คลังเก็บหมวดหมู่: ทารกแรกเกิด

ทารกแรกเกิด

ยุควัฒนธรรมนมแม่ เริ่มต้นด้วยโรงพยาบาลสายสัมพันธ์แม่ลูก

S__38208157

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ???การคลอดบุตรในปัจจุบันนั้น ต้องถือว่าส่วนใหญ่คลอดที่โรงพยาบาล ซึ่งก่อนการคลอดนั้น มารดามักต้องมาฝากครรภ์ ซึ่งแพทย์จะให้การดูแล พิจารณาความเสี่ยงต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในมารดาแต่ละคน และวางแผนให้ในการป้องกันการเกิดอันตรายที่จะเกิดจากการคลอด โดยการคลอดบุตรนั้น แม้จะเป็นเรื่องที่น่ายินดีของครอบครัว แต่ถือเป็นความเสี่ยงอย่างหนึ่งในเรื่องสุขภาพที่มารดาจะมีการเปลี่ยนแปลงของทั้งทางร่างกาย และทางจิตใจที่จะต้องมีการเตรียมความพร้อมเพื่อต้อนรับสมาชิกใหม่ ก็คือ บุตร ซึ่งความคาดหวังของครอบครัวมีความต้องการจะให้บุตรมีความสมบูรณ์ แข็งแรง มีจิตใจที่อ่อนโยน และมีความเฉลียวฉลาดที่จะใช้ชีวิตได้อย่างเหมาะสมในสภาพสังคมปัจจุบัน การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นสิ่งหนึ่งที่จะช่วยตอบโจทย์ในการสรรสร้างสุขภาพที่ดีของทารก ทั้งทางด้านร่างกาย ภูมิคุ้มกันต่อโรค ความอ่อนโยนและการมีความมั่นคงทางอารมณ์ รวมทั้งช่วยในเรื่องความเฉลียวฉลาดด้วย ดังนั้น การที่จะส่งเสริมให้เกิดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จึงถือเป็นการลงทุนที่คุ้มค่ามาก ซึ่งกุญแจสำคัญในการส่งเสริมและสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ คือ โรงพยาบาลสายสัมพันธ์แม่ลูก ที่มีนโยบายบันไดสิบขั้นสู่ความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่1 โดยหากทุกโรงพยาบาลสามารถปฏิบัติตามบันไดสิบขั้นสู่ความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ น่าจะเป็นการสร้างจุดเริ่มต้นของยุควัฒนธรรมนมแม่ (Normalized breastfeeding era)

เอกสารอ้างอิง

  1. Perez-Escamilla R, Martinez JL, Segura-Perez S. Impact of the Baby-friendly Hospital Initiative on breastfeeding and child health outcomes: a systematic review. Matern Child Nutr 2016;12:402-17.

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ถ่ายทอดจากแม่สู่ลูกได้

IMG_1679

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ?สมัยก่อน เรามีความเชื่อว่า การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นกระบวนการที่เกิดจากการเรียนรู้เพียงอย่างเดียว ซึ่งต้องอาศัยการเรียนรู้เพื่อสร้างทัศนคติที่จะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ แต่มีการศึกษาในระยะหลัง พบว่า การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นได้ จากมารดาสู่ลูกสาว ซึ่งมีผลนอกเหนือจากการได้รับรู้หรือเรียนรู้อย่างเดียว โดยอธิบายจากการควบคุมเหนือลำดับดีเอ็นเอ (epigenetic)1 อย่างไรก็ตาม การเรียนรู้ รับรู้ ประสบการณ์ ค่านิยมและวัฒนธรรมในสังคมยังมีความสำคัญ ไม่ใช่ว่า หากมีมารดาที่ไม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่แล้ว ลูกสาวต้องไม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ด้วย การศึกษาในเรื่องนี้ยังจำเป็นต้องศึกษาเพิ่มเติมต่อไป ที่จะให้คำตอบให้ได้ว่า หากมารดามีความตั้งใจ พยายามจนเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ ลูกสาวจะได้รับโอกาสที่จะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สำเร็จด้วยหรือไม่ ยังเป็นสิ่งที่น่าสนใจ

เอกสารอ้างอิง

  1. Porta F, Mussa A, Baldassarre G, et al. Genealogy of breastfeeding. Eur J Pediatr 2016;175:105-12.

อาการตึงคัดเต้านมทำให้การเกิดเต้านมอักเสบและฝีที่เต้านมได้

IMG_0761

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ?หลังคลอดในวันที่ 2-3 มักพบว่ามารดามีอาการตึงคัดเต้านมได้บ่อย โดยหากมารดาดูแลเรื่องการให้นมลูกไม่เหมาะสม การเกิดการอักเสบของเต้านมหรือฝีที่เต้านมอาจเกิดได้ การดูแลอาการตึงคัดเต้านมนั้น ทำโดยการประคบร้อนที่เต้านม ร่วมกับการนวดเต้านม และให้ทารกได้กินนมแม่ ซึ่งหลังจากทารกกินนมแม่แล้ว การประคบเย็นจะช่วยลดการคั่งของเลือดและน้ำเหลืองที่เต้านม การปล่อยให้มารดามีอาการตึงคัดเต้านมและไม่ช่วยให้เกิดการระบายของน้ำนมออกจากเต้านม การขังของน้ำนมหากเป็นอยู่นาน อาจเกิดการอักเสบ โดยจะมีเชื้อโรคจะบริเวณผิวหนังของมารดาที่อาจแทรกซึมผ่านท่อน้ำนมเข้าไปในน้ำนมที่ขังและทำให้เกิดฝีที่เต้านมได้ เมื่อเกิดการอักเสบของเต้านมแล้ว หากคลำได้เป็นก้อน บวม แดง ร้อน และมารดามีไข้นานกว่า 24 ชั่วโมง อาจจำเป็นต้องให้ยาปฏิชีวนะร่วมด้วย ซึ่งยาปฏิชีวนะจะครอบคลุมเชื้อโรคที่มาจากบริเวณผิวหนังซึ่งเป็นสาเหตุร่วมที่ทำให้เกิดการอักเสบต่อเนื่องของเต้านมของมารดา มีการศึกษาในการใช้ยากดการสร้างน้ำนมเพื่อช่วยในการลดการอักเสบของเต้านม1 อย่างไรก็ตาม การใช้ยากดการสร้างน้ำนมมีความเสี่ยงและอาจมีผลในการลดการสร้างน้ำนมที่มีผลต่อทารกได้ ดังนั้น หลักสำคัญคือ การดูแลรักษาอาการตึงคัดเต้านมให้เหมาะสมเพื่อลดภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้นตามมา คือ เต้านมอักเสบและฝีที่เต้านม จะเป็นการดีกว่า การปล่อยให้เกิดภาวะแทรกซ้อนแล้วจึงติดตามการรักษา

เอกสารอ้างอิง

  1. Pustotina O. Management of mastitis and breast engorgement in breastfeeding women. J Matern Fetal Neonatal Med 2016;29:3121-5.

แพทย์ทั่วไปขาดความมั่นใจเมื่อต้องแนะนำแม่ให้นมลูก

S__38208149

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? ปัจจุบัน การแพทย์หรือโรคต่างๆ มีความซับซ้อน และวิวัฒนาการทางการแพทย์ก็มีเพิ่มขึ้นจนการเรียนรู้ในขณะเป็นนักศึกษาแพทย์อาจได้รับไปเพียงบางส่วน โดยต้องมีการฝึกฝนทักษะเพิ่มเติมเมื่อไปปฏิบัติงานเป็นแพทย์ใช้ทุน เป็นที่ทราบกันดีว่า การพูดหรือคำแนะนำจากแพทย์จะช่วยส่งเสริมและช่วยเพิ่มอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ แต่ในเมื่อแพทย์ยังขาดความมั่นใจเมื่อต้องให้คำแนะนำในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เนื่องจากขาดความรู้และขาดทักษะ ซึ่งมีการศึกษาในประเทศนอรเวย์1 สำหรับในประเทศไทยยังไม่มีการศึกษาที่มีรายงานออกมา แต่ยังมีความหลากหลายในการจัดการเรียนการสอนเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในแต่ละสถาบัน จึงต้องมีการทบทวนกระบวนการจัดการเรียนการสอนว่า สิ่งใดที่แพทย์จำเป็นต้องมีความรู้และทักษะเมื่อเรียนจบเป็นแพทย์ทั่วไป โดยเฉพาะทางด้านส่งเสริมและป้องกันโรคที่จะช่วยสร้างสุขภาพมากกว่าที่จะติดตามซ่อมสุขภาพหลังจากที่มีการเจ็บป่วยแล้ว

เอกสารอ้างอิง

  1. Svendby HR, Loland BF, Omtvedt M, Holmsen ST, Lagerlov P. Norwegian general practitioners’ knowledge and beliefs about breastfeeding, and their self-rated ability as breastfeeding counsellor. Scand J Prim Health Care 2016;34:122-9.

เมื่อคุณเกิด คุณไม่ควรอยู่โดยปราศจากแม่ คำแนะนำที่ดีและน่านำไปใช้

IMG_1720

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีการช่วยกันส่งเสริมและสนับสนุนในหลายๆ ทาง แต่หลังคลอด คำแนะนำต่างๆ ที่หลากหลายจากหลายๆ ด้าน ครอบครัว เพื่อน และบุคลากรทางการแพทย์อาจทำให้มารดาสับสนและพลาดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ไปได้ มีการศึกษาการใช้การแนะนำที่บ่งบอกว่า ?เมื่อคุณเกิด คุณไม่ควรอยู่โดยปราศจากแม่” (When you give birth you will not be without your mother)1 ให้แก่มารดาที่คลอดลูกคนแรกโดยช่วยส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ สิ่งนี้บ่งบอกว่า การที่มารดาได้อยู่กับทารก ความสัมพันธ์ผูกพัน สายใยที่เชื่อมโยงจะนำไปสู่การให้นมแม่และความพยายามจะฝ่าฟันอุปสรรคที่จะขัดขวางการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การอยู่ด้วยกันกับลูกจะทำให้มารดาเข้าใจ ทราบถึงลักษณะอาการที่ลูกต้องการสื่อสาร ไม่ว่าจะหิว อิ่ม ปัสสาวะหรืออุจจาระ ซึ่งเป็นสายใยตามธรรมชาติที่เกิดผ่านฮอร์โมนแห่งความรัก (oxytocin) ที่เปิดโอกาสในการสร้างทารกที่มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงและจิตใจที่อ่อนโยนผ่านกระบวนการกินนมแม่

เอกสารอ้างอิง

  1. Talbert AW, Ngari M, Tsofa B, et al. “When you give birth you will not be without your mother” A mixed methods study of advice on breastfeeding for first-time mothers in rural coastal Kenya. Int Breastfeed J 2016;11:10.