คลังเก็บป้ายกำกับ: แนวทางการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ระหว่างฝากครรภ์ ตอนที่ 1

แนวทางการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ระหว่างฝากครรภ์ ตอนที่ 2

IMG_9312

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? -เมื่ออายุครรภ์ 34-36 สัปดาห์ ควรมีการอภิปรายเกี่ยวกับปัญหาหรืออุปสรรคที่อาจเกิดขึ้น หากทารกจำเป็นต้องได้รับการดูแลที่หอผู้ป่วยทารกวิกฤต อธิบายถึงวิธีการเอาชนะอุปสรรคต่างๆ ที่มีความจำเป็นต้องแยกทารกจากมารดาในระยะแรก เน้นย้ำให้มารดาเข้าใจถึงความสำคัญของการเริ่มการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ตั้งแต่ในระยะแรก (เริ่มในครึ่งถึงหนึ่งชั่งโมงแรกหลังคลอด) การโอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อ การให้มารดาและทารกอยู่ร่วมกันตลอด 24 ชั่วโมง พูดคุยถึงปัญหาและอุปสรรคที่มารดาพบระหว่างการให้นมลูกในมารดาที่มีประสบการณ์ในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ทบทวนถึงโรคประจำตัวและการใช้ยาที่จำเป็นต้องใช้ระหว่างการให้นมบุตร รวมทั้งสอบถามความต้องการของมารดาและครอบครัวว่าต้องการรับคำปรึกษาเพิ่มเติมจากผู้เชี่ยวชาญในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หรือไม่ เพื่อส่งต่อมารดาไปรับคำปรึกษาเพิ่มเติม

??????????????? -เมื่อครบกำหนดคลอด สอบถามปัญหาที่มารดาวิตกกังวลเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ร่วมกับการกระตุ้นเตือนเกี่ยวกับการเริ่มให้นมแม่ตั้งแต่ในระยะแรกหลังคลอด พร้อมสอบถามเรื่องการวางแผนการคุมกำเนิดและการมีบุตรคนต่อไป

??????????????? จะเห็นว่า ช่วงระหว่างฝากครรภ์เป็นช่วงโอกาสอันดีที่บุคลากรทางการแพทย์จะช่วยให้มารดาเข้าใจถึงความสำคัญ ความจำเป็น และประโยชน์ที่ทารกจะได้รับจากนมแม่ที่เป็นอาหารที่ธรรมชาติสรรสร้างให้มีความเหมาะสมสำหรับสิ่งมีชีวิตที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในแต่ละชนิด โดยให้มีส่วนประกอบของนมแม่ที่แตกต่างกัน ซึ่งหากมารดาและครอบครัวเข้าใจถึงเรื่องนี้ จะส่งผลต่อความตั้งใจที่เป็นปัจจัยที่สำคัญในความสำเร็จของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

เอกสารอ้างอิง

  1. The American of Obstetricians and Gynecologist, American Academy of Pediatrics. Breastfeeding handbook for physician. 2nd edition. 2014.

 

แนวทางการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ระหว่างฝากครรภ์ ตอนที่ 1

IMG_9368

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า จุดประสงค์ของการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ระหว่างการฝากครรภ์ คือ การสร้างให้มารดามีความตั้งใจที่จะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยขั้นตอนต่างๆ ในระยะฝากครรภ์ได้มีการแนะนำแนวทางการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ดังนี้

??????????????? -ในการฝากครรภ์ครั้งแรก ควรมีการซักประวัติ สอบถามเรื่องแผนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ชี้แจงถึงประโยชน์ ความสำคัญ เหตุผล และแก้ไขความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับนมแม่ ซักประวัติการผ่าตัดบริเวณเต้านม ประสบการณ์ในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โรคประจำตัวและการใช้ยาต่างๆ ตรวจเต้านมดูพัฒนาการของเต้านม ลักษณะหัวนมบอดหรือหัวนมแบน และตรวจตำแหน่งรอยแผลเป็นจากการผ่าตัดเต้านมในกรณีที่มารดามีประวัติได้รับการผ่าตัดที่เต้านม พร้อมจดบันทึกลักษณะของเต้านม พัฒนาการ รอยแผลผ่าตัด ประสบการณ์การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และข้อมูลการโรคประจำตัวและยาที่ต้องใช้เป็นประจำ

??????????????? -เมื่อมารดามีอายุครรภ์ 14-20 สัปดาห์ ควรมีการพูดคุยถึงการเปลี่ยนแปลงของเต้านมในระหว่างตั้งครรภ์ และอภิปรายซ้ำถึงแผนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

??????????????? -เมื่อมารดามีอายุครรภ์ 24-28 สัปดาห์ ควรมีการจัดสอนเกี่ยวกับการคลอด และมีการกระตุ้นเตือนให้มารดาตัดสินใจเกี่ยวกับการให้นมลูก เพื่อการเตรียมความพร้อมที่จะมีการให้แก่มารดาและครอบครัวต่อไป ควรมีการตรวจเต้านมซ้ำ หากมารดามีอาการเปลี่ยนแปลงหรือบ่นเกี่ยวกับความผิดปกติของเต้านม

เอกสารอ้างอิง

  1. The American of Obstetricians and Gynecologist, American Academy of Pediatrics. Breastfeeding handbook for physician. 2nd edition. 2014.