คลังเก็บหมวดหมู่: คำถามที่พบบ่อย

คำถามที่พบบ่อย

คลอดเองกับผ่าตัดคลอดอย่างไหนดีกว่ากัน?

obgyn3

ช่องคลอดเป็นช่องทางที่ธรรมชาติสร้างไว้สำหรับการคลอด ดังนั้นหากสามารถคลอดได้ปกติทางช่องคลอด คุณแม่จะฟื้นตัวเร็ว เพราะหากจำเป็นต้องตัดฝีเย็บก็จะมีแผลเพียงเล็กน้อย สำหรับการผ่าตัดคลอดพัฒนาขึ้นเพื่อช่วยสำหรับผู้ที่คลอดเองทางช่องคลอดไม่ได้ แผลผ่าตัดโดยปกติจะยาวประมาณ 10 เซนติเมตร ซึ่งยาวกว่า ทำให้เสียเลือดมากกว่าและฟื้นตัวช้ากว่า

เขียนโดย รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

ขอเลือกเกิดวันดีดี ได้ไหมค่ะ?

obgyn

การกำหนดวันคลอดโดยการคำนวณตามที่ได้กล่าวมาแล้ว การเจ็บครรภ์คลอดสามารถจะเกิดขึ้นเองได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 37 สัปดาห์ในครรภ์ปกติ โดยการเปลี่ยนแปลงของปากมดลูกจะค่อยๆ เปลี่ยนแปลงจนถึงระยะที่พร้อมที่เกิดการคลอด การเลือกวันเกิดหรือการกระตุ้นให้คลอด หากไม่สามารถประเมินได้อย่างเหมาะสม โดยทั้งทารกและการเปลี่ยนแปลงของปากมดลูกยังไม่พร้อมจะเพิ่มโอกาสเกิดอันตรายต่อทารกและเพิ่มความเสี่ยงจากการผ่าตัดคลอดได้ ดังนั้นแนะนำว่าควรยึดหลักความปลอดภัยของมารดาและทารกไว้ก่อน ไม่ควรเลือกวันในการคลอดหากไม่มีเหตุผลอันสมควร

เขียนโดย รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

กลัวเจ็บครรภ์คลอด ขอผ่าตัดคลอดได้ไหม?

obgyn

 

? ? ? ? ? ?การคลอดเป็นกลไกของธรรมชาติ การเจ็บครรภ์จะกระตุ้นให้เกิดแรงเบ่งคลอดในช่วงเวลาที่เหมาะสม ในการดูแลการคลอดมีการให้ยาลดความปวด เพื่อลดอาการปวดลงโดยเป็นยากลุ่มมอร์ฟีน หลังฉีดยาผู้รอคลอดจะยังมีอาการปวดอยู่แต่ลดลง นอกจากนี้ในผู้รอคลอดบางรายมีการเลือกใช้ยาระงับความรู้สึกโดยฉีดยาเข้าช่องเหนือน้ำไขสันหลัง เพื่อระงับความรู้สึกวิธีนี้ผู้รอคลอดจะไม่ปวด แต่มักจะเบ่งคลอดไม่ได้ดี มักต้องใช้คีมหรือเครื่องดูดสุญญากาศช่วยคลอดมากขึ้น การขอผ่าตัดคลอดจากเหตุผลกลัวการเจ็บครรภ์คลอดนั้น คุณแม่จะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นโดยไม่จำเป็นจากการผ่าตัดคลอด

 

เขียนโดย รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

 

 

ครอบครัวต้องการหลานชาย คุณหมอช่วยหน่อย?

? ? ? ? ? การเลือกเพศบุตรนั้น ปัจจุบัน กระทำได้เฉพาะในรายที่ทำเด็กหลอดแก้วแล้วตรวจสอบเพศทารกก่อนการใส่ตัวอ่อนเท่านั้น ดังนั้น วิธีต่างๆ ที่มีการแนะนำให้ใช้เพื่อให้ได้ทารกเพศชาย เช่น การมีเพศสัมพันธ์ในวันไข่ตก การปรับสภาพความเป็นกรดด่างในช่องคลอด การทำให้ภรรยาถึงจุดสุดยอดนั้น ยังไม่มีข้อมูลหรือหลักฐานยืนยันแน่ชัด จึงไม่ควรหลงเชื่อ และควรช่วยกันแก้ไขเรื่องความเชื่อค่านิยมเรื่องการต้องการบุตรเพศชายช่วยสืบทอดวงศ์ตระกูลเพราะสิทธิสตรีปัจจุบันเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงโดยสังคมมีความใส่ใจและตระหนักมากขึ้น

บทความโดย รศ.นายแพทย์ภาวิน พัวพรพงษ์

อยากมีบุตรแฝด จะทำอย่างไรดี?

? ? ? ? ? ?ต้องบอกกล่าวไว้ก่อนว่า การเกิดครรภ์แฝดเป็นการตั้งครรภ์ที่ผิดปกติและถือเป็นภาวะแทรกซ้อนอย่างหนึ่ง การเกิดครรภ์แฝดนั้นทารกจะเจริญอยู่ในพื้นที่จำกัดและต้องแบ่งอาหารกันในครรภ์มารดา ดังนั้นในการแพทย์ถือว่า การมีครรภ์เดี่ยวทารกจะมีความสมบูรณ์มากกว่า จึงไม่ส่งเสริมให้มีครรภ์แฝด อย่างไรก็ตาม ครรภ์แฝดอาจเกิดขึ้นเองจากการแบ่งตัวของตัวอ่อนในระยะแรกๆ ซึ่งพบราว 1 ใน 250 ของการตั้งครรภ์หรืออาจเกิดจากการตกไข่หลายใบในรอบเดือนนั้นซึ่งในผู้ที่มีญาติใกล้ชิดมีประวัติครรภ์แฝดชนิดนี้จะมีโอกาสตั้งครรภ์แฝดสูงขึ้น นอกจากนี้การพบครรภ์แฝด อาจพบในการกระตุ้นการตกไข่ในผู้ที่มีบุตรยาก ก็ทำให้เกิดครรภ์แฝดในคนกลุ่มนี้ได้สูงขึ้นเช่นกัน

บทความโดย รศ.นายแพทย์ภาวิน พัวพรพงษ์