คลังเก็บหมวดหมู่: ทารกแรกเกิด

ทารกแรกเกิด

แม่ที่เสริมเต้าให้ลูกกินนมแม่ได้ไหม

825ea4606ddc45b9b89f25d00d303761

 

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? ในปัจจุบัน การผ่าตัดเสริมความงามของสตรีมีมากขึ้นรวมถึงการผ่าตัดเสริมขนาดของเต้านม ซึ่งเทคโนโลยีในการผ่าตัดได้พัฒนาไปอย่างมาก โดยทั่วไปจะไม่มีแผลผ่าตัดที่หัวนมหรือรอบลานนม ดังนั้น การรบกวนต่อมน้ำนมหรือท่อน้ำนมที่ส่วนใหญ่จะอยู่รอบๆ และไม่ไกลจากลานนมจึงมีน้อย ซึ่งมารดาอาจสังเกตได้จากตำแหน่งการผ่าตัด ความรู้สึกขณะมีการสัมผัสหัวนมหรือลานนม การขยายขนาดของเต้านมขณะตั้งครรภ์ ซึ่งใส่อุปกรณ์เสริมขนาดเต้านมจำพวกซิลิโคน ก็ไม่ได้ทำให้น้ำนมมีความผิดปกติหรือปนเปื้อน และการให้นมก็ไม่ได้ทำให้เกิดผลเสียต่อการผ่าตัดเสริมที่ทำอยู่เดิม จึงไม่ได้เป็นข้อห้ามในมารดาที่เสริมขนาดของเต้านมที่จะให้นมแม่

เอกสารอ้างอิง

  1. Cadwell K, Turner-Maffei C. Pocket guide for lactation management. 2nd?ed. Burlington: Jones & Bartlett Learning 2014.

 

 

เบาหวานระหว่างตั้งครรภ์กับเด็กออทิสติก

w51

รศ.นพ.ภาวิน? พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ?ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดออทิสติกในเด็กมีหลายอย่างทั้งด้านพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม สำหรับสตรีตั้งครรภ์ ความเสี่ยงอย่างหนึ่งที่พบว่ามีความสัมพันธ์กับการเกิด ? ? ออทิสติกในทารก ได้แก่ การที่มารดาได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานระหว่างการตั้งครรภ์ โดยมีการศึกษาพบว่า มารดาที่เป็นเบาหวานระหว่างการตั้งครรภ์ในช่วงแรกจนถึง? 26 สัปดาห์ มีความเสี่ยงในการเกิดออทิสติกในทารกเพิ่มขึ้น 1.42 เท่า (95% CI 1.15-1.74)1? ดังนั้น การดูแลและปฏิบัติตัว รับประทานอาหารและออกกำลังกายอย่างเหมาะสมเพื่อป้องกันการเกิดเบาหวานระหว่างการตั้งครรภ์ ก็น่าจะลดความเสี่ยงในการเกิดทารก ? ? ? ?ออทิสติกได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Xiang AH, Wang X, Martinez MP, et al. Association of maternal diabetes with autism in offspring. JAMA 2015;313:1425-34.

 

ข้อแนะนำในการลดความเสี่ยงในการเกิดการเสียชีวิตของทารกแบบเฉียบพลันโดยไม่ได้คาดหวัง

01_13

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ?สมาคมกุมารแพทย์แห่งสหรัฐอเมริกาจัดทำข้อแนะนำในการลดความเสี่ยงในการเสียชีวิตของทารกแบบเฉียบพลันโดยไม่ได้คาดหวัง (sudden unexpected infant death หรือ SUID) ไว้ เพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์และมารดาช่วยป้องกันและลดปัญหานี้ ข้อแนะนำมี ดังนี้1

  • การนอนของทารก แนะนำให้นอนหงายทุกครั้ง (back to sleep)
  • ใช้ที่นอนที่มีความแข็งพอเหมาะ
  • แนะนำให้นอนร่วมห้องกับทารก (room sharing) ไม่แนะนำให้นอนร่วมเตียงกับทารก (bed sharing)
  • แนะนำให้นำผ้าหรือวัตถุอ่อนนุ่มออกจากที่นอนของทารก เช่น หมอนหรือตุ๊กตาที่นิ่มเกินไป
  • มารดาควรจะมาติดตามการฝากครรภ์อย่างสม่ำเสมอ
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ หรือใช้สารเสพติดระหว่างการตั้งครรภ์และหลังคลอด
  • ควรเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
  • หลีกเลี่ยงการห่มผ้าหนาเกินไป ซึ่งจะทำให้ร่างกายของทารกมีอุณหภูมิสูง (hyperthermia)
  • ฉีดวัคซีนให้กับทารก
  • ไม่ควรใช้เครื่องมือที่ติดตามการเต้นของหัวใจและการหายใจที่บ้าน เพื่อป้องกันการเกิดภาวะทารกเสียชีวิตแบบเฉียบพลัน (sudden infant death syndrome)
  • ควรมีการเฝ้าดูแลทารกในช่วงหลังรับประทานใหม่หรือระหว่างการย่อยอาหาร
  • บุคลากรทางการแพทย์ควรจะแนะนำการลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะทารกเสียชีวิตแบบเฉียบพลันโดยไม่ได้คาดหวังตั้งแต่ในระยะคลอดหรือหลังคลอดใหม่ๆ

ในสหรัฐอเมริกา มีการรณรงค์การนอนหงายของทารก (back to sleep) ซึ่งโดยภาพรวมเป็นประโยชน์ในการลดการเกิดภาวะทารกเสียชีวิตแบบเฉียบพลันได้จาก 10000 รายต่อปีเหลือ 2500 รายต่อปี ดังนั้นหากจะมีการนำการรณรงค์นี้มาใช้ควรจะมีการวางแผน สื่อสาร สร้างความตื่นตัวในสังคม และติดตามประเมินผลเพื่อการดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพและได้ผล

หนังสืออ้างอิง

1.???????? Berkowitz CD. Sudden infant death syndrome, sudden unexpected infant death, and apparent life-threatening events. Adv Pediatr 2012;59:183-208.

 

 

การเกิดเหตุการณ์ที่เสี่ยงต่อการเสียชีวิตของทารกขณะนอนหลับ (apparent life-threatening event)

01_13

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? การเกิดเหตุการณ์ที่เสี่ยงต่อการเสียชีวิตของทารกขณะนอนหลับจะหมายถึงการที่มีเหตุการณ์ที่เสี่ยงต่อการเสียชีวิตของทารกโดยมีผู้สังเกตเห็นทารกหยุดหายใจ เขียวหรือซีด แขนขาอ่อนปวกเปียก หอบหรือหายใจไม่ออก ภาวะนี้ภาษาอังกฤษใช้คำว่า apparent life-threatening event หรือ ALTE ซึ่งเหตุการณ์นี้อาจจะเกิดขึ้นซ้ำได้และสร้างความวิตกกังวลกับมารดาและครอบครัวได้อย่างมาก อย่างไรก็ตามยังไม่มีหลักฐานเชิงประจักษ์ที่ยืนยันถึงความสัมพันธ์ของการเกิดเหตุการณ์ที่เสี่ยงต่อการเสียชีวิตของทารกขณะนอนหลับกับการหยุดหายใจ (apnea) และการเสียชีวิตของทารกแบบเฉียบพลัน (sudden infant death syndrome)

สาเหตุของการเกิดเหตุการณ์ที่เสี่ยงต่อการเสียชีวิตของทารกขณะนอนหลับเชื่อว่าอาจมีความสัมพันธ์กับสำลักของอาหารขึ้นมาที่หลอดอาหาร (gastroesophageal reflux หรือ GER) การเกิดการติดเชื้อ การเกิดการคลอดก่อนกำหนด อาการชักเรื้อรัง การมีพัฒนาการที่ช้ามาก และการถูกทำร้ายของทารก การเฝ้าสังเกตและหาสาเหตุอาจลดการเกิดอันตรายที่จะเกิดกับทารกได้1

หนังสืออ้างอิง

1.???????? Berkowitz CD. Sudden infant death syndrome, sudden unexpected infant death, and apparent life-threatening events. Adv Pediatr 2012;59:183-208.

 

 

 

 

ภาวะทารกเสียชีวิตแบบเฉียบพลันโดยไม่ได้คาดหวัง (sudden unexpected infant death syndrome)

01_13

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? ภาวะทารกเสียชีวิตแบบเฉียบพลันโดยไม่ได้คาดหวัง เป็นคำที่บอกกว้างๆ ถึงภาวะที่ทารกเกิดการเสียชีวิตอย่างไม่ได้คาดหวังโดยอาจจะสามารถตรวจสอบสาเหตุและอธิบายได้หรือไม่สามารถอธิบายสาเหตุได้ก็ได้ ภาษาอังกฤษใช้คำว่า sudden unexpected infant death syndrome หรือ SUID ดังนั้นภาวะทารกเสียชีวิตในครรภ์แบบเฉียบพลันจึงรวมเป็นส่วนหนึ่งของภาวะนี้ด้วย

สาเหตุของการเกิดภาวะทารกเสียชีวิตแบบเฉียบพลันโดยไม่ได้คาดหวัง มีความสัมพันธ์กับภาวะผิดปกติของเมตาบอลิซึ่มของทารกตั้งแต่เกิด การติดเชื้อที่ไม่รุนแรงแต่มีความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน การบาดเจ็บของทารกโดยอาจเกิดจากการทำร้ายทารก ความผิดปกติของระบบส่งสัญญานของเต้นของหัวใจ สิ่งแวดล้อมในการนอนของทารกที่ไม่ปลอดภัย ได้แก่ การนอนของทารกกับมารดาในเตียงเดียวกัน การใช้ผ้าห่ม หมอนหรือผ้าในที่นอนทารกที่ไม่เหมาะสม การป้อนนมทารกบนโซฟาขณะที่มารดาอ่อนเพลียมากและเผลอหลับ และท่าการนอนของทารก ได้แก่ การนอนคว่ำหรือนอนตะแคงที่อาจจะรบกวนการหายใจของทารก1

หนังสืออ้างอิง

1.???????? Berkowitz CD. Sudden infant death syndrome, sudden unexpected infant death, and apparent life-threatening events. Adv Pediatr 2012;59:183-208.