คลังเก็บหมวดหมู่: นมแม่

นมแม่

การเยี่ยมบ้านมารดาหลังการคลอด

IMG_20140528_110316

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? การเยี่ยมบ้านมารดาหลังคลอด จะเป็นการติดตามสอบถามเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของมารดาและทารกเมื่อกลับบ้าน ระหว่างการเยี่ยมบ้าน ควรมีการย้ำเรื่องระบบการติดต่อกับโรงพยาบาลที่มารดาสามารถขอความช่วยเหลือในกรณีที่มารดามีปัญหาในการดูแลทารกหรือมีปัญหาเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และให้ความมั่นใจว่ามารดาสามารถจะดูแลตนเองและทารกได้ โดยอาจต้องมีการสอนหรือดูการบีบเก็บน้ำนมของมารดา การเก็บน้ำนมหรือการใช้อุปกรณ์อื่นๆ ที่จำเป็น

โรงเรียนพ่อแม่

DSC01075

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? โรงเรียนพ่อแม่ เป็นกระบวนการการจัดการเรียนการสอนพ่อแม่โดยจะมีหัวข้อที่สอนความรู้และการปฏิบัติตัวของมารดาตั้งแต่ในระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด ระยะหลังคลอด และระยะที่เลี้ยงดูบุตร เพื่อให้พ่อแม่ได้ปฏิบัติตัวได้อย่างเหมาะสมและทำให้การเลี้ยงดูลูกทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการจัดโรงเรียนพ่อแม่ อาจจัดทำในสถานพยาบาลของรัฐหรืออาจจัดตั้งในชุมชนในสถานที่ที่มีความพร้อมโดยมีความร่วมมือของภาครัฐและชุมชน เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน

การเตรียมตัวสำหรับการเป็นพ่อแม่มือใหม่

w42

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? มารดาและครอบครัวควรเตรียมตัวสำหรับการเป็นพ่อแม่มือใหม่โดยการศึกษาความรู้เกี่ยวกับการดูแลบุตรพร้อมทั้งศึกษาในเรื่องการปฏิบัติตัวหลังคลอดและการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยความรู้เหล่านี้สามารถหาได้จากหนังสือ วารสาร วิดีโอ รายการทีวี และอินเตอร์เน็ต นอกจากนี้ในระหว่างฝากครรภ์และคลอด มารดาจะได้รับการให้ความรู้ในการเรื่องการดูแลตนเองและทารกแรกเกิดจากบุคลากรทางการแพทย์เพิ่มขึ้นด้วย ซึ่งการเตรียมความพร้อมจะทำให้มารดาสามารถปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้ดี

การรักษาภาวะลิ้นติดในทารกแรกเกิด

tongue-tie-frenotomy-guru

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? ในทารกที่มีภาวะลิ้นติด การคัดเลือกทารกที่จำเป็นต้องรักษามักใช้เกณฑ์การวินิจฉัยภาวะลิ้นติดร่วมกับการมีปัญหาในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่โดยวัดคะแนนการเจ็บหัวนม คะแนนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หรือคะแนนการเข้าเต้า ซึ่งทารกที่มีปัญหาในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ มักอยู่ในกลุ่มที่มีภาวะลิ้นติดปานกลางหรือรุนแรง

??????????????? การรักษาภาวะลิ้นติดในทารก มักเลือกวิธีการรักษาโดยการทำ frenotomy ที่สามารถทำได้ที่ห้องตรวจผู้ป่วยนอกหรือหอผู้ป่วยหลังคลอด โดยการตัดเนื้อเยื่อที่ยึดใต้ลิ้นด้วยกรรไกรหรือเครื่องจี้ไฟฟ้า ไม่จำเป็นต้องใช้การดมยาสลบ การผ่าตัดใช้ระยะเวลาสั้น หลังผ่าตัดทารกสามารถดูดนมได้ทันที คะแนนการเข้าเต้าสูงขึ้น และไม่พบภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง

ภาวะลิ้นติดในทารกแรกเกิด

tongue-tie swu-guru

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? ?ภาวะลิ้นติด คือ ภาวะที่มีเนื้อเยื่อที่ยึดระหว่างใต้ลิ้นกับพื้นล่างของช่องปากผิดปกติ มีลักษณะหนา ตึงหรือสั้น ทำให้เกิดการจำกัดของการเคลื่อนของลิ้นไปทางด้านหน้าหรือด้านข้าง?อุบัติการณ์ของภาวะลิ้นติดในทารกแรกเกิดพบได้ตั้งแต่ร้อยละ 1.7-13.4 ขึ้นอยู่กับเกณฑ์การวินิจฉัย

??????????????? ผลกระทบของภาวะลิ้นติดต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ได้แก่ การเจ็บหัวนม การเข้าเต้าไม่ดี การหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เร็ว และทารกน้ำหนักขึ้นไม่ดี