คลังเก็บหมวดหมู่: นมแม่

นมแม่

ส่วนของเต้านมที่เกี่ยวข้องกับการสร้างน้ำนม

ลักษณะหัวนมสีคล้ำขึ้น nipple

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

???????????? -ก่อนอื่นต้องชี้แจงส่วนต่างๆ ของเต้านม ดังรูป

breast component? รูปส่วนประกอบของเต้านมจาก WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

เต้านม นอกเหนือจากการมองเห็นลานนมที่เป็นบริเวณสีคล้ำรอบๆ หัวนม บริเวณลานนมจะมีต่อม Montgomery ที่สร้างไขช่วยปกป้องให้ผิวหัวนมและลานนมชุ่มชื้นและสมบูรณ์ นอกจากนี้ต่อม Montgomery ยังสร้างกลิ่นที่จะช่วยให้ทารกค้นหาและเจอนมแม่ได้

-ภายในเต้านม ประกอบด้วย

??????? ไขมันและเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่ช่วยให้เต้านมคงรูปและขนาดอยู่ได้

??????? เส้นประสาทที่ส่งสัญญาณจากเต้านมไปที่สมองเพื่อช่วยกระตุ้นการหลั่งของฮอร์โมนที่สร้างน้ำนม

??????? เซลล์ซึ่งมีลักษณะเป็นถุงเล็กๆ ที่สร้างน้ำนม เรียกว่า Alveoli

??????? ท่อน้ำนมที่จะส่งต่อน้ำนมไปที่หัวนม ทารกจะต้องออกแรงกดบริเวณลานนมเพื่อไล่น้ำนมในท่อน้ำนมออกมาอย่างมีประสิทธิภาพ

??????? รอบๆ แต่ละ Alveolus จะมีกล้ามเนื้อเล็กๆ ที่จะบีบขับน้ำนมไปที่ท่อน้ำนม และมีเครือข่ายของเส้นเลือดที่จะนำสารอาหารมาช่วยในการสร้างน้ำนมของเซลล์

การให้ความมั่นใจกับมารดาในเรื่องเต้านมมีความสำคัญ เต้านมของมารดามีความหลากหลายในเรื่องขนาด ปริมาณของน้ำนมของมารดาไม่ได้ขึ้นกับขนาดของเต้านม ควรบอกมารดาทุกคนว่า เต้านมของมารดาดีที่สุดสำหรับการให้นมแม่ หลีกเลี่ยงการใช้คำพูดว่า ?เต้านมเป็นปัญหา? ที่จะทำให้มารดาตื่นตระหนกได้ ?

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

?

 

 

แบบบันทึกการตรวจรายการการปฏิบัติระหว่างการคลอด

692450-topic-ix-5

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

การจัดทำแบบบันทึกการตรวจรายการสำหรับการบันทึกการปฏิบัติหลังคลอดที่เป็นประโยชน์ต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ หากมีการจัดทำบันทึกนี้และใช้เป็นเอกสารกำกับการดูแลในระหว่างการคลอดและหลังคลอด จะช่วยเตือนบุคลากรในการปฏิบัติสิ่งที่จำเป็นเพื่อช่วยในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ครบถ้วน ตัวอย่างแบบบันทึกการตรวจรายการการปฏิบัติระหว่างการคลอดมีดังนี้

ตัวอย่างของแบบบันทึกการตรวจรายการการปฏิบัติระหว่างการคลอด

ชื่อมารดา…………………………………………………………..

วันที่และเวลาที่คลอด…………………………………………..

วิธีการคลอด

? คลอดทางช่องคลอด แบ่งเป็น? ? ปกติ???????????? ? เครื่องดูดสุญญากาศ????????????? ? คีม

? ผ่าตัดคลอด โดยใช้ ??????????????? ? การฉีดยาเข้าไขสันหลัง??????????? ? การใส่ท่อช่วยหายใจ

การให้ทารกได้สัมผัสกับผิวของมารดา (skin-to-skin contact)

เวลาที่เริ่ม…………….เวลาที่สิ้นสุด………………… รวมระยะเวลาที่ให้……………

เหตุผลที่ยุติการให้ทารกได้สัมผัสกับผิวของมารดา……………………………

เวลาที่เริ่มให้นมลูกครั้งแรก……………ระยะเวลาห่างจากการคลอด…………….

เวลาที่ให้การช่วยเหลือในการให้นมลูกในครั้งที่สอง………………………………..

?

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

 

 

การสัมผัสหัวนมและลานนมหลังคลอด

692450-topic-ix-5

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

???????????? การสัมผัสหัวนมและลานนมมารดาของทารกในระยะแรกหลังคลอดจะกระตุ้นฮอร์โมนออกซิโตซิน ซึ่งจะช่วย

??????? การหดรัดตัวของมดลูกจะเกิดเร็วขึ้นซึ่งอาจจะลดการเสียเลือดได้ ซึ่งการใช้ยาออกซิโตซินสังเคราะห์หรือยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูกอื่นอาจไม่จำเป็น หากสามารถให้ลูกดูดนมได้หลังคลอด

??????? มารดาให้รู้สึกรักและผูกพันกับลูก ซึ่งความสัมพันธ์นี้จะช่วยในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และการดูแลทารกต่อหลังคลอด

???????????????? ดังนั้น การให้ทารกได้สัมผัสหัวนมและลานนมของมารดาระยะแรกหลังคลอดจึงมีประโยชน์ในการป้องกันการตกเลือดและการทอดทิ้งทารกได้

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

 

 

 

การเริ่มการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

 

 

 

692450-topic-ix-5

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

???????????? การเริ่มต้นช่วยการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ มีหลักดังงนี้

???????????? -กระตุ้นให้มารดาให้นมบุตรเมื่อทารกมีความพร้อม (ส่วนใหญ่ภายใน 1 ชั่วโมง) ไม่จำเป็นต้องเร่งร้อนหรือบังคับให้ทารกไปยังเต้านม ควรจะให้มารดาและทารกได้สัมผัสผิวกันในบรรยากาศที่สงบจนกระทั่งมารดาและทารกมีความพร้อมซึ่งอาจจะใช้เวลาตั้งแต่ไม่กี่นาทีถึงเป็นชั่วโมง

??????????? -การสัมผัสหัวนมและลานนมในระยะแรกจะกระตุ้นฮอร์โมนออกซิโตซิน ซึ่งจะช่วยในการหลั่งน้ำนม

??????????? -หัวน้ำนมหรือน้ำนมเหลืองสำคัญมากสำหรับทารก โดยจะมีภูมิคุ้มกันช่วยป้องกันทารกและช่วยในการกำจัดขี้เทาออกจากลำไส้ทารกซึ่งจะช่วยลดอาการตัวเหลืองในทารกแรกเกิด หัวน้ำนมจะช่วยเคลือบ ปกป้องผนังลำไส้ และช่วยในการพัฒนาการของทางเดินอาหาร ดังนั้นหัวน้ำนมจึงควรเป็นสิ่งเดียวที่ให้กับทารกหลังคลอด

??????????? -การให้อาหารอื่นก่อนการให้นม ได้แก่ น้ำ นมผสม น้ำผึ้ง กล้วยหรือน้ำสมุนไพร แม้ว่าจะป้อนด้วยช้อนจะเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อและการมีอาการแพ้ได้ หากในพื้นที่ที่โรงพยาบาลรับผิดชอบดูแลมีค่านิยมในการให้อาหารอื่นก่อนการให้นม การอธิบายให้เห็นความสำคัญของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวและวิธีที่จะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวให้สำเร็จ

??????????? -ทารกไม่จำเป็นที่จะต้องได้รับน้ำหรืออาหารอื่นเพื่อทดสอบความสามารถในการดูดและการกลืนของทารก นอกจากนี้ ในทารกที่มีความผิดปกติในการกลืนซึ่งพบน้อย การสำลักหัวน้ำนมจะมีอันตรายน้อยกว่าน้ำหรืออาหารอื่น

??????????? -มารดาที่สามารถจะให้ลูกกินนมได้ตั้งแต่อยู่ในห้องคลอดมีแนวโน้มที่จะให้นมแม่ได้นานกว่ามารดาที่เริ่มให้นมลูกช้า

??????????? -หากทารกไม่ได้กินนมแม่ขณะอยู่ในห้องคลอด เจ้าหน้าที่ที่ดูแลต้องสื่อสารส่งต่อไปที่หอผู้ป่วย เพื่อจัดให้ทารกได้สัมผัสกับผิวของมารดาและเริ่มให้นมแม่เมื่อทารกมีความพร้อม

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

การช่วยให้มารดาได้เริ่มการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หลังคลอด (สรุป)

692450-topic-ix-5

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????? -ในบันไดขั้นที่ 4 ในบันไดสิบขั้นสู่ความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เขียนไว้ว่า

????????? ?ช่วยให้มารดาได้เริ่มการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ภายในครึ่งชั่วโมงแรกหลังคลอด?

??????????? ขั้นตอนนี้ตีความหมายจากเนื้อความว่า

??????????? ?ให้วางทารกให้ผิวสัมผัสแนบชิดกับมารดาทันทีหลังคลอดนาน 1 ชั่วโมง และกระตุ้นให้มารดาสังเกตความพร้อมในการกินนมแม่ของลูก โดยบุคลากรทางการแพทย์อาจเสนอความช่วยเหลือหากจำเป็น?

??????????? -สิ่งที่ควรปฏิบัติควรจะมีผลทำให้มารดารู้สึกว่ามีศักยภาพ ควบคุมและได้รับการสนับสนุน โดยเมื่อทารกตื่นตัวและมีความพร้อม สามารถเริ่มขั้นการเริ่มการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้เลย ใช้แนวทางการดูแลที่ให้สามีและครอบครัวมีส่วนร่วมทั้งในระยะคลอดและหลังคลอด

??????????? -การปฏิบัติที่สนับสนุนระหว่างการคลอด ได้แก่ การให้มีเพื่อนอยู่ระหว่างการคลอด การลดการใช้หัตถการ การใส่ใจผลของการให้ยาลดอาการปวด การให้อาหารว่างและน้ำ หลีกเลี่ยงการผ่าตัดคลอด และการให้ทารกได้สัมผัสกับผิวของมารดาในระยะแรกหลังคลอด

??????????? -การให้ทารกได้สัมผัสกับผิวมารดาในระยะแรกหลังคลอด สามารถปฏิบัติให้เป็นลักษณะงานประจำได้ในมารดาที่ผ่าตัดคลอด

??????????? -จัดให้ทารกทุกคนได้สัมผัสกับผิวของมารดาทันทีหลังคลอดในมารดาที่คลอดบุตรปกติโดยไม่เร่งรีบ และให้เวลาให้ทารกอยู่กับมารดาอย่างน้อยหนึ่งชั่วโมงโดยไม่มีการรบกวนหรือเข้าไปแทรกแซง ไม่ห่อทารก การคลุมผ้าห่มสามารถทำได้โดยคลุมผ้าห่มให้กับทารกพร้อมกับมารดาไปพร้อมกัน

??????????? -กระตุ้นให้มารดาตอบสนองต่อสัญญาณความพร้อมของทารกที่จะเคลื่อนไปที่เต้านม

??????????? -การปฏิบัติที่สนับสนุนระหว่างการคลอดไม่จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนในมารดาที่ติดเชื้อเอชไอวี

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009