คลังเก็บหมวดหมู่: คำถามที่พบบ่อย

คำถามที่พบบ่อย

สตรีที่ถูกทารุณกรรมทางเพศในวัยเด็กอาจพบปัญหาในการให้นมลูก

IMG_9338

??????????????? รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? สภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป การแข่งขันทางด้านเศรษฐกิจ และการที่ต้องดิ้นรนหารายได้ ทำให้ความสัมพันธ์ในครอบครัวลดน้อยลง ปัญหาของสตรีที่ถูกทารุณกรรมทางเพศในวัยเด็กพบเพิ่มขึ้นตามชาติตะวันตก เมื่อสตรีที่ถูกทารุณกรรมทางเพศตั้งแต่ในวัยเด็กเจริญเติบโตขึ้น ตั้งครรภ์และให้นมบุตร การให้นมบุตรอาจทำให้มารดามีความรู้สึกหรือระลึกถึงการทำทารุณกรรมในขณะวัยเด็กได้ เนื่องจากบางครั้ง ขณะให้นมลูก มารดาจะมีการเจ็บหัวนม ซึ่งมีการศึกษาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในกลุ่มสตรีที่ถูกทารุณกรรมทางเพศในวัยเด็กพบว่า สตรีเหล่านี้จะมีปัญหาในระหว่างการให้นมลูกมากกว่าสตรีทั่วไป และพบภาวะแทรกซ้อน ได้แก่ เต้านมอักเสบมากกว่าด้วย1 บุคลากรทางการแพทย์หากได้ประวัติมารดาที่มีความเสี่ยงนี้ ควรใส่ใจทั้งในด้านจิตใจและกระบวนการในการให้นมลูกของมารดาเหล่านี้ เพื่อช่วยให้คำปรึกษาที่เหมาะสม แก้ไขอาการเจ็บปวดเต้านมขณะให้นมลูกที่จะไปกระตุ้นความทรงจำที่เลวร้ายในอดีต ซึ่งหากมีการดูแลที่เหมาะสม น่าจะลดปัญหาที่พบในมารดากลุ่มนี้ได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Elfgen C, Hagenbuch N, Gorres G, Block E, Leeners B. Breastfeeding in Women Having Experienced Childhood Sexual Abuse. J Hum Lact 2017:890334416680789.

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดาวัยรุ่น

img_2203

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ?การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นพบเป็นปัญหาที่เพิ่มขึ้นทั่วโลกรวมทั้งในประเทศไทย อัตราการตั้งครรภ์ของมารดาในวัยรุ่นในประเทศไทยพบร้อยละ 14.81? โดยระหว่างการตั้งครรภ์มารดาวัยรุ่นมักมีความเสี่ยงจากการคลอดก่อนกำหนดและทารกน้ำหนักตัวน้อย หลังคลอดการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดากลุ่มนี้ มีความจำเป็น จากที่มีการศึกษาพบว่า อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในกลุ่มมารดาวัยรุ่นต่ำ2 ส่วนหนึ่งน่าจะเกิดการที่มารดามีภาวะแทรกซ้อนระหว่างการตั้งครรภ์และการคลอด ทำให้มีโอกาสที่ทารกจำเป็นต้องได้รับการดูแลที่หอทารกป่วยวิกฤตสูงกว่า ดังนั้น บุคลากรทางการแพทย์ผู้ให้การดูแลควรมีการเตรียมการ แนะนำ ให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิดในกรณีที่การคลอดอาจมีภาวะแทรกซ้อน ทำให้การเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีความลำบาก อย่างไรก็ตาม การเตรียมการที่ดีตั้งแต่ในระยะฝากครรภ์ เอาใจใส่ให้คำปรึกษามารดาและครอบครัวเกี่ยวกับประโยชน์และความสำคัญของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ น่าจะช่วยสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดาวัยรุ่นได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Puapornpong P, Raungrongmorakot K, Manolerdtewan W, Ketsuwan S, Wongin S. Teenage pregnancy and exclusive breastfeeding rates. J Med Assoc Thai 2014;97:893-8.
  2. Edwards R, Peterson WE, Noel-Weiss J, Shearer Fortier C. Factors Influencing the Breastfeeding Practices of Young Mothers Living in a Maternity Shelter. J Hum Lact 2017:890334416681496.

 

มารดาที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ควรกินยาบำรุงธาตุเหล็ก

IMG_3457

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? ขณะที่มารดาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ควรรับประทานอาหารให้ครบห้าหมู่ และควรต้องรับประทานแร่ธาตุหรือวิตามินที่มารดามักขาดแคลน หากอยู่ในพื้นที่มีความเสี่ยงในการขาด สำหรับแร่ธาตุที่มักพบว่ามีการขาดแคลนในทารกที่กินนมแม่ คือ ธาตุเหล็ก โดยจะพบว่ามีความเสี่ยงในการขาดในช่วง 6 เดือน แต่มีรายงานว่าอาจพบในช่วงทารกอายุ 9 เดือนด้วย1 การที่วางแผนป้องกันความเสี่ยงในการขาดธาตุเหล็กของทารกตั้งแต่ช่วงระหว่างการคลอด โดยการชะลอการตัดสายสะดือ การับประทานธาตุเหล็กของมารดาระหว่างการให้นมบุตร นอกจากนี้ วิตามินดี ยังเป็นสิ่งที่พบว่ามีการขาดในทารกโดยที่สมาคมกุมารแพทย์ของสหรัฐอเมริกาแนะนำให้เสริมให้แก่ทารกทุกราย สำหรับข้อมูลในประเทศไทย มีการพบว่ามารดามีการขาดวิตามินดีอยู่ในสัดส่วนที่สูงขึ้น ดังนั้น การเสริมวิตามินดีอาจจำเป็นในทารกในประเทศไทยด้วย

เอกสารอ้างอิง

  1. Clark KM, Li M, Zhu B, et al. Breastfeeding, Mixed, or Formula Feeding at 9 Months of Age and the Prevalence of Iron Deficiency and Iron Deficiency Anemia in Two Cohorts of Infants in China. J Pediatr 2017;181:56-61.

 

มารดาเป็นเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้น้อยกว่า

IMG_3493

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? มารดาที่เป็นเบาหวานระหว่างการตั้งครรภ์มักมีน้ำนมมาช้าได้มากกว่ามารดาทั่วไป เหตุผลส่วนหนึ่งเกิดจากการที่มารดามีโอกาสจะผ่าตัดสูงกว่า เจ็บแผลมากกว่า มักไม่ค่อยอยากขยับตัวและเริ่มให้นมลูกช้า นอกจากนี้ ยังมีเหตุผลจากการ insulin growth factor ที่อาจจะรบกวนการมาของน้ำนมได้ มีการศึกษาถึงอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่มารดาที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นหลักในมารดาที่เป็นเบาหวานระหว่างการตั้งครรภ์ต่ำกว่ามารดาทั่วไป1 ดังนั้น การส่งเสริมให้มารดาที่เป็นเบาหวานระหว่างการตั้งครรภ์เริ่มให้นมแม่เร็วภายในหนึ่งชั่วโมงแรกหลังคลอด ร่วมกับการให้นมลูกบ่อย ๆ ทุก 2-3 ชั่วโมง น่าจะช่วยให้อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่ต่ำนั้นดีขึ้น

เอกสารอ้างอิง

  1. Chamberlain CR, Wilson AN, Amir LH, et al. Low rates of predominant breastfeeding in hospital after gestational diabetes, particularly among Indigenous women in Australia. Aust N Z J Public Health 2017.

 

การให้ลูกกินนมแม่น่าจะช่วยเรื่องกระดูกพรุน

IMG_1077

??????????????? รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ?ระหว่างที่มารดาให้นมลูกจะไม่มีประจำเดือนซึ่งนำไปสู่ความวิตกกังวลในเรื่องกระดูกบางหรือกระดูกพรุนในสตรีที่ให้นมบุตรได้ อย่างไรก็ตาม มีการรวบรวมวิเคราะห์การศึกษาวิจัยที่มีคุณภาพดีเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และภาวะกระดูกพรุน พบว่า การให้ลูกกินนมแม่นั้นไม่เพียงไม่มีความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกพรุน แต่ยังอาจช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกพรุนด้วย1 สิ่งนี้น่าจะลดความวิตกกังวลในมารดาที่มีความกลัวในเรื่องกระดูกบางหรือกระดูกพรุนลงได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Duan X, Wang J, Jiang X. A meta-analysis of breastfeeding and osteoporotic fracture risk in the females. Osteoporos Int 2017;28:495-503.