คลังเก็บหมวดหมู่: นมแม่

นมแม่

การสอนแสดง 7.2.2 (ในกรณีที่ไม่มีความพร้อมในการตรวจทางห้องปฏิบัติการ) ในหลักสูตรการอบรมบุคลากรผู้ดูแลนมแม่ 20 ชั่วโมง

milk

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

?

??????????? แนะนำการสอนแสดง โดยให้ผู้รับการฝึกอบรมสังเกตว่า บุคลากรทางการแพทย์ให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องโดยใช้ภาษาที่เหมาะสม? และให้ข้อเสนอแนะมากกว่าออกคำสั่ง

บทบาท

บุคลากรการแพทย์ ?สวัสดีครับ (ค่ะ) มีอะไรที่จะให้ผม (ดิฉัน) ช่วยบ้างวันนี้?

มารดา ?คุณแม่ไม่แน่ใจว่า ควรจะให้ลูกกินนมแม่หรือไม่ และก็กังวลว่าลูกจะได้รับเชื้อเอชไอวี?

บุคลากรการแพทย์ ?ถ้าคุณแม่มีเชื้อเอชไอวีก็จะมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อไปยังลูก แต่ที่นี่ไม่มีความพร้อมที่จะตรวจการติดเชื้อเอชไอวี เมื่อไม่ทราบผลว่ามีการติดเชื้อเอชไอวีหรือไม่ หรือไม่ได้ตรวจผล การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ก็ยังเป็นข้อแนะนำสำหรับคุณแม่?

มารดา ?โอ…คุณแม่ไม่รู้เรื่องนี้เลยนะคะ????

บุคลากรการแพทย์ ?ครับ (ค่ะ)… คุณแม่ควรจะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวในหกเดือนแรกโดยยังไม่เสริมอาหารอื่น เพื่อที่จะช่วยให้ลูกมีภูมิคุ้มกันที่ดีและยังช่วยป้องกันความเจ็บป่วยได้หลายอย่าง เช่น อาการท้องเสีย?

ข้อคิดเห็น

??????????? บุคลากรทางการแพทย์ให้ข้อมูลที่สำคัญที่สุดในเวลานั้น ถ้าไม่ทราบว่ามีการติดเชื้อเอชไอวีหรือไม่ การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ก็ยังเป็นสิ่งที่แนะนำเป็นอันดับแรก บุคลากรทางการแพทย์ใช้ภาษาง่ายๆ ไม่ใช้คำพูดที่เป็นการตัดสินการกระทำว่าถูกหรือผิด ซึ่งจะช่วยให้การพูดคุยของมารดาและบุคลากรทางการแพทย์มีเพิ่มขึ้นและได้เรียนรู้ข้อมูลต่างๆ มากขึ้น

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

?

 

 

การสอนแสดง 7.2.1 (ในกรณีที่มีความพร้อมในการตรวจทางห้องปฏิบัติการ) ในหลักสูตรการอบรมบุคลากรผู้ดูแลนมแม่ 20 ชั่วโมง

milk

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

?

??????????? แนะนำการสอนแสดง โดยให้ผู้รับการฝึกอบรมสังเกตว่า บุคลากรทางการแพทย์ให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องโดยใช้ภาษาที่เหมาะสม? และให้ข้อเสนอแนะมากกว่าออกคำสั่ง

บทบาท

บุคลากรการแพทย์ ?สวัสดีครับ (ค่ะ) มีอะไรที่จะให้ผม (ดิฉัน) ช่วยบ้างวันนี้?

มารดา ?คุณแม่ไม่แน่ใจว่า ควรจะให้ลูกกินนมแม่หรือไม่ และก็กังวลว่าลูกจะได้รับเชื้อเอชไอวี?

บุคลากรการแพทย์ ?ถ้าคุณแม่มีเชื้อเอชไอวีก็จะมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อไปยังลูก คุณแม่เคยตรวจการติดเชื้อเอชไอวีแล้วหรือยัง??

มารดา ?ยังเลยค่ะ คุณแม่ไม่รู้ว่าจะไปตรวจได้ที่ไหน???????????

บุคลากรการแพทย์ ?จะเป็นการดีที่สุดที่จะทราบว่าคุณแม่มีการติดเชื้อเอชไอวีหรือไม่ก่อนการตัดสินใจให้นมบุตร ผมจะให้ข้อมูลถึงรายละเอียดผู้ที่คุณแม่จะไปรับการปรึกษาเรื่องการตรวจผลการติดเชื้อเอชไอวี คุณแม่ต้องการข้อมูลในส่วนนี้ไหม??

มารดา ?ค่ะ คุณแม่ต้องการทราบรายละเอียดของการตรวจเพิ่มเติมค่ะ?

ข้อคิดเห็น

??????????? บุคลากรทางการแพทย์ให้ข้อมูลที่สำคัญที่สุดในเวลานั้น นั่นคือความจำเป็นที่จะต้องทราบผลการติดเชื้อเอชไอวีก่อนการตัดสินใจเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ บุคลากรทางการแพทย์ใช้ภาษาง่ายๆ ไม่ใช้คำพูดที่เป็นการตัดสินการกระทำว่าถูกหรือผิด และส่งมารดาไปรับการปรึกษาเพิ่มเติมสำหรับการตรวจการติดเชื้อเอชไอวี

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

?

 

การสอนแสดง 7.1 ในหลักสูตรการอบรมบุคลากรผู้ดูแลนมแม่ 20 ชั่วโมง

milk

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

?

??????????? แนะนำการสอนแสดง โดยให้ผู้รับการฝึกอบรมสังเกตว่า บุคลากรทางการแพทย์ให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องโดยใช้ภาษาที่เหมาะสม? และให้ข้อเสนอแนะมากกว่าออกคำสั่ง

บทบาท

บุคลากรการแพทย์ ?สวัสดีครับ (ค่ะ) มีอะไรที่จะให้ผม (ดิฉัน) ช่วยบ้างวันนี้?

มารดา ?คุณแม่ไม่แน่ใจว่า ควรจะให้ลูกกินนมแม่หรือไม่ และก็กังวลว่าลูกจะได้รับเชื้อเอชไอวี?

บุคลากรการแพทย์ ?เป็นที่ทราบกันดีว่า การที่มารดามีเชื้อเอชไอวีจะพบเชื้อไวรัสในน้ำนมได้ร้อยละ 5-15 อย่างไรก็ตามยังมีอัตราการพบเชื้อเอชไอวีน้ำนมแม่ที่แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ ซึ่งอัตรานี้จะสูงขึ้นได้หากมารดาเริ่มติดเชื้อใหม่ๆ และมีปริมาณเชื้อไวรัสสูง หากคุณแม่มีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัยขณะที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ คุณแม่จะมีโอกาสที่จะได้รับเชื้อไวรัสเอชไอวี และมีโอกาสที่เชื้อไวรัสจะผ่านไปที่ลูกสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม หากไม่ได้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ลูกจะมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อในทางเดินอาหารและระบบหายใจที่รุนแรงได้ ขณะนี้แม้จะค่อนข้างช้าในการมาปรึกษา แต่ถ้าผม (ดิฉัน) เป็นคุณ…ผม (ดิฉัน)ก็จะเลือก…?

มารดา ?โอ้????????

ข้อคิดเห็น

-ตั้งคำถามกับผู้รับการฝึกอบรมว่าคิดอย่างไรกับการสื่อสารนี้ บุคลากรทางการแพทย์ให้ข้อมูลในปริมาณที่เหมาะสมหรือไม่

??????????? บุคลากรทางการแพทย์ให้ข้อมูลในปริมาณที่มากเกินไป ไม่เกี่ยวข้องและไม่เหมาะสมกับเวลา ร่วมกับใช้คำพูดที่เป็นศัพท์ทางการแพทย์ที่มารดาไม่คุ้นเคย บางข้อมูลอาจทำให้เกิดผลเชิงลบและทำให้มารดาวิตกกังวล บุคลากรทางการแพทย์จึงควรบอกเฉพาะสิ่งที่จำเป็นในการตัดสินใจ

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

?

 

การให้ข้อเสนอแนะมากกว่าสั่งในหลักสูตรการอบรมบุคลากรผู้ดูแลนมแม่ 20 ชั่วโมง

milk

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

?

????????? ลักษณะของการให้ข้อเสนอแนะมากกว่าสั่ง มีดังนี้

??????????? -ให้ทางเลือกและให้มารดาตัดสินใจว่าอะไรเหมาะสมกับเธอ

??????????? -ไม่บอกว่ามารดาต้องไม่ทำอะไรหรือควรจะต้องทำอะไร

??????????? -ให้ข้อเสนอแนะหนึ่งหรือสองข้อเสนอแนะที่เหมาะสมกับช่วงเวลานั้น

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

?

 

การแจ้งข้อมูลที่เกี่ยวข้องด้วยภาษาที่เหมาะสมในหลักสูตรการอบรมบุคลากรผู้ดูแลนมแม่ 20 ชั่วโมง

milk

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

การแจ้งข้อมูลที่เกี่ยวข้องด้วยภาษาที่เหมาะสม ต้องประกอบด้วยลักษณะดังนี้

??????????? -หาว่าสิ่งที่มารดาจำเป็นต้องรู้ในช่วงเวลานั้น

??????????? -ใช้ภาษาที่เหมาะสมที่ทำให้มารดาเข้าใจ

??????????? -ไม่ให้ข้อมูลมากเกินจำเป็นในช่วงเวลานั้น

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

?