คลังเก็บหมวดหมู่: นมแม่

นมแม่

โรคอ้วนในเด็ก ปัจจัยเสี่ยงที่ควรทราบ

3332785238_29c9cf3483_o

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ปัจจุบัน โรคอ้วนในเด็กพบเพิ่มขึ้นทั่วโลก ในประเทศบราซิล พบเด็กอายุ 6 ขวบที่มีน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วนร้อยละ 12-15 ในประเทศไทยในปี พ.ศ. 2551 ถึง 2556 โรคอ้วนในเด็กอนุบาลหรือวัยก่อนเรียน พบเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 5.8 เป็น 7.9 ซึ่งเป็นอัตราการเพิ่มขึ้นที่สูง ปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อโรคอ้วนในเด็ก1 ได้แก่ ปัจจัยของมารดา การคลอด การให้นมบุตร และปัจจัยในเรื่องสภาพแวดล้อม

? ? ? ? ? ปัจจัยของมารดา คือ มารดามีโรคอ้วน

? ? ? ? ? ปัจจัยด้านการคลอด คือ ทารกคลอดโดยการผ่าตัดคลอด

? ? ? ? ? ปัจจัยด้านการให้นมบุตร คือ ทารกไม่ได้กินนมแม่

? ? ? ? ? สำหรับปัจจัยเรื่องสภาพแวดล้อม จะรวมถึงสภาพแวดล้อมของครอบครัว สังคม และวัฒนธรรม โดยทั่วไป ชนชาติเอเชียจะพบโรคอ้วนน้อยกว่าชนชาติตะวันตก แต่เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมจากกระแสโลกาภิวัตน์ โรคอ้วนก็พบเพิ่มขึ้นด้วย

? ? ? ? ? จะเห็นว่า การป้องกันปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ เริ่มตั้งแต่ การดูแลสุขภาพของมารดาก่อนการตั้งครรภ์ให้น้ำหนักตัวอยู่ในเกณฑ์ปกติ โอกาสที่จะคลอดบุตรปกติทางช่องคลอดก็จะมีสูง หลังคลอดให้ทารกกินนมแม่ และดูแลสภาพแวดล้อมในบ้านให้เป็นครอบครัวที่ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง คือ รู้จักกินแต่พอดี เลือกอาหารที่มีประโยชน์อย่างสมเหตุสมผล และใช้การออกกำลังกายเป็นภูมิคุ้มกัน ก็จะช่วยป้องกันโรคอ้วนที่จะเกิดกับลูก ที่ต่อไปจะเจริญเติบโตเป็นอนาคตของชาติได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Portela DS, Vieira TO, Matos SM, de Oliveira NF, Vieira GO. Maternal obesity, environmental factors, cesarean delivery and breastfeeding as determinants of overweight and obesity in children: results from a cohort. BMC Pregnancy Childbirth 2015;15:94.

 

 

การกำหนดความรู้ที่จำเป็นเรื่องนมแม่สำหรับหลักสูตรแพทย์ประจำบ้าน

S__38208249

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ในประเทศแคนาดา ได้มีการสำรวจแพทย์และแพทย์ประจำบ้านถึงความรู้ในเรื่องการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่? พบว่า แพทย์และแพทย์ประจำบ้านยังขาดความรู้ที่เพียงพอในการช่วยเหลือหรือสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ จึงได้เกิดแนวคิดที่จะพัฒนาความรู้เรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในหลักสูตรแพทย์ประจำบ้านในระบบการศึกษาของประเทศ1 โดยกำหนดวัตถุประสงค์หลังจากจบการอบรมศึกษาแพทย์ประจำบ้านแล้ว แพทย์ประจำบ้านจะต้องสามารถ

? ? ? ? ? -สื่อสารถึงประโยชน์ของนมแม่แก่มารดาและทารกได้

? ? ? ? ? -ประเมิน และสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ตามหลักเกณฑ์บันไดสิบขั้นขององค์การอนามัยโลกได้

? ? ? ? ? -ตระหนักรู้ถึงปัญหาที่พบบ่อยของมารดาและทารกในระหว่างการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ และข้อห้ามในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

? ? ? ? ? ?-สนับสนุน ส่งเสริม และรณรงค์การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ผ่านการแนะนำเรื่องราวหรือประเด็นปัญหาสุขภาพของมารดาและทารกที่พบบ่อย

? ? ? ? ? ? -สามารถใช้แหล่งข้อมูลหรือบุคลากรที่มีอยู่ในระบบหรือเครือข่ายเพื่อช่วยในการสนับสนุนมารดาในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

? ? ? ? ? ? ?ซึ่งจากเป้าประสงค์ เมื่อมีการดำเนินการจัดการเรียนการสอนลงในหลักสูตรแล้ว จำเป็นต้องมีการประเมินผลการเรียนการสอน โดยใช้หลากหลายรูปแบบของการประเมิน เช่น การสอบอัตนัย การสอบ OSCE หรือการสอบปฏิบัติในการให้คำปรึกษา และดูแลมารดาและทารก โดยผลลัพธ์สุดท้ายที่คาดหวัง คือ การเพิ่มอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อยหกเดือนสูงขึ้น และรวมถึงการให้ทารกได้รับสารอาหารตามวัยในช่วงแรกของชีวิตอย่างเหมาะสม

เอกสารอ้างอิง

  1. Pound CM, Moreau KA, Hart F, Ward N, Plint AC. The planning of a national breastfeeding educational intervention for medical residents. Med Educ Online 2015;20:26380.

 

ปัจจัยเสี่ยงของมารดาที่จะหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ก่อนหกเดือน

S__38208270

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? บุคลากรทางการแพทย์อาจต้องการทราบว่า มารดาคนไหนที่จะมีความเสี่ยงในการที่จะหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ก่อนหกเดือนตั้งแต่มารดาอยู่ที่โรงพยาบาลก่อนการอนุญาตให้กลับบ้าน เพื่อที่จะมีนัดติดตามอย่างใกล้ชิด ซึ่งจะช่วยให้ระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นานขึ้น มีการศึกษาในออสเตรเลียถึงปัจจัยเสี่ยงของมารดาที่จะหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จากปัจจัยต่างๆ ที่รวบรวมระหว่างการตั้งครรภ์และการคลอด พบว่า มารดาที่มีการศึกษาน้อยในระดับมัธยมศึกษา (เทียบกับการศึกษาของประเทศไทย) มารดาที่สูบบุหรี่ก่อนหรือระหว่างตั้งครรภ์ และมารดาที่คลอดทารกก่อนกำหนดหรือมีทารกน้ำหนักตัวน้อย1 เป็นปัจจัยเสี่ยงที่จะช่วยเตือนบุคลากรทางการแพทย์ให้มีการเอาใจใส่และนัดติดตามมารดาเหล่านี้อย่างใกล้ชิด

? ? ? ? ? ?สำหรับในประเทศไทย สาเหตุสำคัญที่หยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ก่อนหกเดือน คือ การกลับไปทำงานของมารดา ดังนั้น ปัจจัยเสี่ยงที่อาจจะเป็นตัวบอกกับบุคลากรทางการแพทย์ น่าจะเป็น อาชีพมารดา อย่างไรก็ตาม อาจมีหลายๆ ปัจจัยที่จะช่วยบอกได้ การศึกษาวิจัยเพิ่มเติมน่าจะช่วยตอบคำถามนี้และอาจจะเป็นที่จะช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้ในประเทศไทยได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Quinlivan J, Kua S, Gibson R, McPhee A, Makrides MM. Can we identify women who initiate and then prematurely cease breastfeeding? An Australian multicentre cohort study. Int Breastfeed J 2015;10:16.

 

 

 

การให้ลูกกินนมแม่ป้องกันมะเร็งมดลูก

S__38208300

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งรังไข่และมะเร็งเต้านม นอกจากนี้ยังมีการศึกษาพบว่า การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ช่วยป้องกันมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกด้วย โดยสามารถป้องกันการเกิดมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกได้ร้อยละ 23 ?(relative risk: 0.77, 95% CI: 0.62-0.96) และลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกร้อยละ 2 ทุกๆ เดือนที่มีระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่เพิ่มขึ้น1 จะเห็นว่า มะเร็งในสตรีลำดับที่หนึ่ง คือ มะเร็งเต้านม ลำดับที่สองคือ มะเร็งปากมดลูก ลำดับที่สามและถัดมา คือ มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก และมะเร็งรังไข่ มะเร็งเหล่านี้ส่วนใหญ่ สามารถป้องกันหรือลดความเสี่ยงในการเกิดจากการให้ลูกกินนมแม่ ยกเว้นมะเร็งปากมดลูก ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อไวรัสเอชพีวี อย่างไรก็ตาม ปัจจุบัน สามารถป้องกันการเกิดมะเร็งปากมดลูกโดยการฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก ซึ่งจะช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งได้ถึงร้อยละ 80 ดังนั้น สตรีที่ให้ลูกกินนมแม่และดูแลใส่ใจกับสุขอนามัยการเจริญพันธุ์ สามารถจะอยู่ได้ยาวนานโดยห่างไกลจากมะเร็งในสตรีที่เป็นสาเหตุในการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของสตรีในยุคปัจจุบัน

เอกสารอ้างอิง

  1. Wang L, Li J, Shi Z. Association between Breastfeeding and Endometrial Cancer Risk: Evidence from a Systematic Review and Meta-Analysis. Nutrients 2015;7:5697-711.

 

 

วัคซีนป้องกันโรต้าไวรัสกับการให้นมแม่

412910_12188321_7

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

โรต้าไวรัส (rotavirus) เป็นไวรัสที่ก่อให้เกิดอาการท้องเสียในทารก โดยอาจมีอาการรุนแรงและเกิดอันตรายแก่ทารกได้ ปัจจุบันได้มีการผลิตวัคซีนป้องกันโรต้าไวรัส วัคซีนจะเป็นวัคซีนชนิดหยอดเข้าทางปาก และผลิตจากเชื้อไวรัสที่ได้รับการทำให้ฤทธิ์อ่อนลง ส่วนใหญ่การให้จะให้ในทารกอายุน้อยกว่า 2 ปี เนื่องจากในทารกที่อายุมากกว่านี้ ส่วนใหญ่จะมีโอกาสที่จะได้รับเชื้อโรต้าไวรัสมาแล้วจากธรรมชาติ ซึ่งร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกันป้องกันเชื้อนี้ได้เอง ไม่จำเป็นจากได้รับการหยอดวัคซีน มีคำถามที่น่าสงสัยว่า ขณะหยอดยาวัคซีนป้องกันโรต้าไวรัส ทารกยังสามารถกินนมแม่ได้หรือไม่ ซึ่งได้มีการศึกษาหาคำตอบของคำถามนี้ พบว่า สามารถให้นมแม่ได้ขณะหยอดยาวัคซีนป้องกันโรต้าไวรัส การกินนมแม่ไม่ได้ทำให้การกระตุ้นให้เกิดภูมิคุ้มกันต้านเชื้อโรต้าไวรัสลดน้อยลง และยังพบว่าแนวโน้มของภูมิคุ้มกันต่อโรต้าไวรัสในทารกที่กินนมแม่ขึ้นได้มากกว่าทารกที่หยุดกินนมแม่ระหว่างการให้วัคซีน1 การหยอดวัคซีนนี้ จึงไม่ได้เป็นข้อห้ามในการหยุดนมแม่

เอกสารอ้างอิง
1. Ali A, Kazi AM, Cortese MM, et al. Impact of withholding breastfeeding at the time of vaccination on the immunogenicity of oral rotavirus vaccine–a randomized trial. PLoS One 2015;10:e0127622.