คลังเก็บหมวดหมู่: ทารกแรกเกิด

ทารกแรกเกิด

การเจ็บหัวนมจากหัวนมขาดเลือด

IMG_1084

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? สาเหตุของการเกิดการเจ็บหัวนมจากหัวนมขาดเลือด ฟังจากอาการแล้ว อาจไม่เข้าใจหรือมีสงสัยว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร การเจ็บหัวนมจากหัวนมขาดเลือดเกิดจากการหดรัดตัวของเส้นเลือดที่หัวนม (vasospasm) ซึ่งทำให้เกิดการขาดเลือดชั่วคราว ทำให้สีของหัวนมซีดจากการขาดเลือดไปเลี้ยง การตอบสนองของระบบประสาทจะทำให้เกิดอาการปวดจี๊ด หรือปวดแปลบขึ้นทันทีที่หัวนม มารดาบางคนอาจมีประวัติการตอบสนองไวต่ออาการเย็น เช่น มือเท้าเย็นต้องใส่ถุงเท้านอน หรือปวดเจ็บที่หัวนมหลังจากอาบน้ำเมื่อหัวนมเปียกชื้น อาการเหล่านี้สามารถพบร่วมกับมารดาที่มีโรคประจำตัวเป็น connective tissue disease ซึ่งจะพบอาการของ Raynaud?s phenomenon ที่เป็นอาการของเส้นเลือดหดรัดตัวและทำให้เกิดอาการปวดจากการขาดเลือดได้ โดยทั่วไป การป้องกันทำได้โดยพยายามหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับอากาศเย็นที่หัวนม โดยสวมเสื้อผ้าที่อุ่น เช็ดตัวและหัวนมให้แห้งหลังอาบน้ำหรือให้นมลูก และหากมีโรคประจำตัวที่เกี่ยวข้อง ควรรักษาโรคประจำตัวให้อาการอยู่ในระยะที่ควบคุมได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Berens P, Eglash A, Malloy M, Steube AM. ABM Clinical Protocol #26: Persistent Pain with Breastfeeding. Breastfeed Med 2016;11:46-53.

การติดเชื้อไวรัสที่หัวนมในระหว่างการให้นมลูก

IMG_1078

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? การติดเชื้อไวรัสที่หัวนม อาจเป็นสาเหตุของการเจ็บหัวนมของมารดาที่พบระหว่างให้นมลูกได้ โดยการติดเชื้อที่พบคือ Herpes Simplex หรือในภาษาไทยเรียกว่า ?เริม? และ Herpes Zoster หรือในภาษาไทยมักใช้คำที่เรียกที่คุ้นเคยว่า ?งูสวัด? ทั้งสองชนิดนี้เกิดจากเชื้อในกลุ่มเดียวกันที่เมื่อเกิดการติดเชื้อไปแล้ว หลังจากอาการหาย เชื้อจะสามารถหลบซ่อนอยู่ที่ปลายประสาท เมื่อมารดาอ่อนแอหรือภูมิคุ้มกันลดลง เชื้อนี้จะก่อให้เกิดอาการกลับมาใหม่ โดยจะเป็นตุ่มใส คัน หรือมีการอักเสบแดง ตุ่มน้ำอาจจะแตก มีอาการแสบและปวดร้าวไปตามปลายประสาท เชื้อนี้อาจทำให้เกิดการติดเชื้อในทารกและเกิดอันตรายต่อทารกได้ การติดเชื้อจะติดจากน้ำเหลืองหรือน้ำจากตุ่มใสที่แตกออกมา การหลีกเลี่ยงการให้นมลูกหากบริเวณหัวนมของมารดามีตุ่มหรือมีแผลมีความจำเป็น โดยทารกยังสามารถดูดนมจากเต้านมอีกข้างที่ไม่มีการติดเชื้อได้ และเมื่อแผลแห้ง มารดาสามารถกลับมาให้นมแม่ได้ตามเดิม ส่วนใหญ่อาการของโรคมักหายภายใน10-14 วัน ระหว่างที่หยุดให้ลูกดูดนมในเต้านมข้างที่มีอาการ อาจมีความจำเป็นต้องบีบน้ำนมหรือปั๊มนมออกเพื่อคงการสร้างน้ำนมให้มีอย่างต่อเนื่อง สำหรับการป้องกันการติดเชื้อนี้ สามารถป้องกันโดยการฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้ออีสุกอีใสซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดงูสวัดที่ผิวหนังตามมา สำหรับการป้องกันการติดเชื้อเริม เนื่องจากเริมเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ จึงควรหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์จากหลายคู่นอนที่จะเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อมากขึ้น

เอกสารอ้างอิง

  1. Berens P, Eglash A, Malloy M, Steube AM. ABM Clinical Protocol #26: Persistent Pain with Breastfeeding. Breastfeed Med 2016;11:46-53.

การติดเชื้อราที่หัวนมในระหว่างการให้นมลูก

IMG_1221

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? การติดเชื้อราที่หัวนม อาจเป็นสาเหตุของการเจ็บหัวนมของมารดาที่พบระหว่างให้นมลูกได้ โดยการติดเชื้อที่พบคือ Candida นมแม่ไม่ได้ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา ดังนั้นการตรวจพบเชื้อราในกรณีที่มารดาไม่มีอาการใดๆ อาจไม่บ่งบอกถึงการติดเชื้อรา อย่างไรก็ตาม การเพาะเชื้อราตรวจยังคงใช้ในการวินิจฉัย แม้มีบางรายงานไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างอาการเจ็บหัวนมของมารดากับการเพาะเชื้อที่พบเชื้อรา

? ? ? ? ? ? ?การติดเชื้อราที่หัวนม มีปัจจัยเสี่ยง ดังนี้

  • การที่มารดามีประวัติการติดเชื้อราที่เต้านมมาก่อน
  • ทารกมีฝ้าขาวในปากหรือมีการติดเชื้อราในปาก
  • ประวัติการใช้ยาปฏิชีวนะของมารดาหรือทารกในช่วงระยะเวลาใกล้ๆ กับการเกิดอาการ

? ? ? ? ? ?จากปัจจัยเสี่ยง การป้องกันการติดเชื้อรานั้น ควรหลีกเลี่ยงการยาใช้ปฏิชีวนะที่ไม่เหมาะสม ซึ่งจะไปรบกวนเชื้อแบคทีเรียประจำถิ่นที่อยู่บริเวณผิวหนังที่เต้านมที่จะช่วยป้องกันการติดเชื้อราได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Berens P, Eglash A, Malloy M, Steube AM. ABM Clinical Protocol #26: Persistent Pain with Breastfeeding. Breastfeed Med 2016;11:46-53.

การติดเชื้อแบคทีเรียที่หัวนมในระหว่างการให้นมลูก

IMG_1171

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? การติดเชื้อที่หัวนม อาจเป็นสาเหตุของการเจ็บหัวนมของมารดาที่พบระหว่างให้นมลูกได้ โดยการติดเชื้ออาจเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา หรือเชื้อไวรัส รายละเอียดมีดังนี้

???????????การติดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนังมักได้แก่ Staphylococcus หรือ Streptococcus ซึ่งลักษณะของการติดเชื้อแบคทีเรียอาจเกิดจากการที่มีการบาดเจ็บ เป็นแผล หรือมีผิวหนังอักเสบ ทำให้เชื้อแบคทีเรียรุกล้ำเข้าไป เกิดการอักเสบในชั้นผิวหนัง หรืออักเสบตามท่อน้ำนม มารดาอาจมีอาการปวดร้าวจากหัวนมลึกลงไปที่เต้านม มีอาการแสดงลักษณะการอักเสบของเต้านม บวม แดง หรือคลำได้ก้อนได้ ปัจจัยที่ถือว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อแบคทีเรีย คือ

??????? การที่มีผิวหนังอักเสบ มีการบาดเจ็บที่หัวนมหรือหัวนมแตก

??????? มารดาที่เคยมีประวัติการติดเชื้อที่เต้านมหรือเต้านมอักเสบมาก่อน

??????? ประวัติการใช้ยาปฏิชีวนะหรือยาฆ่าเชื้อราในช่วงระยะเวลาใกล้ๆ กับการเกิดอาการ

???????????? สิ่งที่แสดงให้เห็นจากปัจจัยเสี่ยง คือ การติดเชื้อแบคทีเรียนั้นจากเกิดได้ง่ายขึ้น หากหัวนมของมารดาบาดเจ็บ เป็นผิวหนังอักเสบหรือเป็นแผล ซึ่งมักจะเกิดจากการที่ทารกเข้าเต้าหรือมารดาจัดท่าในการให้นมที่ไม่เหมาะสม ทำให้น้ำนมไหลออกได้ไม่ดี ทารกต้องใช้แรงในการดูดนมเพิ่มขึ้น อาจหงุดหงิด และขบกัดหัวนม ดังนั้น พื้นฐานในการป้องกันการเกิดการติดเชื้อ ต้องเริ่มต้นจากการดูแลให้มารดาจัดท่าให้นมลูกอย่างเหมาะสมนั่นเอง

เอกสารอ้างอิง

1.????? Berens P, Eglash A, Malloy M, Steube AM. ABM Clinical Protocol #26: Persistent Pain with Breastfeeding. Breastfeed Med 2016;11:46-53.

ผิวหนังอักเสบในระหว่างการให้นมลูก

IMG_1075

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ผิวหนังอักเสบบริเวณหัวนมและเต้านม อาจเป็นสาเหตุของการเจ็บหัวนมของมารดาที่พบระหว่างให้นมลูกได้ โดยสาเหตุของการเกิดผิวหนังอักเสบ ได้แก่

  • ภูมิแพ้ (atopic dermatitis) ซึ่งเกิดจากการกระตุ้นจากการเสียดสี หรือการเปลี่ยนแปลงของอากาศ
  • การสัมผัสสารที่ก่อให้เกิดอาการระคายเคือง อาจเป็นจากเสื้อผ้า ชุดชั้นใน ผงซักฟอก น้ำยาปรับผ้านุ่ม ยาที่ทารกรับประทานหรืออาหารอื่นที่ให้แก่ทารก
  • การสัมผัสสารที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ เช่น lanolin หรือวิตามินที่ให้แก่ทารก
  • โรคสะเก็ดเงิน (psoriasis) อาจเกิดขึ้นจากการกระตุ้นของการบาดเจ็บจากการดูดนมของทารก มักพบในช่วง 4-6 สัปดาห์หลังคลอด
  • มะเร็งเต้านม อาการผิวหนังอักเสบ (Paget?s disease) อาจพบได้ หากพบอาการทางผิวหนังที่เป็นผื่นแดง มีน้ำเหลืองไหล มีอาการพุพอง อาจพบร่วมกับการคลำได้ก้อนที่เต้านม มักไม่ตอบสนองต่อการรักษาเกิน 3 สัปดาห์ แนะนำให้มีการตัดชิ้นเนื้อเพื่อตรวจพิสูจน์และให้การวินิจฉัย

เอกสารอ้างอิง

  1. Berens P, Eglash A, Malloy M, Steube AM. ABM Clinical Protocol #26: Persistent Pain with Breastfeeding. Breastfeed Med 2016;11:46-53.