คลังเก็บหมวดหมู่: ทารกแรกเกิด

ทารกแรกเกิด

ทารกที่กินนมแม่จะกินอาหารหวานน้อยกว่า

IMG_0802

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ?ความวิตกกังวลเรื่องการดูแลสุขภาพมีความตื่นตัวมากขึ้นในปัจจุบัน โดยเฉพาะเรื่องภาวะอ้วน กลไกหนึ่งที่เป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างเสริมลักษณะนิสัยการกินอาหารที่เหมาะสมคือ การกินนมแม่ โดยทารกที่กินนมแม่ เมื่ออายุ 1-3 ปีจะกินอาหารที่หลากหลายกว่า และกินอาหารหวานน้อยกว่า ไม่ว่าจะเป็นทารกที่คลอดครบกำหนดหรือทารกที่คลอดก่อนกำหนด1 นอกจากนี้ ทารกที่กินนมแม่ยังได้รับการฝึกฝนให้ควบคุมการกินจากการควบคุมการดูดนมแม่ด้วยตนเอง ซึ่งจะทำให้ความเสี่ยงในการเกิดโรคอ้วนในทารกที่กินนมแม่จึงมีน้อยกว่าเมื่อทารกเจริญเติบโตขึ้น มารดาที่คิดว่าจะดูแลให้สิ่งที่ดีที่สุดแก่ลูก มรดกที่ส่งต่อให้ง่ายที่สุด คือ ?สุขภาพที่ดีเริ่มต้นจากนมแม่?

เอกสารอ้างอิง

  1. Husk JS, Keim SA. Breastfeeding and dietary variety among preterm children aged 1-3 years. Appetite 2016;99:130-7.

?

 

ทารกที่ไม่ได้กินนมแม่เสี่ยงต่อความผิดปกติของจิตประสาท

62

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ?ในปัจจุบันเริ่มมีความสนใจศึกษาในเรื่องของความสัมพันธ์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่กับความผิดปกติของจิตประสาท (neuropsychological deficit) และบุคลิกภาพที่มีความเสี่ยงต่อโรคจิตเภท (psychopathic personality traits) โดยเชื่ออาจจะเกี่ยวข้องกับสารสื่อประสาท serotonin โดยพบว่าทารกที่ไม่ได้กินนมแม่หรือกินนมแม่น้อย เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ อาจจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดความผิดปกติของจิตประสาท1 ซึ่งกลไกความเชื่อมโยงของระบบประสาทที่พัฒนาในทารกจะถูกกระตุ้นโดยการที่มารดาโอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อขณะที่ทารกกินนมแม่ หากปัจจุบันมีทารกที่กินนมแม่น้อยลง ในอนาคตอาจพบผู้ใหญ่ที่มีบุคลิกภาพที่ผิดปกติเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ก็เป็นได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Jackson DB, Beaver KM. The Association Between Breastfeeding Exposure and Duration, Neuropsychological Deficits, and Psychopathic Personality Traits in Offspring: The Moderating Role of 5HTTLPR. Psychiatr Q 2016;87:107-27.

?

?

 

การใช้ที่กันหัวนม ช่วยในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หรือไม่

01010023

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ที่กันหัวนม หรือ nipple shield ปัจจุบันมีการใช้กันแพร่หลายมากขึ้น โดยเฉพาะในมารดาที่มีปัญหาเรื่องการเจ็บหัวนมระหว่างการให้นมลูก แต่เนื่องจากการเจ็บหัวนมของมารดามีหลากหลายสาเหตุ ได้แก่ การจัดท่าเข้าเต้าที่ไม่ถูกต้อง การติดเชื้อรา หัวนมแตก การอักเสบของเต้านม ทารกมีภาวะลิ้นติด การมีน้ำนมไหลเร็วเกินไป และการมีเส้นเลือดที่หัวนมหดตัวเมื่อมีอากาศเย็น (Raynaud?s phenomenon)การให้การรักษาด้วยที่กันหัวนมจึงมีที่ใช้อย่างจำกัด มีการศึกษาพบว่ามารดาที่ใช้ที่กันหัวนมมีความเสี่ยงในการหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในระยะแรกสูงมากกว่าถึง 3-4 เท่า1 ดังนั้น การใช้ที่กันหัวนมอย่างไม่เหมาะสมอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้มารดาหยุดการให้นมแม่ก่อนเวลาอันควร จึงควรเลือกใช้การรักษาโดยใช้ที่กันหัวนมอย่างระมัดระวัง หากจำเป็นควรใช้ในช่วงสั้นๆ เท่านั้น

เอกสารอ้างอิง

  1. Kronborg H, Foverskov E, Nilsson I, Maastrup R. Why do mothers use nipple shields and how does this influence duration of exclusive breastfeeding? Matern Child Nutr 2016.

แม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ส่งผลดีต่อลูกสาว

S__45850760

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นสิ่งที่ดีมีประโยชน์ที่ทุกคนทราบดี การที่มีประวัติแม่หรือยายของสตรีตั้งครรภ์เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นปัจจัยที่ส่งเสริมหรือเพิ่มโอกาสความสำเร็จของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่1 แม้ว่าการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ส่วนหนึ่งน่าจะเป็นจากประสบการณ์และการเรียนรู้ของมารดาในการให้นมบุตร แต่มีความเชื่อว่าพันธุกรรมน่าจะมีส่วนเกี่ยวข้องส่วนหนึ่งด้วย โดยการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อาจจะมีการส่งข้อมูลผ่านยีนจากรุ่นสู่รุ่นได้ โดยกลไกผ่านตัวรับสัญญาณของฮอร์โมนออกซิโตซิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่มีความสำคัญในกระบวนการให้นมลูก จึงเป็นเรื่องน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีข้อมูลเพียงพอ จำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมต่อไป

เอกสารอ้างอิง

  1. Porta F, Mussa A, Baldassarre G, et al. Genealogy of breastfeeding. Eur J Pediatr 2016;175:105-12.

 

ให้ลูกกินนมแม่อย่างเดียว ช่วยลดน้ำหนักได้

IMG_1041

??????????????? รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ขณะมารดาตั้งครรภ์โดยทั่วไปจะมีน้ำหนักขึ้นราว 10-12 กิโลกรัม โดยจะเป็นส่วนของตัวทารก น้ำคร่ำ และรกประมาณ 5 กิโลกรัม ส่วนของตัวมดลูกที่ขยายขนาดที่รองรับการตั้งครรภ์ประมาณ 1 กิโลกรัม เต้านมที่ขยายเพื่อรองรับการเลี้ยงดูบุตรประมาณ 1-2 กิโลกรัม และสะสมสารอาหาร ไขมันและน้ำสำหรับทารกประมาณ 4 กิโลกรัม ซึ่งมารดาที่คลอดบุตร และเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวจะมีการใช้พลังงาน สารอาหาร และไขมันที่สะสมมาได้อย่างเต็มที่ ทำให้น้ำหนักหลังคลอดลดลงได้ดี โดยน้ำหนักของมารดาที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวจะลดลงราว 4 กิโลกรัมภายในสามเดือนหลังคลอดเทียบกับมารดาที่ไม่ได้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวหรือหยุดให้นมแม่ก่อนสามเดือน1 ดังนั้น หากมารดาต้องการให้น้ำหนักกลับเข้าสู่ระยะก่อนตั้งครรภ์โดยวิธีธรรมชาติ การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวน่าจะเป็นวิธีที่ดีที่สุด นอกจากนี้ยังเป็นประโยชน์แก่สุขภาพมารดาและทารกในระยะยาวด้วย

เอกสารอ้างอิง

  1. Lopez-Olmedo N, Hernandez-Cordero S, Neufeld LM, Garcia-Guerra A, Mejia-Rodriguez F, Mendez Gomez-Humaran I. The Associations of Maternal Weight Change with Breastfeeding, Diet and Physical Activity During the Postpartum Period. Matern Child Health J 2016;20:270-80.

?

?

?