คลังเก็บหมวดหมู่: ทารกแรกเกิด

ทารกแรกเกิด

การใช้ยา monoclonal antibody ในระหว่างการตั้งครรภ์และให้นมบุตร

IMG_5808

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? Monoclonal antibody ปัจจุบันเป็นยากลุ่มหนึ่งที่ใช้ในการรักษาโรคเรื้อรังหลายโรค ได้แก่ โรคปวดข้อจากรูมาตอยด์ และโรค irritable bowel syndrome ซึ่ง monoclonal antibody เป็นยาที่สร้างในลักษณะของเสมือนสารที่เป็นภูมิคุ้มกันของร่างกาย โดยจะคล้ายกับ Ig G มีการศึกษาการใช้ monoclonal antibody ในระหว่างการตั้งครรภ์ พบว่า monoclonal antibody สามารถผ่านรกไปยังทารกในระหว่างการตั้งครรภ์เริ่มในไตรมาสที่สองและเพิ่มขึ้นในไตรมาสที่สาม หากมีการคลอดของทารกก่อนกำหนด ยา monoclonal antibody จะอยู่ในทารกเป็นเวลานาน เนื่องจากร่างกายทารกจะกำจัดยาได้น้อย1 ดังนั้น จึงมีความเสี่ยงในการเกิดอันตราย ส่วนใหญ่จึงแนะนำให้เลี่ยงการใช้ยากลุ่มนี้หรือหยุดใช้ในช่วงไตรมาสที่สองต่อไตรมาสที่สาม ซึ่งมีรายงานว่าแม้จะหยุดยากลุ่มนี้ในช่วงเวลาดังกล่าวก็ไม่ได้มีผลเพิ่มการกำเริบของโรคที่เป็นอยู่

? ? ? ? ? ? สำหรับการใช้ยากลุ่มนี้ในระหว่างให้นมบุตรค่อนข้างปลอดภัย เนื่องจากยาผ่านน้ำนมน้อย และการผ่านน้ำนมจะเข้าสู่ทางเดินอาหารที่ไม่ได้เป็นบริเวณที่ยาจะออกฤทธิ์ ดังนั้นจึงแนะนำว่าสามารถใช้ยา monoclonal antibody ในช่วงให้นมบุตรได้ โดยยังไม่พบว่ามีรายงานการเกิดผลเสียใด ๆ ในระหว่างการใช้ยา

เอกสารอ้างอิง

  1. Anderson PO. The Pregnancy-Breastfeeding Interface. Breastfeed Med 2017;12:2-4.

การให้ลูกกินนมบ่อยช่วยลดอาการตัวเหลือง

IMG_1226

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? อาการตัวเหลืองที่พบในทารกแรกมีสาเหตุได้จากหลายสาเหตุ ได้แก่ การที่หมู่เลือดของแม่ไม่เข้ากับลูก ภาวะขาดเอนไซม์ G6PD ภาวะติดเชื้อ และที่พบได้บ่อยคือ การที่ทารกกินนมแม่ไม่เพียงพอ ซึ่งในสาเหตุที่ทารกกินนมแม่ไม่เพียงพอนั้น หากมารดาได้รับการกระตุ้นให้ลูกดูดนมตั้งแต่ในระยะแรกภายในหนึ่งชั่วโมงหลังคลอดจะช่วยให้น้ำนมมาเร็ว การให้นมแม่บ่อย ๆ วันละ 8-12 ครั้ง จะป้องกันการเกิดภาวะน้ำหนักลดลงมากในทารกแรกเกิด ช่วยให้ทารกขับถ่ายได้ดี ซึ่งการขับถ่ายบ่อย ๆ จะช่วยลดสารที่ทำให้เกิดอาการเหลืองในทารกได้1 ดังนั้น การวางแผนการให้นมลูกหลังคลอด ควรดูแลให้มีการเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เร็ว ให้นมลูกบ่อยและมีการติดตามตรวจน้ำหนักทารกเป็นระยะ ๆ จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดทารกแรกเกิดตัวเหลืองได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Boskabadi H, Zakerihamidi M. The correlation between Frequency and Duration of Breastfeeding and the Severity of Neonatal Hyperbilirubinemia. J Matern Fetal Neonatal Med 2017:1-14.

 

การเจ็บหัวนมจากน้ำนมมามาก

IMG_1180

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? การที่น้ำนมมามาก จะมีการขังของน้ำนมเต็มในท่อน้ำนมและก่อให้เกิดการเจ็บหัวนมและเต้านมได้ มารดาอาจรู้สึกตึงคัดที่เต้านมมาก หากคลำที่เต้านมจะพบว่ามีการตึง อุ่นหรือร้อนที่เต้านม หัวนมจะสั้นลง ลานนมจะแน่นและตึงแข็งไปด้วยการขังของน้ำนม เมื่อเป็นเช่นนี้ ทารกจะดูดนมได้ลำบาก เนื่องจากการอมหัวนมและลานนมอาจทำได้ไม่ลึกพอ ทารกจึงออกแรงกดหรือดูดที่หัวนมซึ่งทำให้มารดาเจ็บหัวนม หรืออาจจะเกิดจากการที่น้ำนมมีมาก ไหลเร็ว ทารกต้องควบคุมการไหลที่เร็วเกินไปของน้ำนมโดยการออกแรงขบหรือกัดหัวนม ทำให้มารดาเจ็บหัวนมได้เช่นกัน การจะลดการเจ็บหัวนมอาจทำได้โดยการบีบน้ำนมออกด้วยมือก่อนการให้นมลูก ซึ่งจะทำให้น้ำนมไม่ไหลแรงจนเกินไป ลานนมนิ่มขึ้นและช่วยให้ทารกสามารถอมหัวนมและลานนมได้ลึกขึ้น บุคลากรทางการแพทย์จึงควรมีการประเมินหัวนม เต้านม และปริมาณน้ำนมก่อนการให้ทารกกินนมเสมอ เพื่อการเลือกปฏิบัติและดูแลการให้นมให้มีความเหมาะสม ทารกอมหัวนมและลานนมได้ดี และมีท่าในการกินนมแม่ที่ดี

เอกสารอ้างอิง

  1. Berens P, Eglash A, Malloy M, Steube AM. ABM Clinical Protocol #26: Persistent Pain with Breastfeeding. Breastfeed Med 2016;11:46-53.

การเจ็บหัวนมจากท่อน้ำนมอุดตัน

IMG_1170?รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? ? ?การที่ท่อน้ำนมอุดตัน จะมีการขังของน้ำนมในท่อน้ำนมและก่อให้เกิดการเจ็บหัวนมและเต้านมได้ การขังของน้ำนม อาจคลำได้เป็นก้อนหรือเป็นลำตามท่อน้ำนม ซึ่งหากมีการติดเชื้อร่วมด้วย จะทำให้เกิดเต้านมอักเสบ รวมทั้งอาจเกิดฝีที่เต้านม ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ ท่อน้ำนมอุดตันมักจะเกิดจากการระบายน้ำนมที่ไม่ดี โดยทั่วไปการให้ทารกดูดนมจะสามารถระบายน้ำนมจากเต้าได้ดีกว่าการบีบน้ำนมหรือการปั๊มนม ดังนั้น การป้องกันการเจ็บหัวนมจากท่อน้ำนมอุดตัน หลักที่สำคัญ คือ การให้ทารกดูดนมจากเต้าเพื่อระบายน้ำนมให้บ่อยและระบายน้ำนมจากท่อน้ำนมของเต้านมให้ทั่วถึง ซึ่งอาจจะทำได้โดยให้ทารกดูดนมในท่าที่แตกต่างกัน จะกระตุ้นดูดน้ำนมในท่อน้ำนมที่ต่างกัน ร่วมกับการบีบนวดเต้านมในแต่ละฝั่งของเต้านมให้ทั่วถึง ขณะให้ลูกดูดนม เพื่อระบายน้ำนมจากท่อน้ำนมให้ทั่วทั้งเต้า สิ่งนี้จะลดภาวะแทรกซ้อนที่เกิดตามมาได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Berens P, Eglash A, Malloy M, Steube AM. ABM Clinical Protocol #26: Persistent Pain with Breastfeeding. Breastfeed Med 2016;11:46-53.

การเจ็บหัวนมจากหัวนมไวต่อการกระตุ้น

IMG_1096

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? การที่หัวนมเจ็บจากการที่รับความรู้สึกไวต่อการกระตุ้นเพียงแผ่วเบา (allodynia) ซึ่งจะไม่รู้สึกเจ็บปวดในคนทั่วไปนั้น อาจเกิดขึ้นเองโดยไม่ทราบสาเหตุ หรือเกิดร่วมกับโรคบางอย่าง ได้แก่ irritable bowel syndrome, fibromyalgia ไมเกรน และอาการเจ็บเวลามีเพศสัมพันธ์ หรืออาจเกิดร่วมกับโรคทางด้านจิตใจ ได้แก่ โรควิตกกังวล หรือโรคซึมเศร้า ดังนั้น หากเกิดขึ้นในระหว่างการให้นมลูก บุคลากรทางการแพทย์จำเป็นต้องซักประวัติของอาการ โรคประจำตัว และสังเกตถึงภาวะจิตใจของมารดาในระหว่างนั้นด้วย ซึ่งการลดหรือรักษาสาเหตุที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งบางครั้งอาจต้องใช้การรักษาทางด้านจิตวิทยา มีรายงานว่า ช่วยรักษาอาการได้ในผู้ที่มีอาการเจ็บหัวนมจากสาเหตุนี้เรื้อรัง

เอกสารอ้างอิง

  1. Berens P, Eglash A, Malloy M, Steube AM. ABM Clinical Protocol #26: Persistent Pain with Breastfeeding. Breastfeed Med 2016;11:46-53.