คลังเก็บหมวดหมู่: คำถามที่พบบ่อย

คำถามที่พบบ่อย

การเจ็บหัวนมขณะให้นมลูก

img_1084

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? การเจ็บหัวนมขณะที่มารดาให้นมบุตรนั้น เป็นสิ่งที่พบได้บ่อยในช่วงสัปดาห์แรกหลังคลอด1 ?สาเหตุมีได้หลายประการ ตั้งแต่ การจัดท่าเข้าเต้าและให้นมลูกไม่เหมาะสม การที่ทารกมีภาวะลิ้นติด การที่มารดามีน้ำนมไหลมากเกินไป การเกิดบาดแผลบริเวณหัวนม การติดเชื้อราหรือเชื้อแบคทีเรีย หัวนมและเต้านมอักเสบ และการขาดเลือดบริเวณหัวนม ซึ่งตามปกติในมารดาทั่วไปครรภ์แรกที่เริ่มให้ลูกกินนมใหม่ๆ อาจจะมีอาการเจ็บที่หัวนมได้บ้าง แต่อาการเหล่านี้มักหายไปในสองสามวันแรกหลังการให้ลูกกินนม แต่หากอาการเจ็บหัวนมยังคงมีต่อเนื่องไปจนถึง 7 วันหรือหนึ่งสัปดาห์2 บุคลากรทางการแพทย์ควรหาสาเหตุที่แน่ชัดเพื่อแก้ปัญหาอาการเจ็บหัวนมที่ยังเป็นหนึ่งในสาเหตุที่สำคัญในการหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ก่อนเวลาที่ควร โดยหากให้การดูแลรักษาตั้งแต่อย่างเหมาะสมตั้งแต่ในระยะแรกแล้ว อาการมักหายใน 1-2 สัปดาห์ และไม่มีผลกระทบต่ออัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

เอกสารอ้างอิง

  1. Morland-Schultz K, Hill PD. Prevention of and therapies for nipple pain: a systematic review. J Obstet Gynecol Neonatal Nurs 2005;34:428-37.
  2. Buck ML, Amir LH, Cullinane M, Donath SM, Team CS. Nipple pain, damage, and vasospasm in the first 8 weeks postpartum. Breastfeed Med 2014;9:56-62.

ท่าในการให้นมลูก สำคัญไหม

img_1076

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? ท่าที่นิยมใช้ในการให้นมลูกนั้น ได้แก่ ท่าขวางตัก ท่าขวางตักประยุกต์ ท่าฟุตบอล และท่านอนตะแคง โดยในระยะหลังมีการกล่าวถึงท่าเอนหลัง (laid-back) ซึ่งมีรายงานว่าอาจจะช่วยให้การเริ่มการให้นมลูกทำได้ดีขึ้น1-4 อย่างไรก็ตาม ท่าที่ให้นมลูก หากมารดามีการจัดท่าที่เหมาะสม จะทำให้การเข้าเต้าดีและช่วยลดปัญหาในการเจ็บเต้านมและภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ได้ ท่าแต่ละท่าอาจมีความเหมาะสมในกลุ่มมารดาที่แตกต่างกัน ดังนั้น ในทางปฏิบัติ แนะนำให้บุคลากรทางการแพทย์สอนท่าให้นมลูกแก่มารดาอย่างน้อยสองท่าขึ้นไป5 ซึ่งมารดาอาจทดลองใช้ท่าแต่ละท่า และอาจเลือกใช้ท่าที่ชอบหรือเหมาะสมกับตนเอง สิ่งนี้น่าจะช่วยให้มารดาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ด้วยความสบายและพึงพอใจ และอาจให้นมลูกได้ในระยะเวลาที่ยาวนานขึ้น

เอกสารอ้างอิง

  1. Colson S. Maternal breastfeeding positions: have we got it right? (2). Pract Midwife 2005;8:29-32.
  2. Colson S. Cuddles, biological nurturing, exclusive breastfeeding and public health. J R Soc Promot Health 2003;123:76-7.
  3. Colson SD, Meek JH, Hawdon JM. Optimal positions for the release of primitive neonatal reflexes stimulating breastfeeding. Early Hum Dev 2008;84:441-9.
  4. Colson S. Biological Nurturing: the laid-back breastfeeding revolution. Midwifery Today Int Midwife 2012:9-11, 66.
  5. Puapornpong P, Raungrongmorakot K, Manolerdtewan W, Ketsuwan S, Sinutchanan W. The Number of Infant Feeding Positions and the 6-Month Exclusive Breastfeeding Rates. J Med Assoc Thai 2015;98:1075-81.

สื่อมือถือเรื่องการใช้ยาระหว่างการกินนมแม่

img_2197

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? ยาที่ใช้ในปัจจุบันมีมากมายและหลากหลายหมวดหมู่ ดังนั้น หากมารดาต้องใช้ยาใดๆ ระหว่างการให้นมแม่ หากเป็นยาที่แพทย์คุ้นเคยหรือใช้บ่อย แพทย์จะสามารถให้ข้อมูล ความเสี่ยง และอันตรายที่อาจพบในทารกที่กินนมแม่ขณะที่มารดารับประทานยา อย่างไรก็ตาม บางครั้ง ยาบางตัวที่มีการใช้น้อย หรือเป็นยาเฉพาะโรคบางอย่าง แพทย์อาจต้องค้นคว้าหาข้อมูลว่ามารดาจะให้นมลูกได้หรือไม่ ซึ่ง application ? LactMed? ที่มีใน Play store และใน App storeสามารถช่วยในการตัดสินใจได้ โดยกรอกข้อมูลชื่อยาลงไป แล้วกดค้นหา จะพบรายงานข้อมูลที่มีการใช้ยาในระหว่างการให้นมแม่ รายงานนั้นจะมีรายละเอียดข้อมูลจำนวนทารกที่ได้รับยา ขนาดของยาที่ใช้ ชนิดของความผิดปกติ ข้อมูลเหล่านี้ หากแพทย์ได้อธิบายให้มารดาและครอบครัวเข้าใจ เทียบข้อดีข้อเสียจากการใช้ยา ความจำเป็น ทางเลือกอื่นๆ หากมี จะเป็นประโยชน์ในการตัดสินใจในการตัดสินใจเลือกใช้ยาอย่างมาก อย่างไรก็ตาม ข้อมูลเหล่านี้ยังมีข้อจำกัด เนื่องจากเป็นภาษาอังกฤษ และคำบางคำที่ใช้ยังเป็นศัพท์แพทย์ ซึ่งอาจอ่านแล้วเข้าใจยาก ?หากมีข้อสงสัยในการอ่านข้อมูลแล้วไม่เข้าใจ ควรพิมพ์ข้อมูลที่ได้มาปรึกษาแพทย์

 

แอพพริเคชั่น ?เลี้ยงลูกด้วยนมแม่?

img_2110

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? เทคโนโลยีมือถือที่มีในปัจจุบันสร้างความสะดวกสบายรวมทั้งให้ความรู้ในสื่อสาระต่างๆ รวมทั้งนมแม่ แอพพริเคชั่น ?เลี้ยงลูกด้วยนมแม่? มีทั้งใน Play store และใน App storeที่เป็นระบบปฏิบัติการ android และ IOS ได้รับการสนับสนุนจาก มูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทยและ สสส. โดยมีความรู้ในหัวข้อต่างๆ ที่จำเป็นในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ได้แก่ เตรียมตัวเตรียมใจก่อนให้นมลูก แรกเริ่มให้นมลูก คลายปมนมแม่ ปัญหาเต้านม ปัญหาการดูดนมของลูก ปัญหาของลูกที่กินนมแม่ นมแม่กับการทำงาน การเก็บน้ำนม แม่ป่วยและยากับการให้นมแม่ เมื่อลูกโตอาหารเสริมพัฒนาการ เป็นต้น นอกจากนี้ในมารดาที่ต้องการเห็นภาพหรือวิดีโอช่วยในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ก็สามารถเข้าไปที่เครื่องมือค้นหาในอินเตอร์เน็ตต่างๆ รวมทั้ง youtube ที่มีสื่อวิดีโอทำให้มารดาเข้าใจในขั้นตอนต่างๆ ในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มากขึ้น อย่างไรก็ตาม สื่อจาก youtube อาจต้องดูที่มาและแหล่งอ้างอิงที่เชื่อถือด้วย เพราะข้อมูลที่มากมายหลากหลายจำเป็นต้องใช้สติในการคัดกรองสิ่งที่เป็นประโยชน์ นำไปใช้และปฏิบัติได้

การให้ความรู้นมแม่ผ่านสื่อมือถือ

IMG_1660

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? ปัจจุบัน มือถือเป็นเสมือนปัจจัยที่ห้าที่บุคคลในสังคมจำเป็นต้องมีและมีความต้องการที่จะใช้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้น การเผยแพร่สื่อต่างๆ ผ่านเทคโนโลยีมือถือจึงเฟื่องฟูมากขึ้น รวมทั้งการผลิตหรือสร้าง application ที่มีหลากหลายใน Play store และใน App storeในมือถือที่เป็นระบบปฏิบัติการ android และ IOS การให้ความรู้ผ่านสื่อมือถือจึงถือเป็นทางเลือกหนึ่งที่จะเข้าถึงบุคคลต่างๆ ที่หลากหลายได้ดี มีการศึกษาทั้งการให้สื่อความรู้เรื่องนมแม่แก่คุณพ่อที่จะเป็นแรงผลักดันที่สำคัญในการให้คุณแม่ได้ให้นมลูก1 มีการร่วมมือระหว่างสหสาขามาผลิต application สำหรับเผยแพร่ความรู้เรื่องนมแม่ในสื่อมือถือ2 สำหรับในประเทศไทย มูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทยและ สสส. ได้สนับสนุนและผลิตสื่อที่เป็น application บนมือถือชื่อ ?เลี้ยงลูกด้วยนมแม่? ที่คุณแม่และครอบครัวสามารถ download ไปใช้ช่วยในการแก้ปัญหาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เบื้องต้นได้ จึงอยากจะแนะนำให้มารดาและผู้ที่สนใจความรู้เรื่องนมแม่ได้นำ application ความรู้ที่ดีนี้ไปใช้ประโยชน์ เพื่อส่งเสริมให้เด็กไทยได้กินนมแม่เพิ่มมากขึ้น

เอกสารอ้างอิง

  1. White BK, Martin A, White JA, et al. Theory-Based Design and Development of a Socially Connected, Gamified Mobile App for Men About Breastfeeding (Milk Man). JMIR Mhealth Uhealth 2016;4:e81.
  2. White B, White J, Giglia R, Tawia S. Feed Safe: a multidisciplinary partnership approach results in a successful mobile application for breastfeeding mothers. Health Promot J Austr 2016.