คลังเก็บหมวดหมู่: คำถามที่พบบ่อย

คำถามที่พบบ่อย

ปัจจัยเสี่ยงของมารดาในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ตอนที่ 1

IMG_1012รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

การที่บุคลากรทางการแพทย์จะให้คำปรึกษาหรือดูแลมารดาในการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ควรมีความเข้าใจและมีความรู้ในเรื่องปัจจัยเสี่ยงของมารดาที่จะส่งผลต่อการให้นมลูก เพื่อการเลือกการให้คำปรึกษา ดูแล และติดตามมารดาและทารกอย่างเหมาะสม รายละเอียดของปัจจัยเสี่ยงของมารดา มีดังนี้
????? ปัจจัยเสี่ยงจากประวัติ
???????? ? ความตั้งใจที่จะเลี้ยงลูกด้วยนมผงดัดแปลงสำหรับทารกแรกเกิด
???????? ? ประวัติปัญหาในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในครรภ์ก่อนหรือประวัติการกินนมแม่แล้วทารกเจริญเติบโตช้า
???????? ? ประวัติการมีบุตรยากที่สัมพันธ์กับฮอร์โมน
???????? ? ประวัติโรคประจำตัวที่มีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ได้แก่ ภาวะไทรอยด์ต่ำหรือเบาหวานที่ไม่ได้รับการรักษา เป็นต้น
???????? ? อายุมารดา มารดาวัยรุ่นและมารดาที่มีอายุมากจะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น
???????? ? มารดาที่มีภาวะซึมเศร้า
???????? ? มารดาที่มีภาวะแทรกซ้อนระหว่างการตั้งครรภ์และการคลอด ได้แก่ ความดันโลหิตสูงระหว่างการตั้งครรภ์ การตกเลือดก่อนและหลังคลอด หรือมารดาที่มีภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อ
???????? ? มารดาที่มีความตั้งใจจะเริ่มยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวมเร็ว ก่อนที่น้ำนมจะมาดี

เอกสารอ้างอิง
1. The American of Obstetricians and Gynecologist, American Academy of Pediatrics. Breastfeeding handbook for physician. 2nd edition. 2014.

การให้คำปรึกษาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่คลินิกฝากครรภ์

IMG_9372

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? การให้คำปรึกษามารดาและครอบครัวในเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่คลินิกฝากครรภ์เป็นบทบาทของสูติแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ ซึ่งในการให้คำปรึกษา จำเป็นต้องมีการเตรียมตัวและทราบหลักการที่สำคัญในการให้คำปรึกษา โดยมีรายละเอียดดังนี้

??????????????? ก่อนการให้คำปรึกษา บุคลากรทางการแพทย์ควรมีการทบทวน รวบรวมข้อมูล ความรู้ ข้อแนะนำและแนวทางการปฏิบัติต่างๆ เกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้มีความทันสมัยและอ้างอิงจากหลักฐานเชิงประจักษ์

  • เริ่มพูดคุยกับมารดาและครอบครัวเกี่ยวกับความคิดในเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
  • รับทราบในสิ่งที่มารดาและครอบครัววิตกกังวล
  • ให้ข้อมูลที่ถูกต้องในเรื่องที่มารดาและครอบครัววิตกกังวล
  • พูดว่าทีมแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ทุกท่านให้การสนับสนุนเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
  • ทบทวนโดยให้ความรู้มารดาและครอบครัวถึงประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
  • ชี้แจงให้มารดาเห็นความสำคัญของการดูแลและการจัดการที่ส่งผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
  • แจ้งให้มารดาทราบเกี่ยวกับบันไดสิบขั้นสู่ความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และการดำเนินการตามนโยบายของสถานพยาบาล
  • อธิบายให้มารดาทราบถึงความสำคัญของการโอบกอดเนื้อแนบเนื้อและการเริ่มให้ลูกกินนมแม่ตั้งแต่ภายในครึ่งถึงหนึ่งชั่วโมงแรกหลังคลอด
  • รับฟังข้อมูลเกี่ยวกับประสบการณ์การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในครรภ์ก่อน
  • ทบทวนประวัติโรคประจำตัว ประวัติการบาดเจ็บหรือผ่าตัดบริเวณเต้านม
  • อธิบายให้มารดาเข้าใจถึงความจำเป็นในการตรวจเต้านมเพื่อประเมินการเปลี่ยนแปลงของเต้านมในระหว่างการตั้งครรภ์
  • พูดคุยถึงความหมายและความสำคัญในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวในหกเดือนแรกหลังคลอด
  • พูดคุยถึงการเข้าร่วมกิจกรรมการจัดกลุ่มแม่ที่ต้องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน หากมีการจัดการให้บริการในโรงพยาบาลหรือในชุมชน
  • มีหนังสือ สื่อวิดีโอ จัดให้บริการแก่มารดาและครอบครัวที่สามารถยืมหรือขอดูเพื่อศึกษาเพิ่มเติมได้ รวมทั้งหากมีสื่อการให้บริการออนไลน์ที่มารดาสามารถจะเข้าดูอย่างสะดวกสบายได้ที่บ้าน เบอร์โทรศัพท์และช่องทางการติดต่อสื่อสารในสื่อสังคมออนไลน์ที่มารดาสามารถรับคำปรึกษาได้
  • สอบถามมารดาเกี่ยวกับยาที่มารดาใช้เป็นประจำ

เมื่อจะจบการให้คำปรึกษา

  • ควรสอบถามมารดาว่ามีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ไหม
  • สอบถามมารดาและครอบครัวมีว่าข้อสงสัยหรือคำถามเกี่ยวกับเรื่องอื่นๆ ไหม
  • เน้นย้ำอีกครั้งถึงความสำคัญของการปฏิบัติตัวต่างๆ ที่มีผลต่อการให้นมลูก รวมถึงความสำคัญของการให้การสนับสนุนของคนในครอบครัวที่มีผลต่อความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
  • พูดให้กำลังใจให้กับมารดาและครอบครัวในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และเป็นแรงใจในการสนับสนุน เช่น ?หมอและเจ้าหน้าที่ทุกท่านเป็นกำลังใจให้คุณแม่และครอบครัวเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สำเร็จนะครับ/คะ?
  • เสนอทางเลือกในการให้คำปรึกษาโดยผู้เชี่ยวชาญในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ หากมารดาและครอบครัวต้องการคำปรึกษาเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

  1. The American of Obstetricians and Gynecologist, American Academy of Pediatrics. Breastfeeding handbook for physician. 2nd edition. 2014.

 

แนวทางการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ระหว่างฝากครรภ์ ตอนที่ 2

IMG_9312

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? -เมื่ออายุครรภ์ 34-36 สัปดาห์ ควรมีการอภิปรายเกี่ยวกับปัญหาหรืออุปสรรคที่อาจเกิดขึ้น หากทารกจำเป็นต้องได้รับการดูแลที่หอผู้ป่วยทารกวิกฤต อธิบายถึงวิธีการเอาชนะอุปสรรคต่างๆ ที่มีความจำเป็นต้องแยกทารกจากมารดาในระยะแรก เน้นย้ำให้มารดาเข้าใจถึงความสำคัญของการเริ่มการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ตั้งแต่ในระยะแรก (เริ่มในครึ่งถึงหนึ่งชั่งโมงแรกหลังคลอด) การโอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อ การให้มารดาและทารกอยู่ร่วมกันตลอด 24 ชั่วโมง พูดคุยถึงปัญหาและอุปสรรคที่มารดาพบระหว่างการให้นมลูกในมารดาที่มีประสบการณ์ในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ทบทวนถึงโรคประจำตัวและการใช้ยาที่จำเป็นต้องใช้ระหว่างการให้นมบุตร รวมทั้งสอบถามความต้องการของมารดาและครอบครัวว่าต้องการรับคำปรึกษาเพิ่มเติมจากผู้เชี่ยวชาญในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หรือไม่ เพื่อส่งต่อมารดาไปรับคำปรึกษาเพิ่มเติม

??????????????? -เมื่อครบกำหนดคลอด สอบถามปัญหาที่มารดาวิตกกังวลเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ร่วมกับการกระตุ้นเตือนเกี่ยวกับการเริ่มให้นมแม่ตั้งแต่ในระยะแรกหลังคลอด พร้อมสอบถามเรื่องการวางแผนการคุมกำเนิดและการมีบุตรคนต่อไป

??????????????? จะเห็นว่า ช่วงระหว่างฝากครรภ์เป็นช่วงโอกาสอันดีที่บุคลากรทางการแพทย์จะช่วยให้มารดาเข้าใจถึงความสำคัญ ความจำเป็น และประโยชน์ที่ทารกจะได้รับจากนมแม่ที่เป็นอาหารที่ธรรมชาติสรรสร้างให้มีความเหมาะสมสำหรับสิ่งมีชีวิตที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในแต่ละชนิด โดยให้มีส่วนประกอบของนมแม่ที่แตกต่างกัน ซึ่งหากมารดาและครอบครัวเข้าใจถึงเรื่องนี้ จะส่งผลต่อความตั้งใจที่เป็นปัจจัยที่สำคัญในความสำเร็จของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

เอกสารอ้างอิง

  1. The American of Obstetricians and Gynecologist, American Academy of Pediatrics. Breastfeeding handbook for physician. 2nd edition. 2014.

 

แนวทางการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ระหว่างฝากครรภ์ ตอนที่ 1

IMG_9368

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า จุดประสงค์ของการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ระหว่างการฝากครรภ์ คือ การสร้างให้มารดามีความตั้งใจที่จะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยขั้นตอนต่างๆ ในระยะฝากครรภ์ได้มีการแนะนำแนวทางการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ดังนี้

??????????????? -ในการฝากครรภ์ครั้งแรก ควรมีการซักประวัติ สอบถามเรื่องแผนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ชี้แจงถึงประโยชน์ ความสำคัญ เหตุผล และแก้ไขความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับนมแม่ ซักประวัติการผ่าตัดบริเวณเต้านม ประสบการณ์ในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โรคประจำตัวและการใช้ยาต่างๆ ตรวจเต้านมดูพัฒนาการของเต้านม ลักษณะหัวนมบอดหรือหัวนมแบน และตรวจตำแหน่งรอยแผลเป็นจากการผ่าตัดเต้านมในกรณีที่มารดามีประวัติได้รับการผ่าตัดที่เต้านม พร้อมจดบันทึกลักษณะของเต้านม พัฒนาการ รอยแผลผ่าตัด ประสบการณ์การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และข้อมูลการโรคประจำตัวและยาที่ต้องใช้เป็นประจำ

??????????????? -เมื่อมารดามีอายุครรภ์ 14-20 สัปดาห์ ควรมีการพูดคุยถึงการเปลี่ยนแปลงของเต้านมในระหว่างตั้งครรภ์ และอภิปรายซ้ำถึงแผนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

??????????????? -เมื่อมารดามีอายุครรภ์ 24-28 สัปดาห์ ควรมีการจัดสอนเกี่ยวกับการคลอด และมีการกระตุ้นเตือนให้มารดาตัดสินใจเกี่ยวกับการให้นมลูก เพื่อการเตรียมความพร้อมที่จะมีการให้แก่มารดาและครอบครัวต่อไป ควรมีการตรวจเต้านมซ้ำ หากมารดามีอาการเปลี่ยนแปลงหรือบ่นเกี่ยวกับความผิดปกติของเต้านม

เอกสารอ้างอิง

  1. The American of Obstetricians and Gynecologist, American Academy of Pediatrics. Breastfeeding handbook for physician. 2nd edition. 2014.

การตรวจพัฒนาการของเต้านม

big&small breast

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? โดยทั่วไป การตรวจบันทึกพัฒนาการของเต้านมมักจะแบ่งพัฒนาการเป็นระยะ 5 ระยะ เพื่ออธิบายถึงการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ของเต้านมที่เกิดในช่วงที่สตรีย่างเข้าวัยเจริญพันธุ์ รายละเอียดมีดังนี้

? ? ? -ระยะที่ 1 เต้านมยังไม่มีการพัฒนาการเลย

? ? ? -ระยะที่ 2 เต้านมจะมีพัฒนาการเป็นตุ่มของเต้านม (breast bud) ลานนมจะกว้างขึ้นและมีสีเข้มขึ้นเล็กน้อย จะเริ่มมีเนื้อของเต้านมมองเห็นยกตัวขึ้นเล็กน้อยและสามารถคลำเนื้อเต้านมใต้บริเวณหัวนมได้

? ? ? -ระยะที่ 3 เต้านมและลานนมจะขยายมากขึ้น เริ่มมองเห็นเนื้อของเต้านมกลมมากขึ้น หัวนมและลานนมจะไม่แยกส่วนจากรูปร่างของเต้านม แต่ยังพบลักษณะของเต้านมเป็นทรงกรวยขนาดเล็ก

? ? ?-ระยะที่ 4 เต้านมจะขยายขนาดเพิ่มขึ้น หัวนมและลานนมจะเจริญเติบโตเป็นเนินซ้อนมองเห็นแยกจากฐานของเต้านม

? ? ? -ระยะที่ 5 เต้านมจะขยายขนาดเพิ่มขึ้น หัวนม ลานนมและเต้านมจะกลมเป็นโครงสร้างเนื้อเดียวกัน หัวนมและลานนมมองไม่เห็นเป็นเนินซ้อนอยู่บนเต้านม รูปร่างของเต้านมจะเป็นกรวยฐานกว้าง แม้ในสตรีที่มีเต้านมเล็กก็จะตรวจพบเนื้อของเต้านมกว้างจากบริเวณกลางอกถึงด้านข้างลำตัว

? ? ? ? ? อย่างไรก็ตาม มีความจำเป็นในการอธิบายให้มารดาทราบถึงความสำคัญของพัฒนาการของเต้านม เพื่อให้มารดามีความเข้าใจที่ถูกต้อง โดยหากเต้านมพัฒนาการได้ดี แม้มารดาจะมีเต้านมขนาดเล็กก็ไม่ได้มีผลต่อการสร้างน้ำนม

เอกสารอ้างอิง

  1. The American of Obstetricians and Gynecologist, American Academy of Pediatrics. Breastfeeding handbook for physician. 2nd edition. 2014.