คลังเก็บหมวดหมู่: ทารกแรกเกิด

ทารกแรกเกิด

การใช้นมแม่ช่วยรักษาทารกที่มีน้ำหนักตัวน้อยที่แพ้นมวัว

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? นมผงที่ใช้อยู่ส่วนใหญ่จะผลิตจากนมวัว ซึ่งแม้ส่วนมากทารกจะสามารถกินนมวัวที่ผลิตมาเป็นนมผงเหล่านี้ได้ แต่อย่างไรก็ตาม มีทารกส่วนหนึ่งที่มีอาการแพ้ ที่ไม่สามารถจะรับนมวัวได้ ซึ่งมักจะทำให้เกิดความยุ่งยากในการดูแลรักษาเป็นอย่างมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในทารกที่มีน้ำหนักตัวน้อย เนื่องจากทารกที่มีน้ำหนักตัวน้อยมีความต้องการหรือความจำเป็นที่จะได้รับสารอาหารที่มีความจำเพาะที่จะช่วยในการเจริญเติบโตในทารกที่คลอดออกมาก่อนกำหนด น้ำหนักตัวน้อยและมีความไม่สมบูรณ์ของระบบย่อยและดูดซึมสารอาหาร การเติมสารที่จำเป็นลงไปในน้ำนมที่ใช้เลี้ยงทารกจึงต้องมีการเสริมสารอาหารลงไปอย่างเหมาะสมและตามความต้องการของทารกในแต่ละขนาดของน้ำหนักตัว แต่หากมารดาของทารกที่คลอดก่อนกำหนดและทารกมีน้ำหนักตัวน้อยสามารถกระตุ้นน้ำนม และมีการบีบเก็บน้ำนมให้ทารกได้ น้ำนมของมารดาที่คลอดทารกที่คลอดก่อนกำหนดนั้น จะมีสัดส่วนของสารอาหารที่มีการปรับให้เหมาะสมกับทารกที่คลอดก่อนกำหนดอยู่แล้ว โดยมีความจำเป็นต้องเสริมสารอาหารบางชนิดอยู่บ้าง แต่ก็มีปริมาณน้อยเมื่อเทียบกับการใช้นมผงที่ต้องเสริมสารอาหารที่จะทำให้เกิดความเหมาะสมสำหรับทารกที่คลอดก่อนกำหนด อย่างไรก็ตาม บางกรณีมารดาไม่สามารถกระตุ้นเก็บน้ำนมให้เพียงพอได้ การมีธนาคารนมแม่ที่ได้รับน้ำนมมาจากมารดาที่ผ่านการตรวจคัดกรองมาร่วมบริจาค การที่จะให้นมแม่จากธนาคารนมแม่นี้ แม้ว่าจะไม่ได้เป็นน้ำนมของตัวแม่ที่คลอดเองที่มีความเหมาะสมสำหรับทารกที่สุด แต่นมแม่ที่เป็นนมของมนุษย์เช่นกันก็สามารถใช้ในการดูแลรักษาในทารกที่มีอาการแพ้หรือไม่สามารถรับนมวัวได้1 การพัฒนาหรือสร้างระบบการบริจาคในรูปแบบธนาคารนมแม่จึงควรมี ที่ซึ่งต้องมีการทำความเข้าใจและสื่อสารกับคนในสังคมให้ทราบถึงประโยชน์ในกรณีที่มีความจำเป็นดังตัวอย่างที่กล่าวไปแล้ว

เอกสารอ้างอิง

  1. Sandhu A, Fast S, Bonnar K, Baier RJ, Narvey M. Human-Based Human Milk Fortifier as Rescue Therapy in Very Low Birth Weight Infants Demonstrating Intolerance to Bovine-Based Human Milk Fortifier. Breastfeed Med 2017;12:570-3.

 

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ช่วยลดความเสี่ยงการเกิดเด็กอ้วน

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? แม้ว่าค่านิยมของคนในสังคมจะมองดูว่าชอบ ?ทารกที่อ้วน? แต่ในความเป็นจริงด้านสุขภาพแล้ว ทารกที่อ้วนมีความเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายต่อสุขภาพสูงกว่าทารกปกติตั้งแต่แรกเกิด ทารกที่มารดามีน้ำหนักขึ้นระหว่างตั้งครรภ์มากกว่าปกติจะมีความเสี่ยงที่จะมีทารกตัวโต และทารกตัวโตจะมีความเสี่ยงต่อการคลอดยาก การคลอดทารกที่ติดไหล่ และอัตราการผ่าตัดคลอดที่สูงขึ้น หลังคลอดแล้ว หากทารกยังเลือกกินนมผงดัดแปลงสำหรับทารกก็จะมีความเสี่ยงต่อภาวะอ้วนในวัยเด็กและเสี่ยงต่อเบาหวานและโรคทางเมตาบอลิกเมื่อทารกเจริญเติบโตขึ้น เมื่อทราบข้อมูลดังนี้แล้ว ทางที่จะบรรเทาความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะอ้วนจากการที่มารดาน้ำหนักขึ้นมากกว่าปกติระหว่างการตั้งครรภ์คือ ?การให้ลูกได้กินนมแม่? ซึ่งจะสามารถลดหรือป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะอ้วนได้1 และควรมีการเปลี่ยนทัศนคติในเรื่องที่ ?ทารกอ้วนน่ารักและอยากให้ลูกอ้วน? ควรเปลี่ยนไปเป็นอยากให้ ?ทารกหรือลูกรูปร่างพอเหมาะและมีสุขภาพดี? มากกว่าที่จะอ้วนและเสี่ยงต่อโรคร้ายต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

เอกสารอ้างอิง

  1. Liu JX, Xu X, Liu JH, Hardin JW, Li R. Association of maternal gestational weight gain with their offspring’s anthropometric outcomes at late infancy and 6 years old: mediating roles of birth weight and breastfeeding duration. Int J Obes (Lond) 2018;42:8-14.

การสื่อสารที่เข้าถึงมารดาช่วยสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? ปัจจุบันการสื่อสารอยู่ในยุคไร้พรมแดน แต่การนำเทคโนโลยีการสื่อสารมาประยุกต์เพื่อการใช้ประโยชน์ยังมีจำกัด แม้ว่าจะเริ่มมีการนำมาใช้บ้างในทางการดูแลสุขภาพและสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ตัวอย่างของการนำมาใช้ประโยชน์ เช่น การสร้างกลุ่มให้คำปรึกษาเรื่องนมแม่ผ่าน line group การสร้างเว็บเพจ หรือเว็บไซด์ที่เผยแพร่ความรู้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การเผยแพร่วิดีโอสอนการเข้าเต้า การสื่อสารด้วยข้อความโต้ตอบระหว่างมารดากับผู้ที่ให้คำปรึกษา1 รูปแบบที่หลากหลายจะเกิดประโยชน์ก็ต่อเมื่อ มีความพอเหมาะ ถูกจริต และมารดาสามารถเข้าถึงได้ด้วยความสะดวกและสบายใจ ดังนั้น สื่อที่จะช่วยสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ควรมีการผลิตให้มีความหลากหลายเพื่อรองรับการเข้าถึงของมารดาในแต่ละกลุ่มอาชีพ แต่ละกลุ่มการศึกษา และแต่ละกลุ่มความชอบของใช้ เพื่อประโยชน์ที่ได้จากการนำมาประยุกต์ใช้จะมีสูงสุด

เอกสารอ้างอิง

  1. Martinez-Brockman JL, Harari N, Segura-Perez S, Goeschel L, Bozzi V, Perez-Escamilla R. Impact of the Lactation Advice Through Texting Can Help (LATCH) Trial on Time to First Contact and Exclusive Breastfeeding among WIC Participants. J Nutr Educ Behav 2018;50:33-42 e1.

ระบบพี่เลี้ยงนมแม่ช่วยการเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สูงขึ้น

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? ตัวชี้วัดที่สำคัญในการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่ควรมีการเก็บรวบรวมและนำมาเปรียบเทียบวิเคราะห์ผลได้แก่ การเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ภายในหนึ่งชั่วโมงแรกหลังคลอด ตัวชี้วัดนี้ส่วนหนึ่งสะท้อนถึงความตั้งใจของมารดาในการที่จะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และอีกส่วนสะท้อนถึงการดูแลและเอาใจใส่ในการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของโรงพยาบาลที่มารดาให้การคลอดบุตรและเลือกไว้ว่าน่าจะเป็นโรงพยาบาลที่สนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ มีการศึกษาถึงระบบการให้คำปรึกษาที่มีพี่เลี้ยงนมแม่ (peer counselling) ในเรื่องการช่วยการเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่พบว่า การมีพี่เลี้ยงนมแม่ที่คอยช่วยให้คำปรึกษามารดาและครอบครัวจะช่วยให้อัตราการเริ่มการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สูงขึ้นร้อยละ 66 นอกจากนี้ระบบพี่เลี้ยงนมแม่ยังช่วยป้องกันการหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ก่อนหนึ่งปีได้ถึงร้อยละ 551 ดังนั้น การจัดรูปแบบพี่เลี้ยงนมแม่จะช่วยในการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หากโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลมีความพร้อมและสามารถจัดระบบพี่เลี้ยงนมแม่ได้

เอกสารอ้างอิง

  1. McCoy MB, Geppert J, Dech L, Richardson M. Associations Between Peer Counseling and Breastfeeding Initiation and Duration: An Analysis of Minnesota Participants in the Special Supplemental Nutrition Program for Women, Infants, and Children (WIC). Matern Child Health J 2018;22:71-81.

ความเข้าใจว่าน้ำนมแม่ไม่เพียงพอยังคงเป็นปัญหาใหญ่ในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? ในมารดาที่มีความสนใจและตั้งใจที่จะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นั้น ความวิตกกังวลที่ทำให้มารดาไม่สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวหกเดือนส่วนใหญ่มักเกิดจากความเข้าใจว่านมแม่มีไม่เพียงพอ1 ซึ่งส่วนใหญ่ที่เข้าใจว่าน้ำนมของตนเองไม่เพียงพอเป็นความเข้าใจที่ผิด อาจเป็นจากการที่มารดาปั๊มนมด้วยเครื่องปั๊มนมได้น้อย หรือ ทารกที่กินนมแม่ในช่วงใดช่วงหนึ่ง หากทารกร้องกวนบ่อย ๆ มารดาอาจคิดไปก่อนว่าน้ำนมตนเองไม่เพียงพอ และให้นมผงดัดแปลงสำหรับทารกเพิ่มเติมไปทั้ง ๆ ที่ไม่มีความจำเป็น ดังนั้น การที่มารดาพอจะประเมินว่าทารกได้นมเพียงพอได้ด้วยตนเอง หรือการที่บุคลากรทางการแพทย์สามารถบ่งบอกถึงความเพียงพอของน้ำนมและอธิบายให้มารดาเข้าใจและมั่นใจ จึงเป็นสิ่งที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ และอาจช่วยป้องกันการหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวก่อนระยะเวลาหกเดือนได้

??????????? สำหรับการสังเกตว่าน้ำนมมารดาเพียงพอเบื้องต้น อาจทำได้โดย การสังเกตว่า หากทารกดูดนมจากเต้านมด้านหนึ่ง จะมีน้ำนมจากเต้านมอีกข้างไหล หรือหากบีบน้ำนมด้วยมือแล้วน้ำนมไหลได้ดีหรือพุ่ง หรือจะดูจากทารกปัสสาวะราว 6 ครั้งต่อวันสีเหลืองใสไม่เข้ม และอุจจาระราว 2 ครั้งต่อวัน หรืออาจสังเกตจากหลังจากทารกดูดนมไปแล้วหลับไปนานพอควรคือ 2-3 ชั่วโมง (แต่อย่างไรก็ตาม ทารกอาจมีการร้องกินนมตลอดหรือบ่อยกว่าปกติได้ในช่วงที่ทารกมีการยืดตัว ซึ่งจะเกิดเมื่อทารกอายุใกล้ครบหนึ่งเดือน สองเดือนหรือสามเดือน และการที่ทารกร้องกวนบ่อย ก่อนอื่นต้องตรวจสอบว่าทารกมีอาการใดที่ผิดปกติหรือไม่สบายตัวจากสาเหตุใด ๆ ก่อนหรือไม่ ก่อนที่จะสรุปว่าทารกหิวนมหรือกินนมไม่พอ) นอกจากนี้ การประเมินว่าทารกน้ำหนักขึ้นตามเกณฑ์ก็เป็นสิ่งที่บ่งบอกว่าการกินนมของทารกเพียงพอ โดยดูเทียบกับกราฟติดตามการเจริญเติบโตของทารก

เอกสารอ้างอิง

  1. Nguyen PTK, Tran HT, Thai TTT, Foster K, Roberts CL, Marais BJ. Factors associated with breastfeeding intent among mothers of newborn babies in Da Nang, Viet Nam. Int Breastfeed J 2018;13:2.