คลังเก็บหมวดหมู่: คำถามที่พบบ่อย

คำถามที่พบบ่อย

นมแม่ช่วยให้การเรียนรู้ดีขึ้นจริงหรือ

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? แม้จะมีข้อมูลบ่งบอกถึงประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในหลาย ๆ ด้าน แต่สิ่งที่เป็นเรื่องที่โดนใจของมารดาและครอบครัวก็คือ กินนมแม่แล้วจะทำให้ลูกเฉลียวฉลาด ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะมีความเชื่อเช่นนั้น แล้วจากข้อมูลมีการศึกษาวิจัยยืนยันผลนี้หรือไม่ การศึกษาส่วนใหญ่ที่ศึกษาเรื่องคะแนนของความฉลาดหรือไอคิวมักเป็นการศึกษาในรูปแบบของการสังเกต แต่ก็พบว่ามีการศึกษาในรูปแบบของการทดลองขนาดใหญ่ที่ใช้ชื่อย่อเรียกว่า PROBIT (Promotion of Breastfeeding Intervention Trial) ที่ทำการศึกษาทดลองในทารกจำนวนหมื่นกว่าคน ติดตามประเมินการเรียนรู้ของทารกได้รับการสนับสนุนให้กินนมแม่กับทารกทั่วไป พบว่าเมื่อทารกเข้าสู่วัยเรียนในช่วงชั้นประถมศึกษา (อายุ 6.5 ปี) ทารกที่ได้รับการสนับสนุนให้กินนมแม่จะมีคะแนนของความฉลาดหรือไอคิวสูงกว่า แต่เมื่อติดตามทารกเหล่านี้ไปจนกระทั่งเข้าสู่วัยรุ่นหรือเริ่มเรียนในชั้นมัธยมปลาย (อายุ 16 ปี) ไม่พบความแตกต่างของการเรียนรู้ระหว่างกลุ่มทั้งสองกลุ่มยกเว้น ความสามารถในด้านการพูดที่อาจมีความแตกต่างกันเล็กน้อย คำอธิบายผลของการศึกษานี้คือ นมแม่น่าจะช่วยในการเรียนรู้ของทารกได้จริงในระยะที่ทารกเริ่มเจริญเติบโตขึ้นเข้าสู่วัยเด็ก แต่เมื่อทารกเจริญเติบโตเข้าสู่วัยรุ่น ผลของการกินนมแม่จะลดลงเมื่อทารกเจริญวัยมากขึ้น1 อย่างไรก็ตาม การที่ทารกเมื่อย่างเข้าสู่วัยเด็กแล้วมีการเรียนรู้ที่ดีย่อมมีโอกาสที่จะเข้าสู่ระบบการศึกษาที่ดี และส่งผลต่อการมีโอกาสที่จะทำงานในอาชีพที่ดี ดังนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่า การให้ลูกกินนมแม่จะช่วยสร้างรากฐานการเรียนรู้ที่ดีของทารก ซึ่งจะเพิ่มโอกาสที่จะประสบความสำเร็จในชีวิตของทารกในอนาคต หรือจะย่อสั้น ๆ ว่า กินนมแม่ช่วยให้เด็กฉลาดและมีอนาคต ก็กล่าวได้ หากพูดบนพื้นฐานของความเข้าใจ

เอกสารอ้างอิง

  1. Yang S, Martin RM, Oken E, et al. Breastfeeding during infancy and neurocognitive function in adolescence: 16-year follow-up of the PROBIT cluster-randomized trial. PLoS Med 2018;15:e1002554.

 

การสนับสนุนให้เกิดการเริ่มต้นการให้นมลูกในหนึ่งชั่วโมงแรกหลังคลอด

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? การเริ่มต้นการให้นมลูกภายในหนึ่งชั่วโมงแรกมีรายงานว่าสามารถช่วยลดความเจ็บป่วยและการเสียชีวิตของทารกได้ ในขณะที่ปัจจุบัน อัตราการเริ่มการให้นมลูกในหนึ่งชั่วโมงแรกหลังคลอดในประเทศที่กำลังพัฒนาพบร้อยละ 391 หากพิจารณาถึงปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเริ่มต้นการให้นมลูกในหนึ่งชั่วโมงแรกโดยพิจารณาแยกเป็นหัวข้อปัจจัยใหญ่ 3 ปัจจัย คือ

ปัจจัยด้านมารดา ได้แก่ ความรู้และทัศนคติที่ดีของมารดาต่อการเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ตั้งแต่ในหนึ่งชั่วโมงแรกหลังคลอด ความเจ็บป่วย โรคประจำตัว และภาวะแทรกซ้อนของมารดาระหว่างการตั้งครรภ์และหลังคลอด วิธีการคลอด

ปัจจัยด้านทารก ได้แก่ การคลอดก่อนกำหนด น้ำหนักตัวของทารก ภาวะแทรกซ้อนของทารกหลังการคลอด ความผิดปกติหรือความพิการของทารก

ปัจจัยด้านการระบบงานในการดูแลมารดาและทารก ได้แก่ นโยบายในการสนับสนุนการเริ่มการให้นมลูกในหนึ่งชั่วโมงแรก การพัฒนาระบบการดูแลมารดาและทารกให้เอื้อต่อการเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ตั้งแต่ในระยะแรก ตั้งแต่การส่งเสริมให้มีการให้ความรู้แก่มารดาให้เห็นถึงความสำคัญและประโยชน์ของการเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ตั้งแต่ในระยะแรกตั้งแต่ระยะฝากครรภ์ ระยะคลอดและหลังคลอดระยะแรก การจัดการดูแลในห้องคลอดให้เอื้อต่อการเริ่มต้นการให้นมลูกในระยะแรกโดยมีการใช้ยาแก้ปวดอย่างจำเป็นและเหมาะสม ลดการผ่าตัดคลอดหรือการดมยาสลบที่จะส่งผลเสียต่อการเริ่มต้นการให้นมลูกในระยะแรก การจัดระบบพี่เลี้ยงที่จะคอยให้การดูแลและสนับสนุนให้มารดาให้นมทารกตั้งแต่ในระยะแรก การจัดระบบที่เน้นให้ความสำคัญต่อการโอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อที่ให้เวลาทารกได้อยู่บนหน้าอกมารดานานหนึ่งชั่วโมงโดยปราศจากการรบกวน ซึ่งจะชะลอการดูแลอื่น ๆ ที่รอได้ออกไป เช่น การฉีดวัคซีน การอาบน้ำทารก เนื่องจากการช่วยให้มารดาได้โอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อจะช่วยสนับสนุนกลไกตามธรรมชาติให้ทารกคืบคลานเข้าหาเต้านม และเริ่มการดูดนมได้ด้วยตนเอง แต่กลไกนี้จะเกิดได้ทารกต้องผ่านการปรับตัวในขั้นตอนต่าง ๆ 9 ชั้นตอนโดยปราศจากการบกวน การให้เวลาและให้ความสำคัญแก่การเปิดโอกาสทารกได้อยู่บนอกมารดาโดยปราศจากการรบกวนจึงเป็นสิ่งที่บุคลากรทางการแพทย์ควรคำนึงถึงและให้ความสำคัญกับสิ่งนี้ เพื่อช่วยในการบรรลุผลสำเร็จในการเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ภายในหนึ่งชั่งโมงแรก

เอกสารอ้างอิง

  1. Mekonen, L., Seifu, W. & Shiferaw, Z. Int Breastfeed J (2018) 13: 17. https://doi.org/10.1186/s13006-018-0160-2

 

การโอบกอดเนื้อแนบเนื้อช่วยให้การเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่แม้ในมารดาที่ผ่าตัดคลอด

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? ในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่รวมทั้งบันไดสิบขั้นสู่ความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่ปรับปรุงใหม่ในปี 2018 ได้มีการเน้นให้ทราบถึงการให้ความสำคัญของการโอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อที่มีผลช่วยในการเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ไม่ว่ามารดาจะคลอดบุตรด้วยวิธีการคลอดใด1 ปัญหาการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในปัจจุบัน อุปสรรคที่ทำให้การเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เกิดได้ช้ารวมถีงเกิดปัญหาที่พบบ่อยอื่น ๆ ตามมา ได้แก่ น้ำนมมาช้า อาการคัดตึงเต้านม ก็คือ การผ่าตัดคลอด ซึ่งหากมารดาขาดความตั้งใจหรือมั่นใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่แล้ว มารดาอาจจะเลือกที่เสริมนมผงดัดแปลงสำหรับทารกหรือหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ดังนั้น เมื่อมีการศึกษาวิจัยพบว่า การโอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อช่วยในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่แม้ในมารดาที่ผ่าตัดคลอด การรณรงค์ให้เกิดกระบวนการการโอบกอดเนื้อแนบเนื้อตั้งแต่ในระยะแรกหลังคลอดในมารดาที่ผ่าตัดคลอดโดยการปรับเปลี่ยนกระบวนการการจัดการหรือขั้นตอนที่เป็นแนวทางในการดูแลมารดาและทารกหลังผ่าตัดคลอดได้ ก็น่าจะช่วยให้การเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดาที่ผ่าตัดคลอดดีขึ้น รวมถึงส่งผลต่อการเพิ่มอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ ?

เอกสารอ้างอิง

  1. Lau Y, Tha PH, Ho-Lim SST, et al. An analysis of the effects of intrapartum factors, neonatal characteristics, and skin-to-skin contact on early breastfeeding initiation. Matern Child Nutr 2018;14.

วัฒนธรรมส่งผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? ความเชื่อ ค่านิยม ธรรมเนียมปฏิบัติ และวัฒนธรรมส่งผลต่อวิถีในการเลี้ยงและดูแลลูกรวมถึงในเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ด้วย1 ในยุคที่มีการตื่นตัวของกระแสวัฒนธรรมในสมัยกรุงศรีอยุธยา การระลึกถึงรากเหง้าของการพัฒนาเชื้อชาตินั้นเป็นสิ่งที่ดี ที่จะช่วยส่งเสริมให้คนรุ่นใหม่เข้าใจถึงพื้นฐานความเชื่อโบราณในบริบทของสังคมในยุคนั้น อย่างไรก็ตาม การนำค่านิยมในยุคก่อนมาใช้ ควรมีการวิเคราะห์ และปรับให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน

??????????? วัฒนธรรมการมีแม่นม จะเห็นว่าสมเด็จพระนารายณ์มหาราชก็มีแม่นม คือ เจ้าแม่วัดดุสิต ที่มีบุตรของตนเอง คือ เจ้าพระยาโกษาธิบดี ทำให้พระนารายณ์มีความคุ้นเคยกับเจ้าพระยาโกษาธิบดีเนื่องจากเติบโตมาด้วยกัน การที่กษัตริย์และราชวงศ์ชั้นสูงในสมัยก่อนมักมีแม่นมที่จะเป็นผู้ที่ให้นมแก่บุตรแทนแม่ที่ทำการคลอดบุตรนั้น น่าจะเป็นจากในสมัยก่อนต้องการให้สตรีมีบุตรจำนวนมาก เพื่อสืบทอดกิจการและเป็นกำลังในการช่วยงานต่าง ๆ ซึ่งจะเห็นว่าในอดีตสตรีอาจมีบุตรต่อเนื่องกันหัวปีท้ายปี และมีบุตรได้จำนวนมากถึง 10-20 คน โดยเป็นที่ทราบกันว่า หากให้สตรีให้นมบุตรจะทำให้สตรีนั้นเว้นระยะของการมีบุตรออกไป ดังนั้น การมีแม่นมที่จะให้นมลูกแทนจึงเกิดขึ้น แม้ว่าทารกจะไม่ได้รับนมแม่จากมารดาของตนเอง แต่ก็ยังได้รับนมแม่ที่ยังคงมีประโยชน์ แต่ก็มีข้อเสียทำให้ความผูกพันระหว่างมารดาและทารกจะลดลง และหากจะมีการแบ่งปันนมแม่ในปัจจุบันจะมีข้อจำกัดหรือข้อควรระมัดหลายอย่าง2 ค่านิยมนี้ได้ถ่ายทอดมาในสังคมชั้นสูงและการมีแม่นมได้แสดงถึงฐานะความร่ำรวยของครอบครัวนั้น ๆ ด้วย ซึ่งค่านิยมเหล่านี้ยังสืบต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์

??????????? ต่อมา เมื่อมีการติดต่อกับชนชาติอื่น ๆ จึงมีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมและความเชื่อต่าง ๆ ตามมาด้วยโดยค่านิยมนมผงที่เกิดในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมก็ได้เข้ามาในสังคมไทยและเกิดค่านิยมของการเลี้ยงลูกด้วยนมผงในสังคมคนชั้นสูงหรือร่ำรวยและแสดงเศรษฐานะของครอบครัวเช่นเดียวกันกับในยุคที่มีการใช้แม่นม ซึ่งส่งผลต่ออัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่ลดต่ำลงทั่วโลก ดังนั้น ภายหลังองค์การอนามัยโลกจึงออกมาแสดงบทบาทในการปกป้องนมแม่ โดยการกำหนดหลักเกณฑ์ว่าด้วยการตลาดอาหารทารกและเด็กเล็ก และผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อปกป้องการใช้การสื่อสารตลาดของนมผงที่ไม่เหมาะสม จึงเกิดค่านิยมที่จะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในภายหลังต่อมา

เอกสารอ้างอิง

  1. Shin CN, Reifsnider E, McClain D, Jeong M, McCormick DP, Moramarco M. Acculturation, Cultural Values, and Breastfeeding in Overweight or Obese, Low-Income, Hispanic Women at 1 Month Postpartum. J Hum Lact 2018;34:358-64.
  2. Sriraman NK, Evans AE, Lawrence R, Noble L, Academy of Breastfeeding Medicine’s Board of D. Academy of Breastfeeding Medicine’s 2017 Position Statement on Informal Breast Milk Sharing for the Term Healthy Infant. Breastfeed Med 2018;13:2-4.

 

 

การให้นมแม่ในมารดาที่เคยเป็นฝีที่เต้านม

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

มารดาที่เคยเป็นฝีที่เต้านมจะมีความเสี่ยงที่จะเป็นฝีที่เต้านมซ้ำสููงขึ้น ดังนัั้น ข้อแนะนำจึึงควรสอนให้มารดาเข้าเต้าได้อย่างเหมาะสม เพื่อที่จะลดการเกิดการเจ็บหัวนมที่จะนำไปสู่หัวนมแตก เต้านมอักเสบ และเกิดฝีที่เต้านมซ้ำ ในมารดารายนี้ที่เต้านมด้านขวาข้างบนจะเห็นรอยแผลเป็นจากการที่เคยเป็นฝีที่เต้านมและได้รับการเจาะดูดหนองเพื่อรักษา ดังแสดงในวิดีโอด้านล่าง