คลังเก็บหมวดหมู่: นมแม่

นมแม่

การยอมรับสิ่งที่มารดาคิดและรู้สึกในหลักสูตรการอบรมบุคลากรผู้ดูแลนมแม่ 20 ชั่วโมง

milk

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

?

??????????? เราสามารถยอมรับความคิดและความรู้สึกของมารดาได้โดยไม่มีข้อขัดแย้งและบอกมารดาว่าไม่ต้องวิตกกังวล การยอมรับสิ่งที่มารดาพูดไม่ได้หมายความเดียวกับการเห็นด้วยว่าถูกต้อง ท่านสามารถยอมรับสิ่งที่มารดาพูดและสามารถให้ข้อมูลที่ถูกต้องเสริมไปในภายหลัง การยอมรับสิ่งที่มารดาพูดจะช่วยสร้างความน่าเชื่อถือและการไว้วางใจในท่าน ซึ่งจะทำให้มารดาอยากจะพูดคุยกับท่านต่อ

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

?

 

ทักษะที่จะให้การสนับสนุนและสร้างความมั่นใจในหลักสูตรการอบรมบุคลากรผู้ดูแลนมแม่ 20 ชั่วโมง

milk

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

?

??????????? ทักษะการสื่อสารของท่านสามารถช่วยให้มารดามีความภาคภูมิใจในตนเองและมั่นใจว่าจะเป็นคุณแม่ที่ดี ความมั่นใจจะช่วยในการตัดสินใจของมารดาที่จะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และสามารถต้านทานแรงกดดันจากคนรอบข้างได้ เพื่อที่จะช่วยสนับสนุนและสร้างความมั่นใจกับมารดา ทักษะเหล่านี้มีดังนี้

??????????? -การยอมรับสิ่งที่มารดาคิดและรู้สึก

??????????? -การชี้ให้เห็นและชื่นชมในสิ่งที่มารดาทำได้ถูกต้อง

????????? การให้การช่วยเหลือในทางปฏิบัติ

????????? การแจ้งข้อมูลที่เกี่ยวข้องด้วยภาษาที่เหมาะสม

????????? การให้ข้อเสนอแนะมากกว่าสั่ง

?

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

?

 

การสอนแสดง 5.2 ในหลักสูตรการอบรมบุคลากรผู้ดูแลนมแม่ 20 ชั่วโมง

milk

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

?

??????????? แนะนำการสอนแสดง โดยให้ผู้รับการฝึกอบรมสังเกตว่า บุคลากรทางการแพทย์ได้ใช้คำพูดที่แสดงถึงการตัดสินการกระทำและการหลีกเลี่ยงการใช้คำเหล่านี้

บทบาท

บุคลากรทางการแพทย์ ?สวัสดีครับ (ค่ะ) เดือนนี้ ลูกของคุณแม่เจริญเติบโตเป็นอย่างไรบ้าง? เรามาดูกราฟการเจริญเติบโตของลูกกันเถอะ?

มารดา ?พยาบาลบอกว่า ลูกน้ำหนักขึ้นครึ่งกิโลในเดือนนี้ คุณแม่ก็รู้สึกพอใจ?

บุคลากรการแพทย์ ?อืม…ค่อนข้างชัดเจนว่าลูกได้รับน้ำนมตามที่ความต้องการของเขาเองนะ?

ข้อคิดเห็น

??????????? การสอนแสดงนี้ จะเห็นว่าบุคลากรทางการแพทย์จะได้ข้อมูลจากมารดาในสิ่งที่ต้องการจะทราบ โดยไม่ทำให้มารดาวิตกกังวล

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

?

 

การสอนแสดง 5.1 ในหลักสูตรการอบรมบุคลากรผู้ดูแลนมแม่ 20 ชั่วโมง

milk

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

?

??????????? แนะนำการสอนแสดง โดยให้ผู้รับการฝึกอบรมสังเกตว่า บุคลากรทางการแพทย์ได้ใช้คำพูดที่แสดงถึงการตัดสินการกระทำและการหลีกเลี่ยงการใช้คำเหล่านี้

บทบาท

บุคลากรทางการแพทย์ ?สวัสดีครับ (ค่ะ) ลูกของคุณแม่น้ำหนักขึ้นดีพอใช่ไหมจากการชั่งน้ำหนักครั้งล่าสุด??

มารดา ?อืม…คุณแม่ไม่มั่นใจนะ แต่ก็คิดว่าน่าจะดี?

บุคลากรการแพทย์ ?แล้วลูกกินนมได้พอไหม? นมแม่มาดีไหม??

มารดา ?คุณแม่ก็ไม่รู้เหมือนกัน แต่ก็คิดว่าน่าจะเป็นอย่างนั้น?

ข้อคิดเห็น

??????????? การสอนแสดงนี้ จะเห็นว่าบุคลากรทางการแพทย์จะได้ข้อมูลจากมารดาน้อยและยังทำให้มารดาวิตกกังวลเพิ่มขึ้นจากคำถามที่เป็นคำพูดที่แสดงถึงการตัดสินการกระทำ

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

?

 

หลีกเลี่ยงคำพูดที่แสดงถึงการตัดสินการกระทำในหลักสูตรการอบรมบุคลากรผู้ดูแลนมแม่ 20 ชั่วโมง

milk

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

?

??????????? ?คำพูดที่แสดงถึงการตัดสินการกระทำ ได้แก่ ถูก ผิด ดี แย่ เยี่ยม พอใช้ เหมาะสม เพียงพอ และเป็นปัญหา คำพูดเหล่านี้จะทำให้มารดารู้สึกมีมาตรฐานที่ต้องทำให้ได้ หากทำได้น้อยกว่าจะรู้สึกผิดปกติ ตัวอย่างเช่น คำถามว่า ?ลูกของคุณกินนมได้ดีไหม?? ซึ่งจะมีความหมายเป็นนัยว่าต้องมีมาตรฐานสำหรับการให้นมลูกและลูกของเธออาจกินนมยังไม่ถึงเกณฑ์มาตรฐาน ทำให้คุณแม่อาจเก็บความรู้สึกว่าการให้นมของเธอไม่เพียงพอ นอกจากนี้ความเข้าใจในความหมายของ ?การกินนมที่ดี? ของลูกอาจจะแตกต่างกันระหว่างมารดากับบุคลากรทางการแพทย์? ดังนั้น การใช้คำถามปลายเปิดอาจเป็นประโยชน์มากกว่า โดยอาจใช้คำถามว่า ?ลูกของคุณแม่กินนมเป็นอย่างไร?? หรือ ?คุณแม่ช่วยอธิบายการกินนมของลูกว่าเป็นอย่างไร?? ซึ่งเราจะได้ข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อใช้ในการตัดสินใจดูแลมารดาและทารกมากขึ้น

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

?