คลังเก็บหมวดหมู่: ทารกแรกเกิด

ทารกแรกเกิด

โรคโปลิโอกับนมแม่

img_2201

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? โรคโปลิโอเกิดจากเชื้อไวรัส แม้ปัจจุบันในประเทศไทยมีการให้วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอแก่ทารกแรกเกิดทุกราย ร่วมกับการรณรงค์ให้วัคซีนแก่เด็กในวันสำคัญต่างๆ ทำให้มีโอกาสในการเกิดโรคนี้น้อย แต่ในยุคที่มีการเคลื่อนย้ายแรงงานจากกลุ่มประเทศอาเซียน ความครอบคลุมการฉีดวัคซีนในแต่ละประเทศมีความแตกต่างกัน จึงอาจกลับมาพบเจอโรคโปลิโอได้ ซึ่งโรคนี้หากมีอาการจะทำให้เกิดการอ่อนแรงและพิการ การติดเชื้อในระหว่างการตั้งครรภ์จะเสี่ยงต่อการแท้งและการคลอดก่อนกำหนด และมีโอกาสติดต่อไปยังทารกในครรภ์ผ่านรก หากมารดามีอาการทันทีหลังคลอด การแยกทารกจากมารดาไม่มีประโยชน์ เนื่องจากทารกอยู่ในช่วงที่สัมผัสเชื้อแล้ว การให้นมแม่สามารถให้ได้1 ซึ่งทารกจะได้รับประโยชน์จากภูมิคุ้มกันโรคโปลิโอที่มารดาสร้างด้วย โดยยังแนะนำให้ให้วัคซีนป้องกันโปลิโอตามแนวทางปฏิบัติปกติหลังคลอดด้วย

เอกสารอ้างอิง

  1. ภาวิน พัวพรพงษ์. รอบรู้เรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่. นครนายก: ซี.ที. ดอทคอม; 2558.

โรคคางทูมกับนมแม่

img_2133

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? โรคคางทูมเกิดจากเชื้อไวรัส โดยจะมีอาการอักเสบ บวม และเจ็บของต่อมน้ำลาย อาการของผู้ป่วยจะมีอาการของต่อมน้ำลายอักเสบ บวม เจ็บ ซึ่งต่อมน้ำลายบริเวณด้านข้างใกล้หู หากบวม จะมีลักษณะที่เห็นแก้มบวม ต่อมน้ำลายใต้ลิ้นบวม จะเห็นลักษณะของคางบวม ทำให้ดูลักษณะผู้ป่วยจะมีอาการบวมบริเวณแก้มและใต้คาง จึงมีชื่อว่า ?คางทูม? อาการผู้ป่วยที่เป็นคางทูมมักไม่รุนแรง หากมีการติดเชื้อในระหว่างการตั้งครรภ์ในไตรมาสแรก จะมีความเสี่ยงในการเกิดการแท้งของทารกเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ยังพบว่ามารดาที่ติดเชื้อคางทูมระหว่างการตั้งครรภ์ยังมีความเสี่ยงในการเกิดการคลอดก่อนกำหนดด้วย ไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคคางทูมสามารถผ่านรกและทำให้เกิดการติดเชื้อในทารกได้ ขณะเดียวกันภูมิคุ้มกันที่มารดาสร้างขึ้นก็สามารถผ่านรกได้เช่นกัน อาการของการติดเชื้อคางทูมไม่รุนแรง ระยะของการแพร่เชื้อจะเป็นช่วงก่อนการบวมอักเสบของต่อมน้ำลาย 7 วันและหลังจากการบวมแล้วราว 7-9 วัน หากในระหว่างการคลอด เมื่อมารดาคลอดทารกมาแล้วมีอาการคางทูม ทารกจะอยู่ในช่วงที่สัมผัสกับโรคไปแล้ว จึงไม่มีประโยชน์ในการแยกมารดาและทารก การให้นมแม่สามารถให้ได้ เนื่องจากไม่พบความเสี่ยงของการติดเชื้อคางทูมเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับให้ทารกกินนมผงดัดแปลงสำหรับทารก แม้ว่าจะมีรายงานการพบเชื้อคางทูมในนมแม่ ประโยชน์อีกอย่างหนึ่งในการที่ลูกได้กินนมแม่ ลูกจะได้รับภูมิคุ้มกันต่อโรคที่แม่สร้างผ่านนมแม่ไปด้วย1 ?เช่นเดียวกัน วัคซีนป้องกันโรคคางทูมเป็นวัคซีนมาตรฐานที่ให้แก่เด็กทุกคนในปัจจุบัน ซึ่งมารดาควรดูแลให้ทารกได้รับวัคซีนตามมาตรฐานอย่างครบถ้วน เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการติดเชื้อเมื่อเติบโตเข้าสู่วัยผู้ใหญ่

เอกสารอ้างอิง

  1. ภาวิน พัวพรพงษ์. รอบรู้เรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่. นครนายก: ซี.ที. ดอทคอม; 2558.

โรคหัดกับนมแม่

img_2191

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? โรคหัดเป็นไข้ออกผื่นที่เกิดจากเชื้อไวรัส อาการของผู้ป่วยจะมีอาการไข้ อ่อนเพลีย ตาแดง ไอ มีจุดขาวขอบแดงในช่องปาก (Koplik?s spot) โดยทั่วไปอาการมักไม่รุนแรง แต่หากมีติดเชื้อในทารกแรกเกิดหรือผู้ใหญ่จะมีอาการรุนแรงและมีภาวะแทรกซ้อนได้ สำหรับการติดเชื้อในทารกแรกเกิด หากเกิดจากการติดเชื้อของมารดาในระยะที่คลอดหรือหลังคลอดใหม่ ทารกจะมีความเสี่ยงในการติดเชื้อสูงและมีความรุนแรง เนื่องจากทารกมีภูมิคุ้มกันต่ำ จำเป็นต้องมีการให้ภูมิคุ้มกัน (immunoglobulin) และวัคซีนแก่ทารก เพื่อป้องกันหรือลดความรุนแรงจากอาการของโรค การให้นมลูก จากการศึกษาไม่พบเชื้อในน้ำนมแม่ ดังนั้น การให้นมจากมารดาที่เป็นหัด สามารถให้ได้ แต่หากทารกยังไม่มีอาการ ควรให้ภูมิคุ้มกันและวัคซีนแก่ทารกด้วย โดยในช่วงระยะที่มีไข้ออกผื่น ควรแยกทารกชั่วคราวจนกระทั่งพ้นระยะเสี่ยงต่อการติดเชื้อไปแล้ว จึงสามารถดูดนมจากเต้าได้ การบีบน้ำนมเก็บให้ทารกระหว่างนี้ สามารถทำได้ เพราะจะมีภูมิคุ้มกันที่ช่วยต่อต้านการติดเชื้อ (Immunoglobulin A) ในระยะ 2 วันหลังจากมารดามีผื่นขึ้น ในกรณีที่ทารกมีอาการของการติดเชื้อแล้ว ให้ภูมิคุ้มกันและวัคซีนแก่ทารกเช่นเดียวกัน เพื่อลดความรุนแรงของโรค และการให้นมแม่สามารถทำได้1 ?

? ? ? ? อย่างไรก็ตาม อย่าลืมที่จะเอาใจใส่ในการป้องกันการติดเชื้อของบุคลากรผู้ดูแลมารดาและทารกด้วย สำหรับวัคซีนป้องกันโรคหัดเป็นวัคซีนมาตรฐานที่ให้แก่เด็กทุกคนในปัจจุบัน ซึ่งมารดาควรดูแลให้ทารกได้รับวัคซีนตามมาตรฐานอย่างครบถ้วน เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการติดเชื้อเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่

เอกสารอ้างอิง

  1. ภาวิน พัวพรพงษ์. รอบรู้เรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่. นครนายก: ซี.ที. ดอทคอม; 2558.

โรคหูดหงอนไก่กับนมแม่

img_2100

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? โรคหูดหงอนไก่เกิดจากเชื้อไวรัส Human papilloma virus หรือ HPV ซึ่งมักจะเกิดหูดบริเวณอวัยวะเพศหรือในช่องปาก หากติดเชื้อในระหว่างการคลอดจะมีโอกาสที่จะติดเชื้อไปยังทารก โดยการติดเชื้อหากติดเชื้อในบริเวณกล่องเสียงของทารก อาจอุดตัน ทำให้หายใจลำบาก และเกิดอันตรายรุนแรงได้ การใส่ใจดูแลตรวจหาร่องรอยของโรคก่อนการคลอดมีความจำเป็นเพื่อการวางแผนการคลอดที่เหมาะสม ในระยะหลังคลอดนั้น การติดเชื้อบริเวณเต้านมหรือหัวนมพบน้อยเช่นเดียวกับการพบเชื้อในน้ำนม จากข้อมูลที่ผ่านมา ไม่มีรายงานและไม่พบว่ามีความเสี่ยงของทารกเพิ่มขึ้นจากการให้ทารกกินนมแม่ จึงยังคงแนะนำให้สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ในมารดาที่เป็นหูดหงอนไก่ รวมทั้งสามารถบีบเก็บน้ำนมให้ทารกได้เช่นเดียวกับมารดาทั่วไป1 อย่างไรก็ตาม? ในปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกซึ่งมีชนิดที่ป้องกันการติดเชื้อหูดหงอนไก่ได้ ดังนั้น ในสตรียุคใหม่ในอนาคต หากสามารถฉีดวัคซีนป้องกันได้ตั้งแต่อายุ 9 ปีหรือก่อนการมีเพศสัมพันธ์ ประสิทธิภาพในการป้องกันจะสูง

เอกสารอ้างอิง

  1. ภาวิน พัวพรพงษ์. รอบรู้เรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่. นครนายก: ซี.ที. ดอทคอม; 2558.

กลยุทธ์การส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

สามารถดาวน์โหลดสไลด์ได้โดยคลิกที่?breastfeeding-promotion-strategy