คลังเก็บหมวดหมู่: ทารกแรกเกิด

ทารกแรกเกิด

โรคเริมกับนมแม่

IMG_1553

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? โรคเริมเกิดจากเชื้อไวรัส Herpes simplex ซึ่งหากติดเชื้อในระหว่างการคลอดจะมีโอกาสที่จะติดเชื้อไปยังทารก การติดเชื้อหากติดเชื้อในหลากหลายระบบในร่างกายทารกจะเป็นอันตรายรุนแรงได้ เนื่องจากโรคเริม หากมารดาเป็นแล้ว หลังจากหายจากอาการ เชื้อไวรัสจะยังซ่อนตัวอยู่ในปลายประสาท เมื่อร่างกายอ่อนเพลีย เครียด หรือมีภาวะที่ภูมิคุ้มกันต่ำลง เชื้อจะเพิ่มจำนวนและแสดงอาการ โดยอาการแสดง หากเป็นการติดเชื้อในครั้งแรกจะมีความรุนแรงมากกว่า อาการที่พบจะมีไข้ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยเนื้อตัว และมีตุ่มใสๆ กระจายในบริเวณที่มีการติดเชื้อ อาจพบบริเวณที่ปาก อวัยวะเพศ หรือเต้านม โดยที่ตุ่มใสจะแตกออกและเกิดเป็นแผลตื้นๆ ที่มีอาการแสบ และปวดเจ็บแปลบตามปลายประสาทได้ ในกรณีที่เป็นซ้ำหลังจากการเป็นในครั้งแรกแล้ว อาการจะน้อยลง และไม่รุนแรง

? ? ? ? ? ? ? สำหรับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ไม่เป็นข้อห้าม ยกเว้นในกรณีที่มีแผลบริเวณเต้านม แต่เมื่อแผลแห้งเป็นสะเก็ดก็สามารถกลับมาให้นมแม่ได้ โดยในระหว่างที่เป็นแผล อาจใช้แผ่นหรือผ้าปิดแผล ร่วมกับมารดาควรดูแลเรื่องความสะอาดและล้างมือบ่อยๆ ในกรณีที่มารดามีอาการมาก การใช้ยาต้านไวรัสให้ในระยะแรกจะช่วยความรุนแรงและลดระยะเวลาของอาการของโรค นอกจากนี้ มารดาที่รับประทานยาต้านไวรัส acyclovir สามารถให้นมแม่ได้1

เอกสารอ้างอิง

  1. ภาวิน พัวพรพงษ์. รอบรู้เรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่. นครนายก: ซี.ที. ดอทคอม; 2558.

ไวรัสตับอักเสบจีกับนมแม่

IMG_1554

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? ? โรคไวรัสตับอักเสบจี การติดเชื้อจะผ่านทางเลือดและสารคัดหลั่ง การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบจีนั้นสามารถทำให้เกิดการอักเสบติดเชื้อเรื้อรังได้ มีรายงานการติดเชื้อจากมารดาสู่ทารก โดยมากมักจะติดเชื้อในช่วงระยะก่อนหรือในระหว่างการคลอดมากกว่าการติดเชื้อจากการกินนมแม่ อย่างไรก็ตาม ข้อมูลยังมีจำกัด การติดเชื้อสามารถเกิดการอักเสบเรื้อรังได้ ร่วมกับยังขาดภูมิคุ้มกันและวัคซีนที่จะใช้ป้องกันการติดเชื้อในทารก ดังนั้น ข้อแนะนำเบื้องต้น คือ หากมารดาติดเชื้อไวรัสตับอักเสบจีในช่วงใกล้คลอดหรือในระยะคลอด และมีปริมาณไวรัสในกระแสเลือดสูง แนะนำให้เลือกใช้นมผงดัดแปลงสำหรับทารก การเลือกที่จะให้นมแม่อาจพิจารณาในพื้นที่ที่มีความขาดแคลนและไม่สามารถจัดนมผงดัดแปลงสำหรับทารกอย่างพอเพียงและเหมาะสมได้1

เอกสารอ้างอิง

  1. ภาวิน พัวพรพงษ์. รอบรู้เรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่. นครนายก: ซี.ที. ดอทคอม; 2558.

ไวรัสตับอักเสบอีกับนมแม่

IMG_1558

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? โรคไวรัสตับอักเสบอี การติดเชื้อจะผ่านทางการรับประทานอาหารหรือน้ำที่มีการปนเปื้อนไวรัส โรคไวรัสตับอักเสบอีนี้หายได้เองและไม่พบภาวะที่มีการอักเสบติดเชื้อเรื้อรัง อุบัติการณ์การติดเชื้อพบน้อย มีรายงานการติดเชื้อจากมารดาสู่ทารก แต่ข้อมูลยังมีจำนวนน้อยเช่นกัน เนื่องจากความจำกัดของข้อมูล และยังขาดภูมิคุ้มกันและวัคซีนที่จะป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบอี ในมารดาที่มีการติดเชื้อในระหว่างการตั้งครรภ์ในไตรมาสที่สามหรือในระยะคลอดที่มีปริมาณไวรัสในกระแสเลือดสูง แนะนำให้เลือกใช้นมผงดัดแปลงสำหรับทารก การเลือกที่จะให้นมแม่อาจพิจารณาในพื้นที่ที่มีความขาดแคลนและไม่สามารถจัดนมผงดัดแปลงสำหรับทารกอย่างพอเพียงและเหมาะสมได้1

เอกสารอ้างอิง

  1. ภาวิน พัวพรพงษ์. รอบรู้เรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่. นครนายก: ซี.ที. ดอทคอม; 2558.

ไวรัสตับอักเสบดีกับนมแม่

IMG_1519

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? โรคไวรัสตับอักเสบดี จะเป็นการติดเชื้อร่วมกันกับไวรัสตับอักเสบบี ซึ่งจะผ่านทางเลือดและสารคัดหลั่ง การติดเชื้อจากมารดาสู่ทารกสามารถป้องกันได้จากการป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี โดยการให้ภูมิคุ้มกันและวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบีแก่ทารก ดังนั้น ข้อแนะนำสำหรับการให้นมบุตรจึงแนะนำว่าสามารถให้ได้เช่นเดียวกันกับทารกที่มีมารดาติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี โดยที่ทารกควรได้รับการฉีดภูมิคุ้มกันทันทีหลังคลอดและฉีดวัคซีนตามกำหนด การปฏิบัติตามข้อแนะนำนี้จะช่วยป้องกันความเสี่ยงในการเกิดการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีและไวรัสตับอักเสบดีของทารกในมารดาที่มีการติดเชื้อได้1

เอกสารอ้างอิง

  1. ภาวิน พัวพรพงษ์. รอบรู้เรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่. นครนายก: ซี.ที. ดอทคอม; 2558.

มารดาที่เป็นติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีให้ลูกกินนมแม่ได้ไหม

IMG_1562

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? ? โรคไวรัสตับอักเสบซี โดยทั่วไปจะติดต่อได้จากทางเลือดและน้ำคัดหลั่งเช่นเดียวกันกับไวรัสตับอักเสบบี การติดเชื้อจากมารดาสู่ทารกสามารถเกิดได้และทำให้เกิดภาวะตับอักเสบเรื้อรังในทารก สำหรับการติดเชื้อผ่านทางน้ำนมแม่นั้นยังไม่มีข้อมูลยืนยันที่ชัดเจน เนื่องจากไม่พบความเสี่ยงเพิ่มขึ้นในการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีระหว่างทารกที่กินนมแม่และทารกที่กินนมผงดัดแปลงสำหรับทารก แต่ข้อมูลการศึกษายังมีน้อย ร่วมกับยังขาดวิธีการป้องกันการติดเชื้อจากมารดาสู่ทารก ดังนั้น การให้ทารกกินนมแม่อาจให้ในกรณีที่ไม่มีทางเลือกในการให้อาหารทารกที่ปลอดภัยและเพียงพอที่จะให้แก่ทารก1 โรคไวรัสตับอักเสบซีนั้นยังขาดการคัดกรองในมารดาทั่วไป จึงอาจมีความเสี่ยงได้ในการที่มารดามีการแบ่งบันนมแม่กันเองโดยปราศจากระบบจัดการธนาคารนมแม่ ซึ่งเป็นข้อมูลที่บุคลากรทางการแพทย์ควรทราบและให้ความรู้แก่มารดาและสังคมเพื่อให้มีความเข้าใจในโรคและการดูแลตนเองและทารกที่เหมาะสม

เอกสารอ้างอิง

  1. ภาวิน พัวพรพงษ์. รอบรู้เรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่. นครนายก: ซี.ที. ดอทคอม; 2558.