คลังเก็บหมวดหมู่: คำถามที่พบบ่อย

คำถามที่พบบ่อย

ต้องดูแลเรื่องอาหารอย่างไร ระหว่างให้นมแม่

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? การรับประทานอาหารของมารดาในระหว่างการให้นมแม่นั้น มารดาสามารถจะรับประทานอาหารได้ตามปกติเหมือนในช่วงก่อนการตั้งครรภ์ เพียงแต่แนะนำให้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ มีความหลากหลาย และควรครบห้าหมู่ หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เนื่องจากระดับแอลกอฮอล์ในกระแสเลือดมารดาจะผ่านไปสู่น้ำนมได้สูงและอาจเกิดอันตรายกับทารกได้ สำหรับเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน ได้แก่ ชาหรือกาแฟ ควรหลีกเลี่ยงเช่นกัน เนื่องจากคาเฟอีนจะผ่านน้ำนมไปยังทารกได้ ทำให้ทารกหงุดหงิด งอแง และไม่ยอมนอน สำหรับอาหารที่ส่งเสริมการกระตุ้นน้ำนม โดยทั่วไปไม่จำเป็น1 เนื่องจากปัจจัยสำคัญในการกระตุ้นการสร้างและการไหลของน้ำนมนั้น คือ การให้ลูกดูดนมบ่อย ๆ และดูดนมให้เกลี้ยงเต้า แต่ในสังคมไทยยังมีการแนะนำให้รับประทานอาหารจำพวกขิงหรือหัวปลี ได้แก่ ไก่ผัดขิง หรือแกงเลียง มีรายงานการศึกษาว่าขิงสามารถช่วยเพิ่มปริมาณน้ำนมของมารดาได้ในช่วงสามวันแรกหลังคลอดโดยที่หลังจากเจ็ดวันหลังคลอดปริมาณน้ำนมของมารดาจะไม่แตกต่างกัน จากข้อมูลเหล่านี้และการรับประทานอาหารจำพวกขิงหรือหัวปลีก็เป็นอาหารที่มีคุณค่าและเป็นอาหารที่คุ้นเคยกันอยู่ในสังคมไทย ซึ่งการรับประทานอาหารประเภทนี้ไม่ได้มีข้อเสียใด ๆ ดังนั้น หากมารดาต้องการรับประทานก็สามารถรับประทานได้ สำหรับการเสริมวิตามินหรือแร่ธาตุใด ๆ ให้มารดาในช่วงให้นมบุตรนั้น ส่วนใหญ่แนะนำให้มารดารับประทานธาตุเหล็กและแคลเซียม เนื่องจากแคลเซียมเป็นแร่ธาตุที่สำคัญในการน้ำนมและธาตุเหล็กมักพบน้อยในน้ำนม มารดาจึงควรรับประทานธาตุเหล็กและแคลเซียมตลอดในช่วงระหว่างการให้นมลูก นอกจากนี้ สหรัฐอเมริกายังมีการแนะนำให้มารดารับประทานวิตามินดีและดีเอชเอ เนื่องจากอาหารของมารดาในสหรัฐอเมริกาจะมีดีเอชเอต่ำและมารดามักพบการขาดวิตามินดีซึ่งอาจส่งผลเสียแก่ทารกได้ แต่ในประเทศไทยข้อมูลการขาดสารอาหารในมารดายังมีน้อยและยังพบมีการขาดแร่ธาตุหรือสารอาหารแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ จึงต้องอาศัยข้อมูลในแต่ละพื้นที่ที่ควรมีการศึกษาวิจัยเพื่อตอบคำถามหรือให้คำแนะนำแก่มารดาในแต่ละพื้นที่ได้อย่างเหมาะสม?

อย่างไรก็ตาม การดื่มน้ำให้เพียงพอระหว่างการให้นมบุตรก็มีความจำเป็น โดยดื่มเมื่อรู้สึกกระหายน้ำ หรือมีปัสสาวะสีเข้ม หรือแนะนำให้มารดาดื่มน้ำหนึ่งแก้วหลังให้นมบุตร

เอกสารอ้างอิง

  1. The Office on Women?s Health. Your guide to breastfeeding. 2017

เคล็ดลับในการบีบเก็บน้ำนม

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? ?ในการบีบเก็บหรือปั๊มนมนั้น โดยทั่วไปจะเริ่มทำในกรณีที่มารดามีอาการตึงคัดเต้านมหรือช่วงที่มารดาจำเป็นต้องแยกจากทารกและต้องการเก็บน้ำนม ช่วงหลังคลอดใหม่ ๆ ในระยะแรก มารดาเริ่มการน้ำนมมา อาจพบการตึงคัดเต้านม ซึ่งการดูแลสามารถทำได้โดยการประคบร้อนให้ท่อน้ำนมและระบบไหลเวียนของเลือดและน้ำเหลืองไหลเวียนได้ดี นวดเต้านม และให้ทารกดูดนมจากเต้า ในระยะแรกนี้การบีบน้ำนมด้วยมือมีรายงานว่าช่วยระบายน้ำนมได้ดีกว่าการปั๊มนม

? ? ? ? ? ? ? ? หลังจากในช่วงแรกหลังคลอดแล้ว หากมารดามีการกระตุ้นให้นมลูก 8-12 ครั้งต่อวันแล้วโดยที่มารดาและทารกมีช่วงเวลาที่อยู่ด้วยกันตลอด ไม่มีการตึงคัดเต้านม ทารกกินนมได้ดีและน้ำหนักขึ้นตามเกณฑ์ ในช่วงนี้อาจไม่มีความจำเป็นต้องบีบหรือปั๊มนมเก็บ แต่เมื่อทารกเริ่มโตขึ้น จำนวนมื้อที่ทารกกินนมจะเริ่มห่างออก มารดาบางคนจะมีการตึงคัดเต้านมเนื่องจากมีการสร้างน้ำนมมาเร็วเหมือนกับในช่วงที่ให้นมลูกบ่อย ๆ ในระยะนี้ มารดาควรบีบเก็บน้ำนมเพื่อสำรองนมไว้ใช้ในช่วงที่มารดาอาจต้องไปทำงานและเป็นการช่วยลดการตึงคัดเต้านมด้วย สำหรับเคล็ดลับในการบีบน้ำนมหรือเลือกการปั๊มนมด้วยเครื่องปั๊มนมสามารถทำได้แล้วแต่ความสะดวกของมารดาในแต่ละคน การบีบน้ำนมด้วยมือมีข้อดีคือไม่ต้องใช้อุปกรณ์เสริมพิเศษใด ๆ ในการเก็บน้ำนม ทำให้ประหยัดกว่า ส่วนการใช้เครื่องปั๊มนมด้วยไฟฟ้า หากเป็นเครื่องปั๊มนมที่สามารถปั๊มนมได้ทั้งสองเต้าพร้อมกัน และมีอุปกรณ์เสริมช่วยไม่ต้องใช้มือจับประคองที่ปั๊มนมขณะปั๊ม ก็มีข้อดีในส่วนที่มารดาสามารถทำงานอื่นร่วมกับการปั๊มนมได้พร้อม ๆ กัน และประหยัดเวลาในการเก็บน้ำนม

? ? ? ? ? ? ? ?การที่มารดาจะบีบเก็บน้ำนมหรือปั๊มนม ขั้นตอนในการบีบเก็บน้ำนมมีดังนี้1

  • เลือกสถานที่บีบเก็บน้ำนมที่มีความเป็นส่วนตัวและมีบรรยากาศผ่อนคลาย หากมีรูปทารกดูดนมหรือในห้องที่มีมารดาให้นมทารกอยู่ อาจช่วยกระตุ้นการไหลของน้ำนมได้ดี
  • มารดาควรมีรูปลูก ผ้าห่มตัวหรือเสื้อผ้าที่มีกลิ่นของลูก หรือการจินตนาการถึงการดูดนมของลูก สิ่งเหล่านี้จะช่วยกระตุ้นการไหลของน้ำนม
  • กระตุ้นหัวนมและนวดเต้านม
  • บีบหรือปั๊มเก็บน้ำนมจากเต้านมราว 10-15 นาทีต่อเต้า เก็บน้ำนมให้เกลี้ยงเต้าจากเต้าหนึ่งก่อนที่จะเปลี่ยนไปเก็บน้ำนมจากอีกเต้านมหนึ่ง

เอกสารอ้างอิง

  1. The Office on Women?s Health. Your guide to breastfeeding. 2017

 

 

เคล็ดลับในการละลายน้ำนมแช่แข็ง

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? เมื่อมีการแช่เย็นหรือแช่แข็งน้ำนม มารดาจึงต้องเรียนรู้วิธีการนำน้ำนมที่แช่แข็งมาใช้อย่างเหมาะสม โดยการเริ่มต้นของการละลายน้ำนมมาใช้จำเป็นต้องมีการวางแผนและบริหารจัดการน้ำนมที่เก็บไว้ให้สามารถใช้ประโยชน์ได้เต็มที่และสูงสุด ซึ่งหากมารดาวางแผนการใช้ที่จะเก็บน้ำนมไว้ไม่นาน มารดาสามารถจะเลือกใช้น้ำนมที่เก็บไว้ในตู้เย็นช่องธรรมดาที่มีอุณหภูมิราว ?4 องศาเซลเซียส แต่ถ้ามารดาจำเป็นต้องใช้น้ำนมที่แช่แข็ง สามารถวางแผนการใช้โดยนำน้ำนมที่แช่แข็งออกจากช่องแช่แข็งมาไว้ในตู้เย็นช่องธรรมดาในคืนก่อนการนำมาใช้ น้ำนมจะค่อย ๆ ละลายและพร้อมให้ทารกในวันรุ่งขึ้น โดยการให้นมแก่ทารกไม่จำเป็นต้องอุ่นน้ำนม สามารถให้นมที่นำออกจากตู้เย็นช่องธรรมดาได้เลย หรืออาจจะทิ้งไว้สักครู่ให้อุณหภูมิของน้ำนมเท่าอุณหภูมิห้องก่อนให้ทารกก็สามารถทำได้ ในกรณีที่มีความจำเป็นจะใช้น้ำนมแช่แข็งอย่างเร่งด่วนและไม่ได้มีการเตรียมนำออกมาจากช่องแช่แข็งก่อน มารดาอาจนำภาชนะใส่น้ำอุณหภูมิห้องหรือใส่น้ำอุ่น แล้วนำขวดนมหรือถุงเก็บน้ำนมที่แช่แข็งมาใส่ในภาชนะที่ใส่น้ำไว้ น้ำนมที่แช่แข็งก็จะละลายเร็วขึ้น

? ? ? ? ? ? ? สำหรับข้อควรระวังคือ ไม่ควรต้มหรืออุ่นน้ำนมที่แช่แข็งโดยใช้เตาหุงต้มหรือไมโครเวฟ เพราะความร้อนจะทำลายคุณค่าและประโยชน์ของน้ำนมได้ นอกจากนี้ไม่แนะนำให้เขย่าน้ำนมแรง ๆ ให้น้ำนมละลายด้วย1 ?และหากนำนมที่ละลายมาใช้แล้ว ไม่ควรนำกลับไปแช่แข็งอีก

เอกสารอ้างอิง

  1. The Office on Women?s Health. Your guide to breastfeeding. 2017

 

เคล็ดลับในการเก็บน้ำนมแช่แข็ง

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ?การแช่เย็นหรือแช่แข็ง นอกจากมารดาจะต้องมีความรู้ในเนื่องระยะเวลาที่สามารถเก็บแช่แข็งนมแม่ในแต่ละอุณหภูมิหรือชนิดของตู้เย็นหรือตู้แช่แข็งแล้ว มารดาควรทราบเคล็ดลับในการเก็บน้ำนมด้วย1 ?คือ

  • ควรเขียนชื่อของมารดาหรือทารก (หากต้องเก็บไว้ในตู้เย็นที่รวมกับมารดาท่านอื่น) และวันที่เก็บน้ำนม
  • ควรแกว่งหรือหมุนขวดที่เก็บน้ำนมเบา ๆ เพื่อให้น้ำนมส่วนที่เป็นครีมผสมกับน้ำนมส่วนที่อยู่ด้านล่างก่อนการแช่แข็งน้ำนมเพื่อช่วยลดการแยกชั้นของน้ำนม แต่ไม่ควรเขย่าขวดนมแรง ๆ เพราะการเขย่าน้ำนมแรง ๆ จะทำลายโมเลกุลของสารประกอบที่มีประโยชน์ในน้ำนมได้
  • หลังบีบหรือปั๊มนม แนะนำให้แช่แข็งทันทีหากต้องการเก็บรักษาน้ำนม เนื่องจากน้ำนมจะลดคุณค่าลงมากกว่า หากทิ้งไว้นานก่อนการแช่แข็ง
  • ไม่ควรใส่น้ำนมที่เก็บได้เต็มขวด แต่ควรเก็บน้ำนมค่อนขวด โดยเหลือพื้นที่ไว้สูงประมาณ 1 นิ้วเพื่อรองรับการขยายตัวของน้ำนมเมื่อเป็นน้ำแข็ง
  • การปิดฝาขวด ควรรอให้น้ำนมแข็งตัวก่อนจึงปิดฝาขวดแน่น
  • ไม่ควรวางแช่น้ำนมไว้ที่ฝาหน้าตู้เย็นที่แช่แข็ง เพราะอุณหภูมิจะไม่สม่ำเสมอเมื่อปิดเปิดตู้เย็น ทำให้การเก็บรักษาน้ำนมอาจไม่ได้ผลตามระยะเวลาที่เป็นไปตามมาตรฐาน

เอกสารอ้างอิง

  1. The Office on Women?s Health. Your guide to breastfeeding. 2017

 

อุปกรณ์ที่ใช้เก็บน้ำนม ควรเลือกอย่างไร

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? ในมารดาต้องการเก็บน้ำนมโดยการแช่เย็นหรือแช่แข็ง มารดาจำเป็นต้องมีความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับอุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บน้ำนม วัสดุที่ใช้ในการเก็บน้ำนมที่ปลอดภัยและเหมาะสมควรเป็นแก้วหรือพลาสติกที่ปราศจาก BPA วัสดุที่เป็นแก้ว มีข้อดีคือทนต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิได้ดี ขวดแก้วที่ใช้ควรมีฝาปิด แต่ข้อเสียอาจมีโอกาสแตกระหว่างกระบวนการล้างทำความสะอาดได้และมีราคาแพง สำหรับวัสดุที่ทำจากพลาสติกต้องระวังการปนเปื้อนของสารที่ประกอบในการผลิตพลาสติกและความเสี่ยงที่สารจะละลายออกมาปนเปื้อนเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิหรือเมื่อจัดเก็บเป็นระยะเวลานาน จึงต้องเน้นว่าภาชนะหรือขวดที่จะใช้เก็บน้ำนมที่เป็นพลาสติกควรปราศจากสาร BPA1

? ? ? ? ? ? ? ? ?แล้วสารบีพีเอนี้คืออะไร และมีความสำคัญอย่างไร อธิบายได้ดังนี้ สาร BPA หรือ Bisphenol A เป็นสารที่ใช้ทำวัสดุพลาสติกต่าง ๆ เช่น ขวดหรือภาชนะ ซึ่งมีคุณสมบัติทำให้เกิดความใสและเป็นมัน แต่มีผลเสียหรือพิษต่อร่างกายหากได้รับสารนี้เป็นปริมาณที่มากเกินกว่าร่างกายจะกำจัดได้ โดยทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็ง ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง ภาวะเป็นหนุ่มสาวก่อนวัยอันควร โรคอ้วน เบาหวาน หรือเด็กสมาธิสั้น ซึ่งหากลองทบทวนดูแล้ว โรคหรือภาวะผิดปกติเหล่านี้พบเพิ่มขึ้นในยุคที่มีการแข่งขันทางเศรษฐกิจกันมาก สตรีที่เป็นแม่บ้าน ก็เป็นแม่บ้านถุงพลาสติก ซึ่งซื้ออาหารที่มีบรรจุภัณฑ์ที่ล้วนแต่เป็นพลาสติก จึงเป็นโรคที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม การป้องกันคือการใช้ชีวิตที่พอเพียงลดการพึ่งพาวัสดุที่ทำจากพลาสติก ซึ่งจะช่วยในการลดโลกร้อนด้วย

เอกสารอ้างอิง

  1. The Office on Women?s Health. Your guide to breastfeeding. 2017