืออ้างอิง

1.???????????? Dunn S, Guilbert E, Burnett M, et al. Emergency contraception: no. 280 (replaces No. 131, August 2003). Int J Gynaecol Obstet 2013;120:102-7.

?

การประเมินและติดตามเมื่อใช้คุมกำเนิดแบบฉุกเฉิน

obgyn

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? เมื่อใช้ยาคุมกำเนิดแบบฉุกเฉินต้องระมัดระวังเสมอว่าไม่ควรมีการตั้งครรภ์ก่อน ซึ่งการคุมกำเนิดจะไม่ได้ผล แต่หากประเมินแล้วไม่มีข้อมูลว่ามีการตั้งครรภ์และระยะการมีเพศสัมพันธ์อยู่ในระยะที่ยาคุมกำเนิดแบบฉุกเฉินยังมีประสิทธิภาพ การใช้อาจจะช่วยลดหรือป้องกันการตั้งครรภ์ได้

??????????? การมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ได้มีการป้องกันหรือวางแผน มักมีความสัมพันธ์กับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การซักประวัติและการตรวจร่างกายอย่างละเอียดจะทำให้สามารถให้การรักษาได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น ซึ่งจะป้องกันภาวะแทรกซ้อนเรื่องการปวดท้องน้อยเรื้อรัง ภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบและการตั้งครรภ์นอกมดลูก

??????????? หลังจากที่ใช้การคุมกำเนิดแบบฉุกเฉินแล้ว หากต้องการการคุมกำเนิดต่ออาจใช้วิธีการคุมกำเนิดโดยใช้ถุงยางอนามัย หรืออาจใช้ยาคุมกำเนิดชนิดรวมรับประทานต่อไปจนหมดแผง สำหรับการติดตามควรสังเกตการมีประจำเดือนซึ่งอาจจะมีประจำเดือนมาภายใน 21 วันหลังการคุมกำเนิดแบบฉุกเฉินหรือกรณีที่รับประทานยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวมต่อจากการคุมกำเนิดแบบฉุกเฉินประจำเดือนควรจะมาภายใน 28 วัน หากไม่มีประจำเดือนมาควรตรวจสอบการตั้งครรภ์ ส่วนกรณีที่มีประวัติสงสัยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อาจมีการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติมสำหรับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ด้วย1

หนังสืออ้างอิง

1.???????????? Dunn S, Guilbert E, Burnett M, et al. Emergency contraception: no. 280 (replaces No. 131, August 2003). Int J Gynaecol Obstet 2013;120:102-7.

?