คลังเก็บหมวดหมู่: ทารกแรกเกิด

ทารกแรกเกิด

ตอบคำถามความรู้เรื่องนมแม่วันละข้อ

สตรีที่ตั้งครรภ์และให้นมบุตรมีการเสี่ยงจากมะเร็งเต้านมน้อยกว่า

IMG_1685

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? บางคนอาจมีความสงสัยและตั้งคำถามว่า ทำไมสตรีตั้งครรภ์และให้นมบุตรจึงมีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านมน้อยกว่าหรือเกิดมะเร็งเต้านมที่มีความรุนแรงน้อยกว่าสตรีที่ไม่เคยมีบุตรหรือให้นมลูก พอจะมีคำอธิบายจากผลของการศึกษาเรื่องโมเลกุล HLA-G ซึ่งมีผลต่อภูมิคุ้มกันต่อเซลล์เนื้องอกหรือเซลล์มะเร็ง การแสดงออกของโมเลกุลนี้ในเรื่องภูมิคุ้มกันต่อเซลล์มะเร็งนั้นมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญระหว่างทั้งสองกลุ่ม1 ดังนั้น สิ่งนี้น่าจะเป็นคำอธิบายส่วนหนึ่งที่จะมีผลต่อการป้องกันการเกิดมะเร็งเต้านม ซึ่งคงต้องมีการศึกษาต่อไป

เอกสารอ้างอิง

  1. Zidi I, Kharrat N, Sebai R, et al. Pregnancy and breastfeeding: a new theory for sHLA-G in breast cancer patients? Immunol Res 2016;64:636-9.

สื่อสารมวลชนช่วยให้ลูกกินนมแม่ได้มากขึ้น

S__38208120

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ????ประชาชนมักเชื่อข่าวสารจากสื่อ? การสื่อสารในช่องทางของสื่อสารมวลชนจึงมีความสำคัญและเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยให้ทารกได้กินนมแม่มากขึ้นได้ มีการศึกษาในเวียดนามเปรียบเทียบมารดาที่ได้รับการให้คำปรึกษาเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่กับมารดาที่ได้รับการให้คำปรึกษาร่วมกับได้รับการสื่อสารเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จากสื่อสารมวลชนด้วย พบว่า อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวในกลุ่มมารดาที่ได้รับการสื่อสารจากสื่อสารมวลชนด้วยสูงขึ้นจากกลุ่มที่ให้คำปรึกษาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่างเดียวร้อยละ 31 ซึ่งจากผลการศึกษาน่าจะบอกถึงความสำคัญของสื่อสารมวลชนที่มีช่องทางการสื่อสารหลากหลายทาง ได้แก่ ทีวี วิทยุ และสื่อออนไลน์ที่มีแนวโน้มการรับฟังข่าวสารเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ความช่วยเหลือจากสื่อต่างๆ เหล่านี้ อาจมีส่วนร่วมในการช่วยให้ทารกได้กินนมแม่มากขึ้นและนานขึ้นได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Nguyen PH, Kim SS, Nguyen TT, et al. Exposure to mass media and interpersonal counseling has additive effects on exclusive breastfeeding and its psychosocial determinants among Vietnamese mothers. Matern Child Nutr 2016.

การรับรู้ถึงคุณค่าของนมแม่ช่วยให้มารดาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นานขึ้น

IMG_1574

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ???เป็นที่ทราบกันดีว่า หากมารดามีความตั้งใจที่จะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ จะมีระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่นานกว่า การที่มารดาจะมีความตั้งใจที่จะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นั้น ย่อมมาจากการที่มารดามีความซาบซึ้ง และเข้าใจถึงประโยชน์ของนมแม่อย่างแจ่มชัด มีการศึกษาถึงการที่มารดามีการรับรู้ถึงประโยชน์ของนมแม่เป็นอย่างดีส่งผลให้มีระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวที่ยาวนานกว่า1 ดังนั้น การจะสร้างให้มารดามีความเข้าใจถึงประโยชน์ของนมแม่อย่างลึกซึ้ง นอกจากจะเป็นการศึกษาหาความรู้ด้วยตนเองของมารดาแล้ว บุคลากรทางการแพทย์ โดยเฉพาะแพทย์ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับความเชื่อถือจากมารดาและครอบครัว จำเป็นต้องเป็นผู้ที่ให้ข้อมูลประโยชน์ของนมแม่ที่ถูกต้อง และย้ำเตือนเป็นระยะๆ เพื่อให้มารดามีความเข้าใจที่ดี และเลือกการเอาใจใส่ดูแลทารกด้วยนมแม่เมื่อเทียบกับการตัดสินใจเลือกรีบกลับไปทำงานหลังจากได้รับข้อมูลครบถ้วนได้อย่างเหมาะสม

เอกสารอ้างอิง

  1. Nnebe-Agumadu UH, Racine EF, Laditka SB, Coffman MJ. Associations between perceived value of exclusive breastfeeding among pregnant women in the United States and exclusive breastfeeding to three and six months postpartum: a prospective study. Int Breastfeed J 2016;11:8.

ทารกที่กินนมแม่ เสี่ยงต่อความดันโลหิตสูงลดลง

IMG_1706

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ???โรคจากพฤติกรรมและการกินอาหารเป็นสาเหตุของโรคเรื้อรังที่พบในผู้ใหญ่ โดยเฉพาะโรคความดันโลหิตสูงที่พบได้บ่อยในการเป็นจุดเริ่มต้นโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดทางสมอง ซึ่งเป็นสาเหตุการตายที่พบมากขึ้นเรื่อยๆ ในปัจจุบัน มีการศึกษาถึงผลประโยชน์ของการกินนมแม่ต่อโรคความดันโลหิตสูง โดยเก็บข้อมูลระยะเวลาของการกินนมแม่กับความดันโลหิตของทารกเมื่อเจริญเติบโตขึ้นอยู่ในวัยก่อนเข้าเรียน พบว่า ทารกที่กินนมแม่น้อยกว่าหกเดือนมีความเสี่ยงที่มีความดันโลหิตสูงมากกว่าทารกที่กินนมแม่นานกว่าหกเดือน1 ดังนั้น การส่งเสริม สนับสนุนให้ทารกได้กินนมแม่ นอกจากจะช่วยป้องกันการเสียชีวิตของทารกตั้งแต่ในระยะของทารกแรกเกิดแล้ว ยังอาจช่วยป้องกันการเสียชีวิตจากโรคความดันโลหิตสูงที่จะนำไปสู่โรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมองเมื่อทารกเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่และอายุมากขึ้น

เอกสารอ้างอิง

  1. Nobre LN, Lessa AD. Influence of breastfeeding in the first months of life on blood pressure levels of preschool children. J Pediatr (Rio J) 2016.