คลังเก็บหมวดหมู่: นมแม่

นมแม่

นมแม่ปกป้องทารกได้อย่างไร?

hx

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

????????? -ระบบภูมิคุ้มกันของทารกแรกเกิดยังไม่ได้มีการพัฒนาอย่างสมบูรณ์เต็มที่ จนเมื่ออายุ 3 ปีขึ้นไป

จึงจะมีการพัฒนาได้สมบูรณ์ นมแม่จะช่วยให้ภูมิคุ้มกันแก่ทารกในหลายๆ ทาง ได้แก่

??????? เมื่อมารดาได้รับการติดเชื้อ ร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกันแอนติบอดีเพื่อต่อต้านการติดเชื้อ ภูมิคุ้มกันเหล่านี้จะผ่านไปสู่ทารกโดยผ่านนมแม่

??????? นมแม่จะกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของทารก

??????? สารประกอบหลายตัวในนมแม่จะช่วยในการเจริญเติบโตของผนังเซลล์ของเซลล์เยื่อบุผิวในลำไส้ ซึ่งจะช่วยพัฒนาระบบการป้องกันโดยการกีดกันจุลินทรีย์หรือสารก่อภูมิแพ้ พร้อมทั้งช่วยซ่อมแซมความเสียหายจากการติดเชื้อ

??????? เม็ดเลือดขาวที่มีอยู่ในนมแม่จะสามารถทำลายแบคทีเรียได้

??????? สารประกอบที่อยู่ในนมแม่จะช่วยป้องกันการเกาะติดของจุลินทรีย์กับผนังเซลล์ในลำไส้ได้ ซึ่งหากเกาะติดกับผนังเซลล์ไม่ได้ก็จะผ่านออกจากลำไส้โดยไม่มีการติดเชื้อ

??????? การเจริญเติบโตของแบคทีเรียที่เป็นประโยชน์ในลำไส้จากการกินนมแม่จะช่วยลดโอกาสของเจริญเติบโตของแบคทีเรียที่เป็นอันตรายลง

??????? สารอาหารในนมแม่ไม่เหมาะสมในการเจริญเติบโตของแบคทีเรียที่เป็นอันตราย เช่น lactoferrin จะแย่งจับธาตุเหล็กที่แบคทีเรียจะใช้ในการแบ่งตัว

-นมผสมไม่มีเซลล์ที่มีชีวิต ไม่มีสารต้านเชื้อโรคและแอนติบอดี ซึ่งไม่สามารถจะช่วยต้านการติดเชื้อได้

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

นมแม่มีความพิเศษอย่างไร?

hx

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? นมแม่มีสารอาหารที่พบแล้วกว่า 200 ชนิดและสารอื่นๆ ที่ยังไม่พบอีกโดยที่นมของสัตว์แต่ละชนิดจะมีความจำเพาะสำหรับทารกของตัวเอง เช่น นมวัวจะช่วยให้มีการเจริญเติบโตของกล้ามเนื้อและกระดูกอย่างรวดเร็ว ส่วนนมของมนุษย์จะมีการเจริญเติบโตช้าแต่มีการพัฒนาของสมองอย่างรวดเร็ว

??????????? นมแม่มีสารอาหารที่ครบถ้วนตามความจำเป็นของทารก นมแม่จะมีการปรับเปลี่ยนไปในแต่ละช่วงระยะในการเจริญเติบโตของทารก และนมแม่ยังเป็นสารน้ำหล่อเลี้ยงที่มีชีวิตโดยมีภูมิคุ้มกันต่อต้านการติดเชื้อโรค

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

 

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่กับสถานการณ์ฉุกเฉิน

hx

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

????????????? -มารดาจะพบกับสถานการณ์ฉุกเฉินทั่วโลกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ภัยธรรมชาติ ได้แก่ แผ่นดินไหว วาตภัย และอุทกภัย ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อคนจำนวนมากและทำให้ขาดแคลนอาหาร สิ่งอุปโภคและบริโภคต่างๆ

??????????? -ในภาวการณ์เกิดโรคระบาด เช่น โรคอหิวาตกโรค โรคคอตีบ โรคมาเลเรีย การจัดหาอาหารที่สะอาด น้ำ หรือเครื่องใช้ในการดำรงชีพเป็นไปด้วยความลำบาก

??????????? -ในเหตุการณ์ฉุกเฉินเหล่านี้ การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเลี้ยงลูกด้วยแม่อย่างเดียว เป็นอาหารสำหรับทารกที่เชื่อถือได้ ปลอดภัย มีสารอาหารครบถ้วน และมีภูมิคุ้มกันป้องกันโรคสำหรับทารก นอกจากนี้ยังปราศจากค่าใช้จ่ายและไม่ต้องใช้น้ำสำหรับการจัดเตรียมนม

??????????? -การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ไม่จำเป็นต้องอาศัยบรรยากาศเงียบสงบอย่างสมบูรณ์แบบ นมแม่สะดวกในช่วงเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน การให้ลูกดูดนมแม่จะช่วยลดภาวะเครียด แม้ว่าในช่วงเกิดเหตุการณ์คับขัน การไหลของนมแม่อาจจะออกน้อยลง แต่การจัดสถานที่ที่ปลอดภัยให้กับมารดา จัดกลุ่มให้กำลังใจซึ่งกันและกัน พร้อมกับการสนับสนุนและสร้างความมั่นใจให้แก่มารดาจะช่วยให้มารดามีน้ำนมไหลดีขึ้น

??????????? -ทารกที่ไม่ได้กินนมแม่จะมีความเสี่ยงสูงในสถานการณ์ฉุกเฉิน มารดาควรจะได้รับการประเมินความเสี่ยงเต็มที่ และควรกลับมาให้นมแม่หากยังสามารถทำได้ นอกจากนี้ควรได้รับการให้การสนับสนุนอื่นๆ ที่จำเป็นด้วย

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

 

การอภิปรายเรื่องความสำคัญของนมแม่หลังจบบทเรียนการอบรม

 

hx

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? คำถาม มีความรู้สึกแตกต่างกันหรือไม่? ระหว่างการใช้คำพูดว่า ทารกที่กินนมแม่ป่วยน้อยกว่า และการพูดว่า ทารกที่ไม่ได้กินนมแม่ป่วยมากกว่า?

??????????? ซึ่งเมื่อดูความนัยของคำพูดในประโยคแรก แสดงว่า ความเจ็บป่วยเป็นปกติในทารก และทารกที่กินนมแม่จะป่วยน้อยกว่าทารกที่ปกติที่ไม่ได้กินนมแม่ สำหรับประโยคที่สอง แสดงนัยว่า การกินนมแม่เป็นภาวะปกติ การไม่กินนมแม่เป็นความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น

??????????? คำถาม ท่านจะตอบคำถามเพื่อนร่วมงานท่านอย่างไร หากเพื่อนร่วมงานของท่านมีความรู้สึกแย่ที่จะต้องบอกแม่ว่ามีอันตรายหากลูกไม่ได้กินนมแม่

??????????? บุคลากรทางการแพทย์ต้องไม่ลังเลที่จะบอกมารดาว่ามีความเสี่ยงหากมารดาสูบบุหรี่ระหว่างการตั้งครรภ์ มารดาคลอดที่บ้านโดยไม่มีบุคลากรที่มีความสามารถในการดูแลการคลอดดูแล และการปล่อยทารกทิ้งอยู่บ้านคนเดียวโดยไม่มีผู้ดูแล? จะเห็นว่ามีหลายสิ่งหลายอย่างที่เป็นอันตรายกับทารกที่มารดาควรหลีกเลี่ยง เช่นเดียวกับความเสี่ยงในการที่ไม่ได้ให้ลูกกินนมแม่ ดังนั้นมารดาควรมีสิทธิที่จะรับรู้และอาจจะรู้สึกไม่พอใจหรือโกรธหากท่านไม่ได้ให้ข้อมูลเหล่านี้

??????????? คำถามเพิ่มเติม (หากมีเวลาเสริม) ท่านรู้ค่าใช้จ่ายของการใช้นมผสมเลี้ยงดูทารก 6 เดือนหรือไม่?

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

 

ความเสี่ยงของการไม่ได้กินนมแม่

hx

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

-ความเสี่ยงจากการไม่ได้กินนมแม่เกิดจาก

??????? การขาดการได้รับภูมิคุ้มกันที่มีในนมแม่ ซึ่งเป็นผลให้มีการเจ็บป่วยบ่อย

??????? การขาดความสมดุลของการได้รับสารอาหารที่จำเป็นที่จะช่วยในการพัฒนาการเจริญเติบโตของสมองและการพัฒนาการของลำไส้

??????????? -นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงของการใช้สารอาหารอื่นแทนนมแม่ ความเสี่ยงนี้ได้แก่

??????????? นมผสมอาจจะปนเปื้อนจากความผิดพลาดในการผลิต

??????????? นมผงอาจจะไม่สะอาด มีเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้ทารกติดเชื้อและเสียชีวิตได้

??????????? น้ำที่ใช้ล้างขวดนมอาจจะไม่สะอาด หรือน้ำที่ใช้ผสมนมอาจปนเปื้อน

??????????? ความผิดพลาดในการผสมหรือชงนม โดยอาจจะผสมข้นหรือจางเกินไป ทำให้ทารกเจ็บป่วยได้

??????????? คนในครอบครัวอาจจะผสมนมเจือจางเพื่อให้ใช้ได้นมขึ้น

??????????? นมผสมอาจจะทำให้ทารกที่ร้องไห้สงบลงได้ แต่จะนำไปสู่ปัญหาเรื่องน้ำหนักเกิน และการใช้อาหารแก้ปัญหาความรู้สึกทุกข์ใจ

??????????? น้ำหรือชาที่ให้แทนนม อาจทำให้ทารกกินนมได้น้อยลงเป็นผลให้น้ำหนักตัวขึ้นน้อย

??????????? การซื้อนมผสมเป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นสำหรับครอบครัว ซึ่งหมายถึงการทำให้ค่าใช้จ่ายในด้านอาหารของสมาชิกในครอบครัวลดลงด้วย

??????????? การตั้งครรภ์ถี่อาจจะเป็นภาระของครอบครัวและสังคม

??????????? ค่าใช้จ่ายของโรงพยาบาลสูงขึ้นในการจ้างบุคลากร การใช้วัสดุการแพทย์และยาเพื่อใช้ในการดูแลการเจ็บป่วยที่เพิ่มขึ้น

??????????? -ความเสี่ยงในการใช้นมผสมแทนนมแม่อาจลดลงได้จากความตั้งใจ ใส่ใจในการดูแลการใช้นมผสมแทนนมแม่และการดูแลเรื่องความสะอาดในการเตรียม อย่างไรก็ตาม ยังมีความแตกต่างของส่วนประกอบของนมผสมกับนมแม่

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

?