คลังเก็บหมวดหมู่: นมแม่

นมแม่

การยับยั้งการหลั่งออกซิโตซิน

10031738_meguri_(34)

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

การหลั่งออกซิโตซินจะถูกยับยั้งชั่วคราวได้โดย

??????? ความเจ็บปวดที่รุนแรงจากหัวนมแตก การเย็บแผลผ่าตัดคลอดและการเย็บฝีเย็บ

??????? ความเครียดจากสาเหตุต่างๆ รวมทั้งความวิตกกังวล ความสงสัย หรือความอับอาย

??????? แอลกอฮอล์และนิโคติน

-ต้องระลึกไว้เสมอการพูดสื่อสารกับมารดาอย่างเหมาะสมจะช่วยให้น้ำนมมารดามาได้ดีขึ้น แต่หากพูดสื่อสารไม่เหมาะสม ทำให้มารดาวิตกกังวลจะมีผลต่อการหลั่งของออกซิโตซิน

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

?

 

การช่วยกลไกออกซิโตซิน

8d8d9a5e6d9b729de0af1423c78ccca8

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

????????? มารดาสามารถจะช่วยให้ฮอร์โมนออกซิโตซินทำงานโดย

??????? รู้สึกชอบหรือรักลูกและมั่นใจว่านมของตนเองดีที่สุดสำหรับทารก

??????? การรู้สึกผ่อนคลายและสบายในการให้นม?? ???????????

??????? การบีบน้ำนมออกเล็กน้อยและการกระตุ้นหัวนมอย่างนุ่มนวล

??????? การจัดให้ลูกอยู่ใกล้ๆ ในบริเวณที่มารดาจะมองเห็น สัมผัส ได้กลิ่น และตอบสนองต่อลูกได้

??????? การขอให้มีคนช่วยนวดหลังส่วนบนในบริเวณด้านข้างของแนวกระดูกสันหลังถ้าจำเป็น

?massage

รูปการนวดบริเวณหลังที่ช่วยในการหลั่งออกซิโตซินจาก WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

 

 

 

ออกซิโตซิน

 

825ea4606ddc45b9b89f25d00d303761

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

?????????? ออกซิโตซิน? เป็นฮอร์โมนที่สำคัญในการหลั่งนมแม่ โดยจะทำให้กล้ามเนื้อรอบๆ alveoli หดตัวทำให้น้ำนมจะถูกขับและหลั่งออกมาในท่อน้ำนม ซึ่งจำเป็นสำหรับการจะช่วยให้ทารกได้รับน้ำนม กระบวนการนี้ เรียกว่า กลไกออกซิโตซิน(oxytocin reflex), กลไกน้ำนมพุ่ง (milk ejection reflex) หรือกลไก letdown กลไกนี้อาจจะเกิดขึ้นหลายๆ ครั้งในระหว่างการให้นม และกลไกเหล่านี้จะเด่นหรือเห็นชัดน้อยลงเมื่อเวลาผ่านไป

??????????? หลังคลอดทารกไม่นาน มารดาจะมีอาการแสดงต่างๆ ที่แสดงถึงกลไกออกซิโตซิน ได้แก่

??????? มีการปวดมดลูกจากการหดรัดตัว หรือมีเลือดออกจากช่องคลอดจากการหดรัดตัวของมดลูก

??????? กระหายน้ำเฉียบพลัน

??????? น้ำนมพุ่งหรือไหลจากเต้านมโดยไม่ได้รับดูดกระตุ้น

??????? รู้สึกบีบที่เต้านม

??????????? อย่างไรก็ตาม มารดาส่วนใหญ่มักไม่รู้สึกถึงอาการแสดงเหล่านี้

??????????? นอกจากนี้ เมื่อนมแม่ไหลพุ่งจากกลไกออกซิโตซิน จะสังเกตได้ว่า จังหวะการดูดนมของทารกจะเปลี่ยนไป โดยจะเปลี่ยนจากดูดลึกเร็วมาดูดลึกช้า (ดูดหนึ่งครั้งต่อนาที) และกลืน

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

 

โปรแลคติน

10024584_101

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

?????????? โปรแลคตินเป็นฮอร์โมนที่จะทำให้ alveoli สร้างน้ำนม โดยจะถูกกระตุ้นเมื่อทารกมีการดูดนมซึ่งจะทำให้เต้านมมีการสร้างน้ำนมพร้อมในการกินนมมื้อต่อไป โปรแลคตินจะทำให้มารดารู้สึกผ่อนคลายและง่วงนอน

โปรแลคตินจะมีระดับสูงในช่วง 2 ชั่วโมงแรกหลังคลอด และจะมีระดับสูงในช่วงเวลากลางคืน ดังนั้น การให้ทารกกระตุ้นดูดนมในเวลากลางคืน จะกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนโปรแลคตินได้มากขึ้น

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

 

 

 

การผลิตน้ำนมของเต้านม

ลักษณะหัวนมสีคล้ำขึ้น nipple

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

ขั้นแรกของการผลิตน้ำนมจะขึ้นอยู่กับฮอร์โมนและสารเคมีที่สื่อสารในกระแสเลือด โดย

??????????? –ระหว่างการตั้งครรภ์ ฮอร์โมนจะช่วยให้เต้านมมีพัฒนาการและขยายขนาด และช่วยในการสร้างหัวน้ำนมหรือน้ำนมเหลืองด้วย

??????????? –หลังคลอด จะมีการลดลงของฮอร์โมนของการตั้งครรภ์ ฮอร์โมน 2 ตัวที่สำคัญในการสร้างและการหลั่งน้ำนม ได้แก่ โปรเจสเตอโรนและโปรแลคติน ซึ่งจากอิทธิพลของโปรแลคติน จะทำให้เต้านมผลิตน้ำนมเพิ่มขึ้นจำนวนมากซึ่งโดยปกติจะอยู่ในช่วง 30-40 ชั่วโมงหลังคลอด และทำให้หัวน้ำนมหรือน้ำนมเหลืองพร้อมสำหรับทารก

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009