คลังเก็บหมวดหมู่: คำถามที่พบบ่อย

คำถามที่พบบ่อย

การซักประวัติการอาการเจ็บหัวนม เมื่อพบการเจ็บหัวนมของมารดาขณะให้นมบุตร

img_1097

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? เมื่อมารดามีอาการเจ็บหัวนม การซักประวัติอาการเจ็บหัวนม ซึ่งสาเหตุของการเจ็บหัวนมแต่ละอย่างมีความจำเพาะของลักษณะของอาการเจ็บ รายละเอียดของการซักประวัติ ควรมีดังนี้1

  • ระยะเวลาที่เริ่มของอาการเจ็บหัวนมในระยะหลังคลอด
  • มีการบาดเจ็บหัวนม ได้แก่ หัวนมถลอก หัวนมแตก หรือมีเลือดออกจากหัวนมหรือไม่
  • ช่วงเวลาของอาการเจ็บหัวนมมีในขณะเข้าเต้า ขณะให้นมลูก หรือมีในระหว่างช่วงการให้นมลูกเสร็จแล้ว รวมทั้งอาการมีขณะบีบน้ำนมหรือปั๊มนมหรือไม่
  • ตำแหน่งของอาการปวด เจ็บที่หัวนม เต้านม อาการเจ็บมีบริเวณผิวหรือเจ็บบริเวณลึกๆ
  • ระยะเวลาของการเจ็บหัวนมเป็นนานแค่ไหน อาการเจ็บหัวนมเป็นต่อเนื่องหรือเป็นพักๆ
  • ลักษณะของการเจ็บหัวนมเป็นแบบแสบร้อน คัน เจ็บจี๊ด เจ็บตื้อๆ หรือมีปวดร้าวไปที่ใด
  • อาการหรืออาการแสดงร่วม ได้แก่ ผิวหนังบริเวณที่เจ็บเปลี่ยนแปลงอย่างไร สีของหัวนมเปลี่ยนแปลงหรือไม่ ลักษณะของหัวนมหลังการให้นมเป็นอย่างไร มีไข้ร่วมด้วยหรือไม่
  • สิ่งใดเป็นปัจจัยส่งเสริมหรือบรรเทาอาการเจ็บปวด ได้แก่ ความเย็น ความร้อน การสัมผัสอย่างนุ่มนวล หรือการออกแรงกดบริเวณหัวนม
  • การรักษาที่ได้รับมาก่อน ได้แก่ ยาแก้ปวด ยาลดการอักเสบ ยาปฏิชีวนะ ยาฆ่าเชื้อรา สมุนไพร สารหล่อลื่น หรือยาอื่นๆ

เอกสารอ้างอิง

  1. Berens P, Eglash A, Malloy M, Steube AM. ABM Clinical Protocol #26: Persistent Pain with Breastfeeding. Breastfeed Med 2016;11:46-53.

 

 

การซักประวัติการให้นมลูก เมื่อพบการเจ็บหัวนมของมารดาขณะให้นมบุตร

img_1067

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? เมื่อมารดามีอาการเจ็บหัวนม การซักประวัติการให้นมลูก ควรมีรายละเอียดของการซักประวัติ ดังนี้1

  • ประวัติการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในครรภ์ก่อน ปัญหา และอาการเจ็บหัวนม เพราะสาเหตุที่พบในครรภ์ก่อน อาจจะเป็นสาเหตุเดียวกันกับสาเหตุที่พบในปัจจุบัน
  • ประวัติความไวต่อความรู้สึกหรือความเจ็บปวดของหัวนมและเต้านมก่อนการตั้งครรภ์ ประวัตินี้จะช่วยในการวินิจฉัยอาการเจ็บหัวนมจากการขาดเลือด (Raynaud phenomenon) ได้
  • ประวัติการตึงคัดเต้านม ปริมาณน้ำนมมากหรือน้อย บางครั้งสาเหตุของการเจ็บหัวนมอาจเกิดจากการตึงคัดเต้านม หรือการที่น้ำนมมีมากและไหลเร็ว หรือน้ำนมมีน้อยแล้วทารกหงุดหงิด ออกแรงขบกัดหัวนมมารดา ทำให้มารดาเจ็บหัวนม
  • ลักษณะของการให้นมลูก ได้แก่ ความถี่ ระยะเวลาการให้นมในแต่ละครั้ง รวมถึงการบีบน้ำนมด้วยมือหรือการปั๊มนมด้วยเครื่องปั๊มนม สิ่งนี้จะช่วยบอกถึงลักษณะของการเจ็บหัวนมว่า ?เป็นในขณะให้นมและเป็นขณะบีบน้ำนมหรือปั๊มนมด้วยหรือไม่ และการให้นมมีปริมาณที่เหมาะสมหรือให้มากหรือน้อยเกินไป
  • ทัศนคติของมารดาต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และความตั้งใจรวมทั้งเป้าหมายของระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ สิ่งนี้เป็นสิ่งที่สำคัญที่จะแสดงถึงความมุ่งมั่นตั้งใจของมารดาที่จะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ซึ่งในมารดาที่มีทัศนคติที่ดี มีความคาดหวังตั้งใจที่จะให้ลูกกินนมแม่ หากเกิดอาการเจ็บหัวนมและไม่สามารถให้ลูกกินนมแม่ได้อาจสัมพันธ์กับการเกิดภาวะซึมเศร้าในมารดาได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Berens P, Eglash A, Malloy M, Steube AM. ABM Clinical Protocol #26: Persistent Pain with Breastfeeding. Breastfeed Med 2016;11:46-53.

 

เมื่อพบการเจ็บหัวนมของมารดาขณะให้นมบุตร ควรทำอย่างไร

img_1090

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? การเจ็บหัวนมเป็นสิ่งที่พบได้บ่อย โดยผลของการเจ็บหัวนมอาจมีผลต่อจิตใจรวมทั้งอาการซึมเศร้าของมารดาและสัมพันธ์กับการหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ก่อนเวลาอันควร ซึ่งมักพบการหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในหนึ่งเดือน1 สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ แนะนำให้มีการซักประวัติการให้นมลูก ประวัติอาการเจ็บหัวนม ประวัติมารดา และประวัติทารก ตรวจร่างกายของมารดาและทารก และการสังเกตการดูดนมของทารก สาเหตุส่วนใหญ่จะสามารถวินิจฉัยได้จากประวัติ การตรวจร่างกาย และการสังเกตทารกขณะดูดนม ในกรณีที่สงสัยการติดเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อรา อาจต้องมีการเพาะเชื้อเพื่อยืนยันการวินิจฉัยและช่วยในการรักษา ดังนั้น การให้ความสำคัญกับรายละเอียดของการซักประวัติ การตรวจร่างกาย และการสังเกตทารกขณะดูดนมจึงมีความจำเป็นอย่างมากและเป็นสิ่งที่ไม่ควรละเลยหรือมองข้าม เมื่อมารดามีอาการเจ็บหัวนมขณะที่ทารกกินนมแม่

เอกสารอ้างอิง

  1. Berens P, Eglash A, Malloy M, Steube AM. ABM Clinical Protocol #26: Persistent Pain with Breastfeeding. Breastfeed Med 2016;11:46-53.

เครื่องมือช่วยวินิจฉัยภาวะลิ้นติดของทารก

Jpeg

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ได้พัฒนาเครื่องมือที่ใช้ช่วยวินิจฉัยภาวะลิ้นติดของทารก โดยบอกถึงความรุนแรงของภาวะลิ้นติดได้ ซึ่งในทารกที่มีภาวะลิ้นติดปานกลางและรุนแรง ส่วนใหญ่จะมีการเข้าเต้าลำบากและทำให้มารดาเจ็บหัวนมขณะให้ทารกดูดนม1 การใช้เครื่องมือที่มีชื่อว่า ?MED SWU TONGUE-TIE DIRECTOR? วัดและให้การวินิจฉัยจะช่วยแพทย์ในการตัดสินใจในการให้การรักษา โดยที่การรักษาทำโดยการตัดพังผืดใต้ลิ้น สามารถทำที่ห้องตรวจผู้ป่วยนอก และหลังทำทารกสามารถดูดนมแม่ได้เลย ซึ่งเครื่องมือ MED SWU TONGUE-TIE DIRECTOR นอกจากจะช่วยในการวินิจฉัยแล้ว ยังช่วยในการตัดพังผืดรักษาด้วย ทำให้มีความสะดวกและแม่นยำในการให้การวินิจฉัยและให้การรักษามากขึ้น

เอกสารอ้างอิง

  1. Puapornpong P, Raungrongmorakot K, Mahasitthiwat V, Ketsuwan S. Comparisons of the latching on between newborns with tongue-tie and normal newborns. J Med Assoc Thai 2014;97:255-9.

ภาวะลิ้นติดของทารกทำให้มารดาเจ็บหัวนมขณะกินนมแม่

dsc00797

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? การเจ็บหัวนมแม้เป็นสิ่งที่พบได้บ่อยและมีสาเหตุได้หลากหลาย แต่สาเหตุหนึ่งที่สำคัญคือ การที่ทารกมีภาวะลิ้นติด การที่ทารกมีพังผืดใต้ลิ้นติดมาถึงหรือใกล้กับส่วนปลายลิ้น1 แล้วมีผลทำให้การเคลื่อนไหวของลิ้นออกมาข้างหน้าทำได้ไม่ดี จะมีผลต่อกระบวนการการดูดนมแม่จากเต้านมของมารดา ซึ่งจะทำให้ทารกออกแรงในการดูดนมมากขึ้นและทำให้เกิดการเจ็บหัวนม โดยที่การเจ็บหัวนมของมารดา หากไม่ได้รับการดูแลที่เหมาะสม อาจทำให้มารดาหยุดการให้ลูกกินนมแม่ หรืออาจเกิดบาดแผลบริเวณหัวนม และเกิดภาวะแทรกซ้อนของเต้านมอักเสบและฝีที่เต้านมได้ อุบัติการณ์ของภาวะลิ้นตัดในทารกของไทยพบราวร้อยละ 13 โดยพบทารกที่มีภาวะลิ้นติดปานกลางถึงรุนแรงประมาณครึ่งหนึ่งของทั้งหมดคือราวร้อยละ 6-72 ซึ่งทารกเหล่านี้ หากได้รับการแก้ไขภาวะลิ้นติดตั้งแต่ในระยะแรกหลังคลอดจะลดการปัญหาการเกิดการเจ็บหัวนมของมารดาที่ต่อเนื่องจนกระทั่งหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Kotlow LA. Ankyloglossia (tongue-tie): a diagnostic and treatment quandary. Quintessence Int 1999;30:259-62.
  2. Puapornpong P, Raungrongmorakot K, Mahasitthiwat V, Ketsuwan S. Comparisons of the latching on between newborns with tongue-tie and normal newborns. J Med Assoc Thai 2014;97:255-9.