คลังเก็บหมวดหมู่: นมแม่

นมแม่

แม่สูบบุหรี่ ลูกกินนมแม่ได้ไหม

407434_12078550_1

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

???????? การที่มารดาสูบบุหรี่ ลูกยังสามารถกินนมแม่ได้ แต่ควรอธิบายถึงผลเสียของบุหรี่และประโยชน์ของนมแม่ให้มารดาฟัง ผลเสียของบุหรี่จะสูงในช่วงระหว่างมารดาตั้งครรภ์ แต่หลังคลอดอันตรายที่ควรต้องให้ทารกหลีกเลี่ยงคือ อันตรายจากควันบุหรี่มือสองที่ได้จากมารดา สำหรับอันตรายจากสารพิษจากบุหรี่ผ่านทางน้ำนมยังมีน้อยกว่าเมื่อเทียบกับการให้ลูกได้กินนมแม่และได้ประโยชน์จากการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

??????? แม้ว่า มีรายงานว่ามารดาที่สูบหรี่จะมีความเสี่ยงที่จะหยุดนมแม่เร็วกว่ามารดาที่ไม่ได้สูบบุหรี่ แต่หากมารดามีความตั้งใจที่ดี ต้องการลดการสูบบุหรี่ลงระหว่างการให้นมลูกก็ยิ่งเป็นประโยชน์ โดยอาจปรับเปลี่ยนไปใช้แผ่นแปะนิโคตินซึ่งจะเป็นผลดีต่อทารกมากกว่า โดยมารดาบางคนสามารถที่จะเลิกบุหรี่ได้เมื่อให้ลูกกินมแม่ แต่สำหรับมารดาที่ยังไม่สามารถหยุดสูบบุหรี่ได้ การที่มารดาสูบบุหรี่นอกบ้านหรือให้ห่างไกลจากห้องของทารกจะลดผลเสียต่อการที่ทารกได้รับควันบุหรี่มือสอง และหากสูบบุหรี่ช่วงหลังจากให้นมบุตรใหม่ๆ จะลดปริมาณสารพิษจากการที่ระดับของสารพิษจะลดลงแล้ว เมื่อถึงเวลาที่ให้นมบุตร

????????มารดาบางคนอาจคิดว่า การให้นมผสมอาจเป็นเรื่องที่ง่ายกว่า แต่ในความเป็นจริง มารดาต้องหลีกเลี่ยงโดยการสูบบุหรี่นอกเช่นกัน และยังขาดประโยชน์ที่จะได้รับจากการกินนมแม่ด้วย ซึ่งนอกเหนือจากเรื่องภูมิคุ้มกันแล้ว ในเรื่องความเฉลียวฉลาดที่ลดลงอันเป็นผลกระทบจากการที่มารดาสูบบุหรี่ระหว่างการตั้งครรภ์ ทารกจะได้ประโยชน์จากการลดผลกระทบนี้หากได้กินนมแม่

เอกสารอ้างอิง

  1. Cadwell K, Turner-Maffei C. Pocket guide for lactation management. 2nd ed. Burlington: Jones & Bartlett Learning 2014.

การให้นมแม่ในทารกแรกเกิดที่คลอดก่อนกำหนด

hand expression8

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

????????? ทารกที่คลอดก่อนกำหนดได้แก่ทารกที่คลอดก่อนอายุครรภ์ 37 สัปดาห์ ในทารกที่คลอดก่อนกำหนดที่อายุครรภ์ช่วง 34 ถึง 37 สัปดาห์จะเป็นช่วงใกล้กำหนด ทารกเหล่านี้ความพร้อมในการกินนมแม่อาจจะยังไม่ดีเท่ากับทารกที่คลอดครบกำหนด แต่หากดูแลอย่างเหมาะสม จะสามารถได้ประโยชน์ที่ดีจากการกินนมแม่ โดยการเริ่มการให้การดูแล มีดังนี้

???????????เมื่อทารกมีการคลอดก่อนกำหนด ควรมีการให้คำปรึกษามารดาและครอบครัว ถึงประโยชน์และวิธีการให้นมแม่รวมถึงทางเลือกให้มารดาและครอบครัวตัดสินใจ หากมารดาตัดสินใจเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ หากทารกมีความพร้อมโดยมีสัญญาณชีพคงที่ ให้มารดาโอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อบ่อยๆ และโอบกอดทารกนานเท่าที่จะทำได้ พิจารณาว่าทารกสามารถดูดนมแม่จากเต้าได้หรือไม่ หากยังไม่ได้ดี อาจต้องใช้อุปกรณ์ช่วยให้นมแม่ หรือสายยางต่อหลอดฉีดยาที่ใส่นมแม่เพื่อช่วยให้นมแม่ก่อน อาจให้ทารกได้เลียน้ำนมจากเต้านม และเมื่อทารกเริ่มแข็งแรงขึ้น ทารกจะสามารถดูดนมจากเต้าได้ด้วยตนเอง ดังนั้น มารดาต้องเตรียมความพร้อมโดยเริ่มการบีบเก็บน้ำนมตั้งแต่ภายในหกชั่วโมงหลังคลอด และบีบเก็บน้ำนมวันละ 8-12 ครั้ง เพื่อคงให้น้ำนมมาดีและต่อเนื่อง และเพื่อการเก็บน้ำนมที่เพียงพอและพร้อมที่จะให้น้ำนมที่เป็นประโยชน์สูงสุดแก่ทารกจากเต้าเมื่อทารกมีความพร้อม

เอกสารอ้างอิง

  1. Cadwell K, Turner-Maffei C. Pocket guide for lactation management. 2nd ed. Burlington: Jones & Bartlett Learning 2014.

 

การให้นมทารกที่มีการบาดเจ็บจากการคลอด

IMG_0728

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? ทารกที่บาดเจ็บจากการคลอดที่พบได้บ่อย คือ การที่มีเลือดออกในเยื่อหุ้มกะโหลกศีรษะ โดยทั่วไป มักพบในทารกที่คลอดยาก มีการคลอดติดขัด หรือเนิ่นนาน และพบในมากขึ้นในทารกที่มีการใช้หัตถการในการช่วยคลอด ได้แก่ การใช้เครื่องดูดสุญญากาศ อาการแสดงที่ตรวจพบจะพบทารกมีศีรษะบวม คลำได้หยุ่น คล้ายถุงน้ำอยู่ที่ศีรษะ ซึ่งการบวมจะไม่ข้ามรอยของกระดูกหรือกระหม่อม เมื่อทารกบาดเจ็บที่ศีรษะจากการคลอด การให้นมแม่สามารถทำได้ แต่ต้องจัดท่าให้นมที่เหมาะสม หลีกเลี่ยงการสัมผัสหรือกดทับบริเวณที่บาดเจ็บ บางครั้งทารกอาจอ่อนเพลียหรือเหนื่อยล้าจากการคลอดและการบาดเจ็บ การกินนมของทารกอาจทำได้ไม่ดี การติดตามดูน้ำหนักทารก ร่วมกับการเอาใจใส่กับภาวะตัวเหลืองที่พบได้สูงขึ้นในทารกเหล่านี้จากการดูดซึมลดขนาดบริเวณที่บวมจากเลือดออกที่ศีรษะ จะทำให้ทารกปลอดภัยและสามารถกินนมได้สำเร็จ

เอกสารอ้างอิง

  1. Cadwell K, Turner-Maffei C. Pocket guide for lactation management. 2nd ed. Burlington: Jones & Bartlett Learning 2014.

 

 

การให้นมแม่ในทารกแรกเกิดที่เป็น PKU

IMG_0697

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ภาวะพีเคยู หรือฟีนิวคีโตนยูเรีย (phenylketonuria) เป็นภาวะที่ร่างกายไม่สามารถเปลี่ยนโปรตีน phenylalanine เป็นกรดอะมิโน tyrosine ได้ ร่างกายจะมีปริมาณของ phenylalanine สูง ซึ่งทำให้เกิดความผิดปกติของการเชื่อมต่อกันของระบบเส้นประสาท มีผลต่อความเฉลียวฉลาด สติปัญญา และการพัฒนาการของสมอง ความผิดปกติของพฤติกรรมและการเรียนรู้ และพบมีภาวะกระดูกบางในผู้ป่วยที่มีโรคนี้ด้วย โดยในประเทศสหรัฐอเมริกาพบราว 1 ใน 13500-15000 ราย ส่วนในประเทศญี่ปุ่นพบภาวะนี้น้อย ภาวะนี้เป็นความผิดปกติทางพันธุกรรมในยีนร่างกายชนิดที่เป็นยีนด้อย (autosomal recessive)

? ? ? ? ? ? ในน้ำนมจะมีโปรตีน phenylalanine อยู่ด้วย ดังนั้น เมื่อร่างกายขาดเอนไซม์ที่จะเปลี่ยน phenylalanine เป็น tyrosine จะเกิดผลเสียเมื่อมีระดับของ phenylalanine สูง ดังนั้น อาหารที่ทารกรับประทานจำเป็นต้องควบคุมให้มีโปรตีนนี้ต่ำและระดับ phenylalanine ในกระแสเลือดไม่สูงจนเกินไป เช่นเดียวกันกับการกินนมแม่ สามารถกินได้โดยควบคุมปริมาณตามระดับของ phenylalanine และจำเป็นต้องกินอาหารเฉพาะที่มีการจำกัดหรือปราศจากโปรตีนตัวนี้ร่วมด้วย ซึ่งการให้การวินิจฉัยจำเป็นต้องให้ตั้งแต่แรกเริ่ม เพื่อลดผลเสียที่เกิดกับการพัฒนาการของระบบเส้นประสาทและสมอง

? ? ? ? ?สำหรับในประเทศไทยได้มีระบบการคัดกรองโรคนี้ในทารกที่คลอดทุกรายโดยคัดกรองร่วมกับภาวะขาดไทรอยด์หรือโรคเอ๋อ โดยการเจาะเลือดจากส้นเท้าทารกแรกเกิดทุกราย อย่างไรก็ตาม หากทารกมีอาการหรืออาการแสดงของทารกของโรคนี้ ได้แก่ มีผื่นแดง การเคลื่อนไหวผิดปกติของแขนขา การสั่น การชัก ทารกอยู่ไม่สุก (hyperactivity) ศีรษะเล็ก คลื่นไส้อาเจียน มีกลิ่นมัสตาร์ดจากลมหายใจ ผิวหนัง หรือจากปัสสาวะที่บ่งบอกถึงการมี phenylalanine ในปริมาณที่มากเกินไป มีพัฒนาการของสติปัญญาที่ช้าผิดปกติ มีพบมีมวลกระดูกต่ำหรือมีกระดูกบาง ควรให้การตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติมด้วย เนื่องจากภาวะนี้จึงเป็นภาวะที่มีผลต่อสุขภาพทารกแรกเกิดที่จะเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ การให้การดูแลรักษาตั้งแต่แรกเริ่มจะให้ผลดี บุคลากรจึงควรใส่ใจในการให้การวินิจฉัยรวมทั้งให้การดูแลเรื่องอาหารทารกและนมแม่อย่างเหมาะสม

เอกสารอ้างอิง

  1. Cadwell K, Turner-Maffei C. Pocket guide for lactation management. ?2nd?ed. Burlington: Jones & Bartlett Learning 2014.

 

การให้นมแม่ในทารกแรกเกิดที่เป็น galactosemia

IMG_0730

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ?กาแลคโตซีเมีย (galactosemia) เป็นภาวะที่ร่างกายขาดเอนไซม์ในการย่อยเปลี่ยนน้ำตาลกาแลคโตสเป็นน้ำตาลกลูโคส ทำให้ระดับน้ำตาลกาแลคโตสในเลือดสูงมีผลเสียต่อการแข็งตัวของเลือด การทำงานของตับ ไต และทำให้เกิดต้อกระจก ภาวะกาแลคโตซีเมียเป็นภาวะความผิดปกติในยีนด้อยของร่างกาย แต่จากการที่มียีนที่ควบคุมการสร้างเอนไซม์ที่ย่อยเปลี่ยนน้ำตาลกาแลคโตสหลายตัว ดังนั้นลักษณะที่ผิดปกติจึงมีระดับความผิดปกติได้หลายระดับ ตั้งแต่ร่างกายทารกไม่สามารถสร้างเอนไซม์ได้เลยที่เรียกว่า ?ภาวะกาแลคโตซีเมียชนิดคลาสสิก? จนถึงสามารถสร้างได้ราวร้อยละ 50

? ? ? ? ? ?อุบัติการณ์ของภาวะนี้พบได้น้อย ในคนญี่ปุ่นพบราวหนึ่งในล้าน ภาวะกาแลคโตซีเมียชนิดคลาสสิกนี้ถือเป็นข้อห้ามเพียงหนึ่งเดียวที่ชัดเจนในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่รวมถึงการให้นมผสมที่ผลิตจากนมวัวด้วย ทารกจำเป็นต้องเปลี่ยนไปใช้นมผสมที่ผลิตจากนมถั่วเหลือง แต่สำหรับทารกที่ยังสามารถสร้างเอนไซม์ที่ย่อยน้ำตาลกาแลคโตสได้บ้าง จะยังมีโอกาสในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ แต่ต้องมีการควบคุมหรือจำกัดปริมาณตามระดับน้ำตาลในกระแสเลือด1

? ? ? ? ? ?อาการของทารกที่มีภาวะกาแลคโตซีเมีย2 ได้แก่ ตัวเหลือง คลื่นไส้อาเจียน ตับโต เจริญเติบโตช้า กินได้น้อย เฉื่อยชา ท้องเสีย มีการแข็งตัวของเลือดผิดปกติและพบมีติดเชื้อในกระแสร่วมด้วยได้ อาการเหล่านี้มักพบใน 2-3 วันแรกหลังคลอด ส่วนอาการต้อกระจกเนื่องจากเลนส์ตาขุ่นจากการสะสมของน้ำตาลกาแลคโตสในเลนส์ตามักพบหลังสองสัปดาห์ไปแล้ว ?นอกจากนี้เมื่อทารกเหล่านี้เจริญเติบโตขึ้นอาจพบภาวะรังไข่หยุดทำงานก่อนกำหนด (premature ovarian failure) ด้วย การให้การวินิจฉัยภาวะนี้ในบางประเทศจะมีการตรวจคัดกรองในทารกแรกเกิดทุกราย แต่สำหรับในประเทศไทยยังใช้การตรวจวินิจฉัยเมื่อทารกมีประวัติพ่อแม่มีภาวะกาแลคโตซีเมีย หรือมีอาการหรืออาการแสดงที่สงสัยภาวะนี้เท่านั้น ดังนั้น แม้มีการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มากขึ้น แต่ควรใส่ใจและไม่ละเลยในการวินิจฉัยภาวะนี้ โดยการให้การดูแลทารกอย่างเหมาะสมตั้งแต่ในระยะแรก จะช่วยลดภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดกับทารกเหล่านี้ได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Cadwell K, Turner-Maffei C. Pocket guide for lactation management. 2nd?ed. Burlington: Jones & Bartlett Learning 2014.
  2. Waggoner DD, Buist NR, Donnell GN. Long-term prognosis in galactosaemia: results of a survey of 350 cases. J Inherit Metab Dis 1990; 13:802.