คลังเก็บหมวดหมู่: ทารกแรกเกิด

ทารกแรกเกิด

หยุดให้นมแม่เพราะมารดามีน้ำนมไม่พอ จริงหรือ

IMG_9420

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? การสร้างน้ำนม กลไกการสร้างจะเริ่มมาตั้งแต่ในช่วงระยะตั้งครรภ์ โดยมีการเปลี่ยนแปลงของเนื้อเยื่อเต้านม มีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน มีการขยายหรือตึงคัดของเต้านม ซึ่งโดยทั่วไป มารดาส่วนใหญ่หากได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม จะมีน้ำนมเพียงพอสำหรับทารก แต่การประเมินว่าทารกได้รับน้ำนมเพียงพอ มารดาจำเป็นต้องทราบลักษณะที่บ่งบอกว่าทารกได้รับน้ำนมเพียงพอ ได้แก่ การสังเกตว่าทารกกินนมแล้วรู้สึกอิ่ม หลับสบาย ไม่หงุดหงิดหรือร้องกวน ขับถ่ายได้ดี น้ำหนักขึ้นตามเกณฑ์

? ? ? ? ? ? ? ?อย่างไรก็ตาม มีภาวะบางอย่างที่ส่งผลต่อการสร้างน้ำนมที่ทำให้น้ำนมมาช้าหรือมาน้อย ได้แก่ การมีรกค้าง การมีฮอร์โมนของต่อมใต้สมองต่ำ เบาหวาน หรือยาบางชนิด ภาวะเหล่านี้พบน้อย ดังนั้น การมีน้ำนมมาช้าหรือมาน้อยของมารดาจึงไม่ควรพบบ่อย หลักการให้คำปรึกษามารดาที่กังวลเรื่องน้ำนมไม่พอ คือ ควรประเมินความเสี่ยงที่อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้น้ำนมมาช้าหรือมาน้อยก่อน หากไม่มี ควรแนะนำการให้ทารกกระตุ้นดูดนมให้บ่อยพอ จัดท่าทารกให้นมให้เข้าเต้าและดูดนมได้อย่างมีประสิทธิภาพ และให้ทารกดูดนมให้เกลี้ยงเต้า ซึ่งกระบวนการหลักเหล่านี้จะช่วยในเรื่องการสร้างน้ำนมให้เพียงพอได้

เอกสารอ้างอิง

  1. The American of Obstetricians and Gynecologist, American Academy of Pediatrics. Breastfeeding handbook for physicians. 2nd edition. 2014.

การดูแลเต้านมระหว่างการให้นมลูก

image

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? การดูแลเต้านมเป็นสิ่งพื้นฐานในการให้นมลูกที่มารดาต้องทราบและดูแลได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม เต้านมมารดาปกติไม่ได้สกปรกหรือเปรอะเปื้อนเชื้อโรคใดๆ การดูแลความสะอาดเพียงเช็ดด้วยน้ำสะอาดก็เพียงพอ ไม่จำเป็นต้องล้างด้วยสบู่หรือเช็ดด้วยแอลกอฮอล์ เพราะจะทำให้หัวนมแห้ง ปราศจากน้ำมันที่หล่อลื่นที่สร้างจากต่อมไขมันบริเวณลานนม ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดการเจ็บหัวนมและหัวนมแตก นอกจากนี้ หากสบู่มีกลิ่นน้ำหอม อาจทำให้ทารกสับสนกับกลิ่นของหัวนม ลานนม และน้ำนมได้

? ? ? ? ? ? ? ?การใส่ชุดชั้นใน ควรใส่ชุดชั้นในที่ใช้สำหรับการให้นมที่ขนาดพอเหมาะไม่รัดแน่นจนเกินไป หลีกเลี่ยงการใช้ชุดชั้นในที่พยุงทรงที่มีโครงลวด เนื่องจากจะเสี่ยงต่อการที่โครงลวดจะไปกดทับเนื้อเยื่อของท่อน้ำนม เกิดการขังของน้ำนม และเกิดภาวะแทรกซ้อนท่อน้ำนมอุดตันหรือเต้านมอักเสบได้ หากมารดาใช้แผ่นซึมซับน้ำนมชนิดใช้แล้วทิ้ง ควรหลีกเลี่ยงชนิดที่เป็นขอบพลาสติก เนื่องจากอาจเสียดสีและทำให้เจ็บหัวนมได้ หากมารดาใช้แผ่นซึมซับน้ำนมชนิดใช้ซ้ำได้ ควรเปลี่ยนแผ่นซึมซับน้ำนมเมื่อมีน้ำนมชุ่ม เพื่อลดความอับชื้นที่เต้านม

เอกสารอ้างอิง

  1. The American of Obstetricians and Gynecologist, American Academy of Pediatrics. Breastfeeding handbook for physicians. 2nd edition. 2014.

การวางแผนดูแลมารดาในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หลังกลับบ้าน ตอนที่ 2

S__38208168

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? เรื่องที่ควรให้คำปรึกษาก่อนมารดากลับบ้าน ได้แก่

  1. การจัดท่าในการให้นมลูกและการเข้าเต้า
  2. ความถี่และระยะเวลาที่ให้นมลูก
  3. การขับถ่ายของทารก
  4. อาการตัวเหลืองในทารกแรกเกิด
  5. อาการหรือความผิดปกติที่ต้องมาปรึกษาแพทย์
  6. ข้อมูลของหน่วยงานที่สนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในพื้นที่ เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ หรือสื่อสังคมออนไลน์ที่จะช่วยเหลือมารดาได้

? ? ? ? ?สำหรับลักษณะการให้คำปรึกษาอาจพิจารณาตามความเหมาะสม หากให้คำปรึกษาเป็นกลุ่ม มารดาในกลุ่มอาจแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้ข้อมูลที่หลากหลาย หากให้คำปรึกษารายบุคคล มารดาจะได้ข้อมูลที่ตรงกับเรื่องที่มีความต้องการรู้หรือตรงกับปัญหาเฉพาะเรื่อง การใช้แผ่นพับหรือการใช้วิดีโอสามารถอาจช่วยลดระยะเวลาในการให้คำปรึกษาลงและใช้กำลังที่น้อยลงได้

เอกสารอ้างอิง

  1. The American of Obstetricians and Gynecologist, American Academy of Pediatrics. Breastfeeding handbook for physicians. 2nd edition. 2014.

การวางแผนดูแลมารดาในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หลังกลับบ้าน ตอนที่ 1

S__38208152

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? การประสบความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ประเมินได้จากระยะเวลาของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว ไม่ได้วัดเฉพาะการเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในระยะแรก การให้ความใส่ใจติดตามดูแลทารกอย่างเป็นระยะๆ จะช่วยให้คำปรึกษาและแก้ปัญหาในระหว่างการให้นมลูกให้กับมารดาได้ ส่วนการเตรียมครอบครัวเพื่อให้เข้าใจและมีความพร้อมในการช่วยสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ควรมีการเตรียมตั้งแต่ในระยะก่อนการคลอด สำหรับหลักในการให้คำปรึกษาที่จะให้กับมารดา ควรมีหลักดังนี้

  1. เข้าใจได้ง่าย
  2. ตรงประเด็นหรือตรงกับเรื่องที่ต้องการสื่อสาร
  3. คำนึงถึงค่านิยม วัฒนธรรม และความเชื่อในแต่ละสังคม

? ? ? ? ? ? ? ?การให้คำปรึกษาจำเป็นที่จะต้องคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้ เนื่องจาก ในระยะหลังคลอดใหม่ๆ มารดาจะมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ซึ่งจะมีผลต่ออารมณ์ และมารดายังมีอาการอ่อนเพลียจากการคลอดด้วย ซึ่งจะทำให้มารดามีอาการต่อต้านหรือขาดความสนใจหากข้อมูลที่ให้มีมาก ไม่ตรงกับความต้องการหรือสิ่งที่มารดาอยากรู้ หรือขัดกับขนบธรรมเนียมประเพณี

เอกสารอ้างอิง

  1. The American of Obstetricians and Gynecologist, American Academy of Pediatrics. Breastfeeding handbook for physicians. 2nd edition. 2014.

การตึงคัดเต้านมหลังคลอด ต้องดูแลอย่างไร

S__38208108

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? หลังคลอด มารดาจะมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนซึ่งทำให้เกิดมีการคั่งของเลือดและน้ำเหลืองบริเวณเต้านมในราววันที่สองหลังคลอด ร่วมกับน้ำนมเริ่มมา จึงทำให้เกิดอาการตึงคัด บวม เจ็บในเต้านมทั้งสองข้าง และอาจมีไข้ต่ำๆ แต่มักไม่เกิน 38 องศาเซลเซียส ดังนั้น หลักในการรักษาอาการตึงคัดเต้านมในช่วงหลังคลอดใหม่จึงต้องช่วยให้การไหลเวียนของเลือดและน้ำเหลืองดีขึ้น ลดอาการปวดของมารดา ร่วมกับการระบายน้ำนมออกจากเต้านมโดยให้ทารกดูดนม การช่วยในการไหลเวียนของเลือดและน้ำเหลืองอาจทำโดยการประคบร้อน การนวด หรือการใช้ลูกประคบ ซึ่งจะช่วยในบรรเทาอาการปวดได้ด้วย สำหรับการประคบเย็นจะช่วยลดการเพิ่มการคั่งของเลือดและน้ำเหลืองมาที่เต้านมและช่วยบรรเทาอาการปวด หากในมารดาที่เริ่มมีอาการปวดและบวมของเต้านม การใช้การประคบเย็นน่าจะช่วยได้ดี สำหรับมารดาที่มีอาการตึงคัดมาสองสามวันแล้ว การนวดและประคบร้อนน่าจะช่วยให้การไหลเวียนของเลือดและน้ำเหลืองดีขึ้น การใช้ยาลดอาการปวดร่วมด้วยอาจจำเป็นในกรณีที่มารดามีอาการปวดมาก อย่างไรก็ตาม ความทำการช่วยระบายน้ำนมจากเต้านมโดยการให้ลูกกินนมแม่บ่อยๆ ในช่วงที่มีอาการตึงคัดเต้านม

? ? ? ? ? ? ? ?ในกรณีการตึงคัดเต้านมเกิดหลังจากการคลอดเป็นระยะเวลานาน มักเป็นจากการระบายน้ำนมออกหรือให้ลูกดูดนมไม่บ่อยพอ การดูแลรักษาจึงเน้นไปที่การให้ลูกดูดนมบ่อยขึ้นหรือการบีบน้ำนมออกเพื่อช่วยระบายน้ำนม อาการตึงคัดเต้านมหลังคลอดใหม่เป็นอาการปกติที่มักเกิดขึ้นได้ซึ่งควรแยกออกจากภาวะแทรกซ้อนอื่นที่รุนแรง ได้แก่ เต้านมอักเสบ และฝีที่เต้านมเสมอ ??

เอกสารอ้างอิง

  1. The American of Obstetricians and Gynecologist, American Academy of Pediatrics. Breastfeeding handbook for physicians. 2nd edition. 2014.