รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
แม้ว่าจะมีหลักฐานสนับสนุนประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวหกเดือนจากคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก แต่เมื่อมารดาได้รับอนุญาตให้กลับบ้านหลังคลอด กลับไปอยู่ในชุมชน ค่านิยม ธรรมเนียมปฏิบัติ ความเชื่อ คำแนะนำจากปู่ย่าตายาย สมาชิกในครอบครัว เพื่อน ล้วนมีผลต่อการคงการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวในช่วงหกเดือนแรก ซึ่งหากเป็นความเชื่อ ค่านิยม หรือคำแนะนำที่ผลเสีย หรือเป็นอุปสรรคต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว ตัวอย่างที่พบบ่อย ได้แก่ การให้ลูกกินน้ำล้างปาก หรือกินน้ำเพื่อลดอาการหิวหรือกระหายน้ำ มีการศึกษาพบว่า คำแนะนำที่ถูกต้องจากบุคลากรทางการแพทย์จะสามารถช่วยเพิ่มการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว1 ดังนั้น บุคลากรทางการแพทย์หรือสถานพยาบาลควรใส่ใจหรือให้ความสำคัญกับการให้คำแนะนำของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวอย่างต่อเนื่อง
เอกสารอ้างอิง
Gasparin VA, Strada JKR, Moraes BA, Betti T, Pitilin EB, Santo L. Factors associated with the maintenance of exclusive breastfeeding in the late postpartum. Rev Gaucha Enferm 2020;41:e20190060.
รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
ปัจจุบันการค้นหาข้อมูลต่าง ๆ มักมีการค้นหาผ่านเครื่องมือค้นหาออนไลน์ในอินเตอร์เน็ตกันมากขึ้นรวมทั้งข้อมูลในเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ตั้งแต่ ประโยชน์ วิธีการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การให้นมแม่ในแต่ละมื้อ ความถี่ในการให้นมแม่ ปัญหาหัวนมและเต้านมในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การปั๊มนม การเก็บรักษานมแม่ ประสบการณ์ในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และคำถามที่พบบ่อย มารดาที่ค้นหาข้อมูลการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ออนไลน์นั้น มักจะค้นหาคำถาม ปัญหาหรือประสบการณ์ที่มารดาพบเจอ เพื่ออาศัยข้อมูลจากออนไลน์มาใช้ในการช่วยการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ หรือแก้ปัญหาในกรณีที่ปัญหาที่เกิดกับมารดามีความคล้ายคลึงกันกับประสบการณ์ที่มีข้อมูลออนไลน์1 ข้อสำคัญคือ ข้อมูลที่มีอยู่ออนไลน์มีความหลากหลาย และระดับความน่าเชื่อถือของข้อมูลมีความแตกต่างกันมาก ตั้งแต่ข้อมูลที่ไม่เป็นจริง ข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือน้อยจนถึงข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือมาก การคัดกรองความน่าเชื่อถือของข้อมูลออนไลน์จึงเป็นสิ่งที่ควรมีการให้ความรู้แก่มารดาและครอบครัวให้มีความพร้อมในการรับความเปลี่ยนแปลงของการรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่ควรมีการแนะนำ จากการศึกษาในระบบและการอบรมจากบุคลากรทางการแพทย์
เอกสารอ้างอิง
Lebron CN, St George SM, Eckembrecher DG, Alvarez LM. “Am I doing this wrong?” Breastfeeding mothers’ use of an online forum. Matern Child Nutr 2020;16:e12890.
รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
ในระหว่างการฝากครรภ์และในระยะคลอดนั้น ในโรงพยาบาลที่สนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ จะมีกระบวนการการให้ความรู้ในเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ตามระยะของการตั้งครรภ์และช่วงเวลาที่ต้องเตรียมความพร้อมสำหรับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ กระบวนการนี้มีความสำคัญในการเพิ่มระดับความมั่นใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และยังช่วยเพิ่มอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ด้วย 1 ซึ่งการจัดการสอนการให้ความรู้ ควรจัดรูปแบบให้เหมาะสมกับหัวข้อที่จะจัดการเรียนการสอน โดยในหัวข้อความสำคัญในการให้ลูกได้กินนมแม่ อาจจะเป็นการสอนบรรยายกลุ่มใหญ่ การจัดท่าให้นมลูก ควรจัดสอนกลุ่มย่อย และมีเวลาให้มารดาฝึกทักษะภายใต้การดูแลของผู้สอน สำหรับมารดาที่มีปัญหาเฉพาะ อาจต้องให้คำปรึกษารายครอบครัว การจัดการสอนจึงจะมีคุณภาพและสัมฤทธิ์ผล
เอกสารอ้างอิง
Piro SS, Ahmed HM. Impacts of antenatal nursing interventions on mothers’ breastfeeding self-efficacy: an experimental study. BMC Pregnancy Childbirth 2020;20:19.
รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
การที่มารดาเหนื่อยหรืออ่อนเพลียหลังคลอดเป็นผลมาจากแนวทางการดูแลมารดาในระยะคลอด วิธีการคลอด และระยะเวลาของการคลอด โดยหากแนวทางการดูแลการคลอดมีการงดน้ำงดอาหารตั้งแต่ในระยะแรกของการคลอด มารดามีการเจ็บครรภ์คลอดนาน มีหัตถการในการช่วยคลอด มารดาเหล่านี้จะเกิดความเหนื่อยล้า อ่อนเพลียหลังคลอดมาก การเริ่มการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะเริ่มได้ช้า ซึ่งจะตรงกันข้ามกับมารดาที่ในระยะแรกของการคลอดมารดาได้รับประทานอาหาร มีการคลอดปกติ คลอดง่าย ใช้เวลาไม่นานในการคลอด ทำให้งดอาหารและน้ำไม่นาน มารดาเหล่านี้จะมีอาการอ่อนเพลียน้อยกว่า และเริ่มการให้นมลูกได้เร็ว 1 อย่างไรก็ตาม ในมารดาที่เหนื่อยล้าและอ่อนเพลียหลังคลอดไม่พบว่ามีความสัมพันธ์กับความมั่นใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่2 ดังนั้น แม้ว่ามารดาที่เหนื่อยล้าและอ่อนเพลียจะเริ่มการให้นมลูกได้ช้า แต่หากมารดามีความมั่นใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โอกาสที่จะประสบความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ก็จะสูงขึ้น
เอกสารอ้างอิง
Senol DK, Yurdakul M, Ozkan SA. The effect of maternal fatigue on breastfeeding. Niger J Clin Pract 2019;22:1662-8.
Fata S, Atan SU. The relationship between fatigue and breastfeeding self-efficacy. Niger J Clin Pract 2018;21:1408-14.
รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
เนื่องจากโรคไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำมักถูกมองข้าม ซึ่งทำให้มารดาและทารกเกิดภาวะแทรกซ้อนในระยะตั้งครรภ์และหลังคลอดได้หลายอย่าง1 ,2 โดยอาการที่พบหลังคลอด ได้แก่ การมีน้ำนมมาน้อยและพบภาวะซึมเศร้าหลังคลอดเพิ่มขึ้น การให้การวินิจฉัยทำได้โดยการเจาะเลือดตรวจค่าไทรอยด์และฮอร์โมนที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ TSH, freeT4 และ freeT3 ค่าของ TSH จะสูง และค่า freeT4 และ/หรือ freeT3 จะต่ำ สำหรับการรักษามารดาที่มีไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ ทำได้โดยการให้ Thyroxin ซึ่งยานี้สามารถผ่านน้ำนมได้ แต่มีปริมาณที่น้อยซึ่งมักจะไม่เกิดผลเสียแก่ทารก อย่างไรก็ตาม การติดตามค่าไทรอยด์ฮอร์โมนในทารกระหว่างที่มารดาได้รับการรักษายังมีความจำเป็น
เกิดถุงน้ำขนาดเล็กจำนวนหลายใบอยู่ในรังไข่ ส่งผลให้สตรีไม่มีการตกไข่ ประจำเดือนมาไม่ปกติ สิวขึ้น ขนดก หรือมีบุตรยากได้ โดยทั่วไป สตรีที่มี เอกสารอ้างอิง
Laron-Kenet T, Silbergeld A, Lilos P, Laron Z. Neonates of hypothyroid mothers have a below-normal head circumference. Isr Med Assoc J 2019;21:568.
Turunen S, Vaarasmaki M, Mannisto T, et al. Pregnancy and Perinatal Outcome Among Hypothyroid Mothers: A Population-Based Cohort Study. Thyroid 2019;29:135-41.
เรื่องนำทาง
แหล่งความรู้ เกี่ยวกับสูติ-นรีเวช (Obstetrics-Gynecology)