คลังเก็บหมวดหมู่: นมแม่

นมแม่

การสอนแสดง 2.1 ในหลักสูตรการอบรมบุคลากรผู้ดูแลนมแม่ 20 ชั่วโมง

 

milk

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? แนะนำการสอนแสดง โดยให้ผู้รับการฝึกอบรมฟังว่า บุคลากรทางการแพทย์ถามคำถามปลายปิดหรือปลายเปิด และสังเกตว่ามารดาตอบสนองต่อคำถามอย่างไร

บทบาท

บุคลากรทางการแพทย์ ?สวัสดีครับ (ค่ะ) วันนี้คุณแม่และลูกสบายดีไหม (หรือไม่) ครับ (ค่ะ) ??

มารดา ?สบายดีค่ะ?

บุคลากรทางการแพทย์ ?คุณแม่มีปัญหาอะไรไหมครับ (ค่ะ) ??

มารดา ?ไม่มีค่ะ?

บุคลากรทางการแพทย์ ?ลูกกินนมบ่อยไหมครับ (ค่ะ) ??

มารดา ?บ่อยค่ะ?

ข้อคิดเห็น

??????????? คำถามปลายปิดที่ให้คำตอบว่าใช่หรือไม่ จะทำให้เราได้ข้อมูลน้อยจากมารดา และยากที่จะเชื่อมต่อการสนทนา ?

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

?

การถามคำถามปลายเปิดในหลักสูตรการอบรมบุคลากรผู้ดูแลนมแม่ 20 ชั่วโมง

milk

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? ถ้าท่านกำลังจะทำการช่วยเหลือมารดา ท่านจะต้องสืบหาก่อนว่าสถานการณ์ขณะนี้เป็นอย่างไร มารดาให้นมลูกด้วยความยากลำบากหรือไม่ อะไรที่ทำแล้วได้ผล อะไรที่ทำแล้วไม่ได้ผล ถ้าท่านถามคำถามในลักษณะที่ส่งเสริมให้มารดาพูดกับท่าน การถามคำถามอาจไม่จำเป็นต้องถามหลายคำถาม

??????????? คำถามปลายเปิดจะเป็นประโยชน์อย่างมาก เนื่องจากคำถามลักษณะนี้จะเปิดโอกาสให้มารดาให้ข้อมูลได้มากกว่า คำถามปลายเปิดนี้มักจะเป็นคำถามว่า ?อย่างไร? ?อะไร? ?เมื่อไร? ?ที่ไหน? และ ?ทำไม? ตัวอย่างเช่น คุณแม่ให้นมลูกอย่างไร?

??????????? คำถามปลายปิดจะทำให้มารดาตอบใช่หรือไม่และข้อมูลที่ได้มีความจำกัด คำถามปลายปิดมักจะใช้คำถามว่า ?ใช่หรือไม่? หรือ ?ไหม? ตัวอย่างเช่น คุณแม่ให้ลูกคนแรกกินนมแม่ใช่หรือไม่? อย่างไรก็ตาม ขณะที่สอบถามมารดาในบางครั้ง มารดาอาจตื่นเต้น ตื่นกลัวว่าจะตอบคำถามผิด การใช้คำถามปลายปิดอาจช่วยยืนยันคำตอบที่ถูกต้องของคำถามที่เราต้องการจะทราบได้

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

?

 

 

การสอนแสดง 1 ในหลักสูตรการอบรมบุคลากรผู้ดูแลนมแม่ 20 ชั่วโมง

milk

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? แนะนำการสอนแสดง โดยให้บุคลากรทางการแพทย์ได้พูดต้อนรับมารดาด้วยคำพูดเดียวกันแต่ด้วยกิริยาท่าทางที่แตกต่างกัน และให้สังเกตการสื่อสารที่ไม่ใช้คำพูดในแต่ละการกล่าวต้อนรับ

??????????? ผู้รับการฝึกอบรมเล่นบทบาทเป็นมารดาพร้อมกับมีตุ๊กตาทารกจัดท่าในลักษณะการให้นมลูกโดยนั่งอยู่หน้ากลุ่ม

??????????? ผู้ให้การฝึกอบรมเล่นบทบาทเป็นบุคลากรทางการแพทย์ที่กล่าวต้อนรับด้วยคำพูดเดียวกันหลายๆ ครั้งในท่าทางที่แตกต่างกัน คำพูดที่ใช้ได้แก่ ?สวัสดีครับ (ค่ะ) เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นอย่างไรบ้างครับ (ค่ะ)? โดยท่าทางที่ใช้อาจจะยืนอยู่ทางด้านหลังมารดา อาจจะนั่งด้านข้างมารดา อาจจะมองนาฬิกาขณะพูด หรืออาจจะเข้าไปกระตุ้นหรือจับทารกตั้งแต่แรก (ซึ่งประเด็นการสัมผัสทารกตั้งแต่แรกควรมีการอภิปรายด้วย)

??????????? อภิปรายถึงการสื่อสารที่ไม่ใช้คำพูดในแต่ละรูปแบบ ถามมารดาว่ารู้สึกอย่างไรกับวิธีการต้อนรับในรูปแบบต่างๆ ถามผู้รับการฝึกอบรมว่าได้เรียนรู้อะไรจากการสอนแสดงนี้

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

?

 

ทักษะการฟังและการเรียนรู้ในหลักสูตรการอบรมบุคลากรผู้ดูแลนมแม่ 20 ชั่วโมง

milk

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? -การสื่อสารอาจจะเป็นสิ่งที่เราพูด แต่ที่สำคัญพอๆ กันคือ การสื่อสารที่ไม่ใช้คำพูด อาจจะเป็นภาษากายซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ใช้ในการสังเกตลักษณะท่าทางของมารดา เช่น ขณะที่พูดคุยกับมารดา มารดาไม่มีสมาธิในการให้นมลูกหรือมีความลำบากในการให้นมลูก เราอาจเข้าไปพูดคุยและให้ความช่วยเหลือได้

??????????? -เมื่อพูดคุยกับมารดาในที่สงบและสะดวกสบาย บรรยากาศที่ดีจะช่วยให้มารดารู้สึกอยากจะพูดหรือระบายปัญหากับท่าน

??????????? การสื่อสารที่ไม่ใช้คำพูด หรือการใช้ภาษากายกับมารดาจะช่วยทำให้มารดาสงบและสามารถจะรับฟังเรื่องราวต่างๆ ได้

????????? คำถาม

??????????? -วิธีการที่จะใช้ประโยชน์จากการสื่อสารที่ไม่ใช้คำพูดระหว่างการอภิปรายกับมารดาคืออะไร?

??????????? ปล่อยเวลาให้ผู้รับการฝึกอบรมได้คิดสักครู่ แล้วจึงบรรยายต่อ

??????????? -วิธีการที่จะใช้ประโยชน์จากการสื่อสารที่ไม่ใช้คำพูดระหว่างการอภิปรายกับมารดามีหลายวิธี ได้แก่

??????? การนั่งที่ระดับเดียวกันและนั่งชิดกับมารดา

??????? นำสิ่งที่ขัดขวางหรือเป็นอุปสรรคในการสร้างความใกล้ชิดกับมารดาออก เช่น โต๊ะ หนังสือ แฟ้มเอกสารต่างๆ

??????? ให้ความใส่ใจและตั้งใจในการรับฟังมารดา โดยการแสดงกิริยาในขณะรับฟัง อาจเป็นการพยักหน้า ยิ้ม หรือแสดงกิริยาอื่นๆ ที่เหมาะสม

??????? ให้เวลากับมารดา ไม่เร่งรีบหรือสนใจแต่ดูเวลา

??????? อาจให้การสัมผัสในทางที่เหมาะสม เช่น การจับเบาๆ บนแขนของมารดา สำหรับการแตะเต้านมหรือทารกควรขออนุญาตมารดาก่อน

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

?

 

ทักษะการสื่อสารในหลักสูตรการอบรมบุคลากรผู้ดูแลนมแม่ 20 ชั่วโมง

milk

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

วัตถุประสงค์ของการเรียนการสอนหัวข้อนี้

??????????? หลังจากสิ้นสุดการเรียนการสอน ผู้รับการฝึกอบรมสามารถ

??????????? 1.ชี้แจงทักษะการสื่อสารของการฟัง การเรียนและการสร้างความมั่นใจ (30 นาที)

??????????? 2.ฝึกทักษะเหล่านี้โดยการเขียนใส่กระดาษ (30 นาที)

ระยะเวลาทั้งหมด 60 นาที

วัสดุอุปกรณ์

??????????? -ตุ๊กตาที่ใช้ในการสอนแสดง

??????????? -เก้าอี้สองตัวที่สามารถย้ายไปที่หน้าห้องเรียนได้

??????????? -สำเนาเนื้อหาที่ต้องอ่านให้ผู้รับการอบรมฟังในระหว่างสอนแสดง

??????????? -เตรียมรายการที่จะฝึกทักษะการสื่อสาร โดยเขียนติดไว้ที่ผนังหรือ flip chart และเปิดทีละอันตามความจำเป็น

??????????? -สำเนาโจทย์การฝึกทักษะการสื่อสารแจกให้กับผู้รับการฝึกอบรม (โดยไม่มีส่วนที่เฉลยคำตอบ)

??????????? คำตอบของโจทย์ฝึกทักษะการสื่อสารจะใช้คำพูดที่เป็นภาษาถิ่น

การจัดเตรียมการสอนแสดง

??????????? การสอนแสดงนี้จะเป็นการสอนแสดงสั้นๆ ผู้ให้การฝึกอบรมจะชี้จุดที่ผู้รับการฝึกอบรมควรให้ความสนใจระหว่างการสอนแสดง และหลังจากสิ้นสุดการสอนแสดง ผู้ให้การฝึกอบรมจะต้องชี้ประเด็นและสรุปสิ่งที่สำคัญในแต่ละการสอนแสดงด้วย

เนื้อหาทักษะการสื่อสาร

??????????? -โดยทั่วไปบุคลากรทางการแพทย์มักจะมองหาปัญหาและหาแนวทางการแก้ไข การสื่อสารที่ดีต้องเคารพในความคิด ความเชื่อ และวัฒนธรรมของสตรี ซึ่งจะไม่ได้เป็นการบอก การสั่ง หรือการแนะนำในสิ่งที่บุคลากรทางการแพทย์เห็นว่าสตรีควรทำและบังคับให้สตรีทำในสิ่งที่เราต้องการ

??????????? -บุคลากรทางการแพทย์ต้องมีความสามารถทางการสื่อสารมากกว่าการให้ข้อมูลเพียงอย่างเดียว ซึ่งจะช่วยให้มารดาได้มองเห็นสาเหตุของการลำบากหรือความยากในเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่สามารถจะช่วยกันแก้ไขร่วมกันได้ แต่ส่วนใหญ่มักจะไม่มีปัญหา มารดาเพียงแต่ต้องการให้การยืนยันและความมั่นใจว่าเธอได้ทำได้ดีแล้ว

??????????? -ท่านสามารถใช้ทักษะการสื่อสารเพื่อ

??????? รับฟังและเรียนรู้เกี่ยวกับความเชื่อ ระดับความรู้ และลักษณะการปฏิบัติของมารดา

??????? สร้างความเชื่อมั่นและชื่นชมสิ่งที่มารดาปฏิบัติได้เหมาะสมในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

??????? ให้ความรู้เรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

??????? แนะนำการปรับเปลี่ยนโดยพื้นฐานความต้องการของมารดาที่ต้องการปรับเปลี่ยน

??????? นัดติดตามการดูแลต่อเนื่อง

-ท่านสามารถใช้ทักษะนี้

??????? สื่อสารกับเพื่อนร่วมงานที่ปฏิเสธการเปลี่ยนแปลงในนโยบายโรงพยาบาลสายสัมพันธ์แม่ลูก

??????? สื่อสารกับสมาชิกในครอบครัวของหญิงตั้งครรภ์ที่จะช่วยเลี้ยงดูทารกที่มีความคิดเชิงลบกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

??????? สื่อสารกับผู้มีอำนาจในตัดสินการใช้นโยบายการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในสถานที่ทำงาน

-ทักษะการสื่อสารที่ฝึกอบรมในหลักสูตรนี้เป็นพื้นฐาน ซึ่งการนำปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอจะทำให้ใช้ได้ดีขึ้นและเป็นธรรมชาติ อาจฝึกปฏิบัติบ่อยๆ กับสมาชิกในครอบครัวหรือในที่ทำงาน

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

?