คลังเก็บหมวดหมู่: ทารกแรกเกิด

ทารกแรกเกิด

แนวทางในการดูแลการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดาและทารกก่อนกลับบ้าน ตอนที่ 3

S__38208135

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

คำแนะนำที่ให้

  • อธิบายลักษณะและพฤติกรรมการกินนมของทารก
  • แนะนำการเปลี่ยนแปลงปกติของน้ำหนักทารกที่ลดลงหลังคลอด และการเพิ่มขึ้นตามกราฟของการเจริญเติบโต
  • กระตุ้นให้มารดาให้นมทารกตามความต้องการ ประมาณ 8-12 ครั้งใน 24 ชั่วโมง
  • อธิบายให้มารดาเข้าใจถึงความสำคัญของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวในช่วงหกเดือนแรกหลังคลอด
  • อธิบายถึงความเสี่ยงของการใช้จุกนมหลอกและควรหลีกเลี่ยงการใช้จุกนมหลอก
  • อธิบายการขับถ่ายปกติของทารก
  • ควรมีการเสริมวิตามินดีวันละ 400 ยูนิตแก่ทารก (ขึ้นอยู่กับแต่ละพื้นที่ โดยพิจารณาจากข้อมูลการขาดวิตามินดีที่พบในมารดาและทารก)

เอกสารอ้างอิง

  1. The American of Obstetricians and Gynecologist, American Academy of Pediatrics. Breastfeeding handbook for physicians. 2nd edition. 2014.

แนวทางในการดูแลการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดาและทารกก่อนกลับบ้าน ตอนที่ 2

S__38208130

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

การตรวจมารดาและทารก

  • ชั่งน้ำหนักและตรวจประเมินอายุครรภ์ของทารก
  • ประเมินพฤติกรรมการตอบสนองของทารกต่อการกระตุ้นทางระบบประสาท
  • คำนวณการขึ้นของน้ำหนักทารกและการลดของน้ำหนักทารกหลังคลอด
  • ตรวจและให้ความสนใจกับลักษณะในช่องปากทารกและการทำงานของกล้ามเนื้อที่ใช้ในการกินนม
  • ประเมินว่าทารกมีภาวะขาดน้ำหรือไม่
  • สังเกตภาวะตัวเหลืองและค่าสารเหลืองโดยเปรียบเทียบกับกราฟที่ใช้ประเมินความเสี่ยงของทารกที่มีภาวะตัวเหลือง
  • สังเกตมารดาขณะให้นมลูก
  • สอนทักษะให้มารดาสามารถบีบน้ำนมด้วยมือ
  • กระตุ้นให้มารดาสนใจในการตรวจการเปลี่ยนแปลงของเต้านมในระหว่างให้นมบุตร และในกรณีที่สงสัยว่ามีภาวะแทรกซ้อน ควรปรึกษาแพทย์

เอกสารอ้างอิง

  1. The American of Obstetricians and Gynecologist, American Academy of Pediatrics. Breastfeeding handbook for physicians. 2nd edition. 2014.

แนวทางในการดูแลการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดาและทารกก่อนกลับบ้าน ตอนที่ 1

S__38208166

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? การประเมินการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดาและทารกเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อบุคลากรทางการแพทย์จะสามารถให้คำแนะนำและคำปรึกษา รวมทั้งจัดการนัดติดตามมารดาและทารกได้อย่างเหมาะสม ซึ่งจะลดความเสี่ยงในการหยุดการให้นมแม่ในมารดาและทารกตั้งแต่ในระยะแรกได้ มีข้อแนะนำแนวทางการปฏิบัติดังนี้

??????????????? การประเมินมารดาและทารก

  • ทบทวนประวัติการฝากครรภ์ การคลอด ระยะหลังคลอดของมารดาและทารก
  • พูดคุยกับมารดาถึงการเริ่มต้นให้ลูกกินนมแม่ว่า ให้ภายใน 30 นาทีแรกหลังคลอดหรือไม่
  • มารดาเคยเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มาก่อนไหม
  • มารดาให้นมลูกอย่างไรและรู้สึกอย่างไรขณะให้นมลูก
  • มารดาได้โอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้ออย่างต่อเนื่องและให้นมลูกตามความต้องการหรือไม่
  • มารดาได้นำทารกเข้าเต้ากี่ครั้งใน 24-48 ชั่วโมงแรก
  • ทารกได้รับอาหารอื่นใดเสริมนอกเหนือจากนมแม่หรือไม่
  • มารดาเปลี่ยนผ้าอ้อมทารกกี่ครั้งใน 24 ชั่วโมง
  • ทารกถ่ายอุจจาระกี่ครั้งใน 24 ชั่วโมง
  • มารดาได้รับประทานยาอะไรเป็นประจำหรือไม่
  • สมาชิกในครอบครัวรู้สึกอย่างไรเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

เอกสารอ้างอิง

  1. The American of Obstetricians and Gynecologist, American Academy of Pediatrics. Breastfeeding handbook for physicians. 2nd edition. 2014.

นมแม่เป็นสาเหตุของภาวะตัวเหลืองได้ไหม

00025-1-1-l-small

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? นมแม่เป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด ซึ่งเกิดจากการที่นมแม่จะกระตุ้นการดูดซึมสารเหลืองจากลำไส้ทารกให้มีการดูดซึมเพิ่มขึ้น การเกิดภาวะตัวเหลืองจากนมแม่สามารถเกิดได้นานถึง 6-12 สัปดาห์หลังคลอด ทารกไม่มีอาการที่ผิดปกติ หรืออาการที่บ่งถึงการมีเม็ดเลือดแดงที่แตก การเจริญเติบโตเป็นไปตามเกณฑ์ เมื่อเวลาผ่านไป สารที่กระตุ้นการดูดซึมของสารเหลืองในนมแม่จะลดลง ขณะที่การทำงานของตับทารกดีขึ้น ภาวะตัวเหลืองจะหายไปเอง ภาวะตัวเหลืองจากนมแม่มักจะมีค่าสารเหลืองไม่สูง เชื่อว่าค่าสารเหลืองที่ขึ้นเล็กน้อยนี้อาจเป็นประโยชน์ในการป้องกันการบาดเจ็บต่างๆ ของเนื้อเยื่อ เนื่องจากสารเหลืองนั้นมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระในหลอดทดลอง ดังนั้น หากตรวจสอบว่าทารกไม่ได้มีภาวะเหลืองจากสาเหตุอื่นๆ ที่เป็นอันตราย ภาวะตัวเหลืองจากนมแม่ไม่ได้เป็นเรื่องที่น่ากังวลและมารดายังสามารถให้นมแม่ต่อเนื่องไปได้

เอกสารอ้างอิง

  1. The American of Obstetricians and Gynecologist, American Academy of Pediatrics. Breastfeeding handbook for physicians. 2nd edition. 2014.

ภาวะตัวเหลืองในทารกที่กินนมไม่พอ

IMG_0730

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิดเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อย สาเหตุของภาวะตัวเหลืองที่เกิดในทารกแรกเกิดมีหลากหลาย ได้แก่ การที่ทารกและมารดามีหมู่เลือดที่ไม่เข้ากัน ภาวะเม็ดเลือดแดงแตกจาก G6PD การติดเชื้อ การได้รับยาบางชนิด การกินนมไม่เพียงพอ และภาวะตัวเหลืองจากนมแม่ การกินนมไม่เพียงพอนั้นเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยในทารกที่กินนมแม่แล้วมีภาวะตัวเหลือง สาเหตุที่ทำให้ทารกเกิดภาวะตัวเหลืองจากการกินนมไม่เพียงพอนั้นเกิดจากเมื่อทารกกินนมแม่ได้น้อย การขับถ่ายขี้เทาออกจากร่างกายทารกจะทำได้ช้า ขี้เทาที่อยู่ในลำไส้ของทารกจะมีสารที่ทำให้ทารกตัวเหลือง เมื่อขี้เทาค้างอยู่ในร่างกายทารกนาน การดูดซึมสารที่ทำให้ทารกตัวเหลืองก็มีมาก ทารกที่มีความเสี่ยงในการกินนมไม่พอ มักพบในทารกที่มีการคลอดก่อนกำหนดที่ยังมีพัฒนาการการดูดและการกินนมยังไม่ดี อาจมีการง่วงหลับบ่อย ทำให้กินนมได้ไม่เพียงพอ การป้องกันการเกิดภาวะตัวเหลืองจากสาเหตุนี้จึงควรให้การใส่ใจในการกินนมของทารกว่าทารกมีการกินนมเพียงพอหรือไม่ ทารกอิ่มสบายหลังกินนม จำนวนครั้งของการขับถ่ายเป็นปกติ และน้ำหนักที่ขึ้นตามเกณฑ์ โดยเฉพาะกรณีที่ทารกคลอดก่อนกำหนด ควรมีการดูแลและติดตามอย่างใกล้ชิด

เอกสารอ้างอิง

  1. The American of Obstetricians and Gynecologist, American Academy of Pediatrics. Breastfeeding handbook for physicians. 2nd edition. 2014.