คลังเก็บหมวดหมู่: นมแม่

นมแม่

วิธีที่จะบีบน้ำนมด้วยมือ

milk expression

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? -ขั้นตอนที่สำคัญในการบีบน้ำนมด้วยมือ ได้แก่

??????? กระตุ้นให้น้ำนมไหล

??????? คลำหาท่อน้ำนม

??????? กดเต้านมบริเวณท่อน้ำนม

??????? ทำซ้ำในทุกส่วนรอบเต้านม

????????????? -การบีบน้ำนมด้วยมือในกรณีที่เต้านมอ่อนนุ่ม ไม่ตึงจะง่ายกว่ากรณีที่เต้านมตึงคัดและเจ็บ

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

 

 

ทำไมต้องเรียนรู้การบีบน้ำนมด้วยมือ?

DSC00035

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

???????????? ประโยชน์ในการบีบน้ำนมด้วยมือ

??????? เพื่อให้รู้สึกสบายเต้านม เช่นในกรณีที่จะลดอาการตึงคัดเต้านมหรือท่อน้ำนมอุดตัน หรือทาหัวนมด้วยน้ำนมส่วนหลัง 2-3 หยดเพื่อลดอาการเจ็บหัวนม

??????? เพื่อกระตุ้นให้ทารกกินนมแม่ การบีบน้ำนม

?? ทาบริเวณหัวนมเพื่อให้ทารกได้กลิ่นและชิมนมแม่

?? จะช่วยให้น้ำนมไหลาปากทารกได้เลย ในกรณีที่ทารกดูดนมได้ไม่แรงพอ

?? ทำให้ลานนมของเต้านมที่ตึงคัดนิ่ม ซึ่งจะช่วยให้ทารกอ้าปากอมหัวและลานนมได้ดีขึ้น

??????? เพื่อรักษาให้มีการผลิตน้ำนมในช่วงที่มารดาและทารกจำเป็นแยกจากัน หรือเพื่อเพิ่มปริมาณน้ำนม

??????? เพื่อคงให้มีน้ำนมในทารกที่ไม่สามารถให้นมแม่ได้ ทารกน้ำหนักตัวน้อย และทารกที่เหนื่อย

??????? เพื่อพลาสเจอไรส์น้ำนมในทารกที่มารดาติดเชื้อเอชไอวี

??????????? -มารดาส่วนใหญ่จะชอบที่จะบีบน้ำนมด้วยมือมากกว่าการใช้เครื่องปั๊ม เพราะว่า

??????? มือจะอยู่กับตัวเสมอและไม่มีชิ้นส่วนใดจะเสียหรือแตกหัก

??????? การบีบน้ำนมด้วยมือจะรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากกว่าหากมารดามีความชำนาญ

??????? มารดาบางคนจะชอบที่จะให้ผิวสัมผัสระหว่างเนื้อมากกว่าสัมผัสกับพลาสติกหรือเสียงที่เกิดจากการดูดของพลาสติก

??????? การบีบน้ำนมด้วยมือโดยปกติจะนุ่มนวลกว่าการใช้เครื่องปั๊ม โดยเฉพาะในกรณีที่หัวนมเจ็บ

??????? ไม่มีความเสี่ยงจากการติดเชื้อข้ามระหว่างมารดาอื่นที่ใช้เครื่องปั๊มนมร่วมกัน

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

 

 

ทารกที่ต้องการการผ่าตัดกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

1523E86E-E72C-461B-9A29-0795B537AFBB_mw1024_n_s

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? -ทารกที่กินนมแม่จะย่อยง่าย ช่วงเวลาที่งดอาหารจะสั้นกว่าทารกที่กินนมผสมหรืออาหารอื่น โดยทั่วไปทารกจะไม่จำเป็นต้องงดนมก่อนการผ่าตัดนานกว่าสามชั่วโมง อภิปรายถึงวิธีที่ทำให้ทารกรู้สึกสบายระหว่างช่วงที่งดนม นมแม่เป็นสิ่งที่แนะนำให้ให้กับทารกเมื่อฟื้นตัวดีหลังการผ่าตัด

??????????? -การให้นมแม่จะช่วยลดความเจ็บปวดจากการผ่าตัดและทำให้ทารกสบายโดยทารกจะได้ทั้งสารน้ำและพลังงาน หากทารกยังไม่สามารถกินนมแม่ได้มากทันทีหลังคลอด? อาจบีบน้ำนมและให้ทารกดูดเต้านมเปล่าไปก่อน จนกระทั่งทารกอาการคงที่

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

 

 

ทารกที่ปากแหว่งเพดานโหว่กับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

images (5)

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? -การให้นมแม่สามารถเป็นไปได้แม้ในทารกที่มีปากแหว่งเพดานโหว่รุนแรง เพราะว่าทารกที่ปากแหว่งเพดานโหว่จะมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อในหูชั้นกลางและการติดเชื้อในระบบการหายใจส่วนบน การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ยิ่งมีความสำคัญ

??????????? -การอุ้มทารกให้จมูก ลำคออยู่สูงกว่าเต้านมจะช่วยป้องกันน้ำนมไหลเข้าไปในโพรงจมูก ซึ่งจะทำให้ทารกหายใจลำบาก เนื้อของเต้านมหรือนิ้วของมารดาจะช่วยปิดช่องบริเวณปากแหว่งโดยจะทำให้ทารกสามารถดูดได้ดีขึ้น

??????????? -การให้นมจะใช้เวลานานขึ้น มารดาควรอดทน เพราะว่าทารกอาจจะเหนื่อยและต้องพักระหว่างการกินนม ซึ่งมารดาอาจจะต้องบีบน้ำนมและให้เสริมกับทารก โดยอาจจะป้อนด้วยถ้วยหรือใช้สายยาง ในทารกได้รับการผ่าตัดรักษา เมื่อทารกฟื้นตัวดี การให้นมแม่สามารถทำได้ทันที

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

 

 

ทารกที่มีปัญหาทางด้านหัวใจกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

เมื่อลูกน้อยอาเจียน

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

?????????????? ทารกที่มีปัญหาทางด้านหัวใจจะเหนื่อยง่าย การป้อนนมช่วงสั้นๆ และบ่อยๆ จะเป็นประโยชน์ ทารกจะหายใจได้ดีขึ้นหากกินนมแม่ ทารกที่กินนมแม่จะมีความเครียดน้อยกว่า ใช้พลังงานน้อยกว่า ทำให้น้ำหนักขึ้นได้ดีกว่า นมแม่จะช่วยป้องกันความเจ็บป่วย ลดการนอนโรงพยาบาล และช่วยในการเจริญเติบโตและพัฒนาการ

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009