คลังเก็บหมวดหมู่: คำถามที่พบบ่อย

คำถามที่พบบ่อย

ตัวอย่างการปรับท่าให้นมลูกที่เหมาะสม 1


การสังเกตการจัดท่าให้นมเข้าเต้าที่เหมาะสม สังเกตจากศีรษะและลำตัวทารกอยู่ในแนวเดียวกัน ลำตัวทารกแนบชิดกับมารดา ทารกหันหน้าเข้าหาเต้านมโดยจมูกอยู่ที่เต้านม และมีการประคองรองรับตัวทารกอย่างมั่นคง
-จะสังเกตว่าหลังการปรับเปลี่ยนท่าในการให้นมลููก ลำตัวทารกจะแนบชิดกับมารดา มีการใช้หมอนหรือผ้าช่วยหนุน ทำให้มารดาไม่ต้องเกร็งมือ และลำตัวมารดาไม่ก้ม ซึ่งจะทำให้มารดาไม่ปวดหลัง

ตัวอย่างการจัดท่าให้นมลูกที่ไม่เหมาะสม 1


-การสังเกตการจัดท่าให้นมเข้าเต้าที่เหมาะสม สังเกตจากศีรษะและลำตัวทารกอยู่ในแนวเดียวกัน ลำตัวทารกแนบชิดกับมารดา ทารกหันหน้าเข้าหาเต้านมโดยจมูกอยู่ที่เต้านม และมีการประคองรองรับตัวทารกอย่างมั่นคง
-จะสังเกตว่าการจัดท่าให้นมของมารดารายนี้ ลำตัวทารกห่างจากมารดา มารดาต้องเกร็งมือเพื่อรองรับทารกและก้มตัวให้นมลูก สิ่งนี้จะทำให้ทารกอมหัวนมได้ไม่ลึกและในการให้นมมารดาจะเมื่อยล้าและปวดหลังได้

การสนับสนุนให้การคลอดเกิดในโรงพยาบาลสายสัมพันธ์แม่ลูก

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? ?นมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารกแรกเกิด การคลอดลูกหากเกิดขึ้นในขึ้นในโรงพยาบาลสายสัมพันธ์แม่ลูก เกณฑ์มาตรฐานของโรงพยาบาลสายสัมพันธ์แม่ลูกจะมีส่วนช่วยในการส่งเสริมสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ขณะที่อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของทั่วโลกต่ำกว่าเป้าหมายขององค์การอนามัยโลกที่กำหนดไว้คือร้อยละ 50 โดยที่อัตราของมารดาที่คลอดบุตรในโรงพยาบาลสายสัมพันธ์แม่ลูกต่ำกว่าร้อยละ 101 สิ่งนี้หากมองเป็นโอกาสในการพัฒนาส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยแม่ก็จะนำไปสู่การวิเคราะห์ปัจจัย สาเหตุ และแนวทางการปฏิบัติที่จะส่งเสริมให้อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สูงขึ้นได้ ทั้ง ๆ ที่ดูเหมือนกระแสการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในสังคมไทยมีมากขึ้น แต่ความรู้และทักษะของมารดาในการดูแลลูกให้ได้รับนมแม่กลับน้อยลง บุคลากรทางการแพทย์ที่เป็นแกนนำในการส่งเสริมสุขภาพ ซึ่งทราบว่า ?การได้รับนมแม่เป็นรากฐานที่ดีที่พัฒนาสุขภาพของมนุษย์? ?ควรต้องร่วมกันวางแผนรวมถึงสร้างโอกาสให้มารดาได้มีโอกาสคลอดในโรงพยาบาลสายสัมพันธ์แม่ลูก เนื่องจากจะมีกระบวนการที่ช่วยสร้างความรู้และฝึกทักษะให้แก่มารดาให้มีความมั่นใจในการให้นมลูก นอกจากนี้ในการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของกระแสโลกยังมีการสนับสนุนการเลี้ยงด้วยนมแม่เด็กป่วย มีการกำหนดบันไดสิบขั้นในการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในทารกแรกเกิดที่ป่วย ทารกที่อ่อนแอ น้ำหนักตัวน้อยหรือคลอดก่อนกำหนดด้วย1 ซึ่งถือว่าเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่จะมีส่วนช่วยให้ทารกทุกคนได้มีโอกาสกินนมแม่มากขึ้น

เอกสารอ้างอิง

  1. Spatz DL. Beyond BFHI: The Spatz 10-Step and Breastfeeding Resource Nurse Model to Improve Human Milk and Breastfeeding Outcomes. J Perinat Neonatal Nurs 2018;32:164-74.

 

 

การจัดการความรู้เรื่องปัญหาทารกปฏิเสธนมแม่

การจัดการความรู้เรื่องปัญหาทารกปฏิเสธนมแม่

 

การบีบน้ำนมด้วยมือช่วยการให้นมแม่สำเร็จได้

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? ? ?ขณะที่มารดานอนพักหลังคลอดอยู่ที่หอผู้ป่วยหลังคลอด ควรมีการสอนการบีบน้ำนมด้วยมือให้แก่มารดา การบีบน้ำนมด้วยมือนอกจากเป็นวิธีหนึ่งที่ใช้ในการเก็บน้ำนม ซึ่งจะช่วยในกรณีที่มารดาจำเป็นต้องแยกจากทารกหรือกลับไปทำงานแล้ว การบีบน้ำนมด้วยมือยังช่วยในการแสดงว่าปริมาณน้ำนมของมารดามีเพียงพอ ทำให้ลดความวิตกกังวลเรื่องน้ำนมไม่เพียงพอที่เป็นปัญหาที่พบบ่อยที่ทำให้มารดาหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ดังนั้น การให้ความสำคัญโดยเอาใจใส่กับการสอนให้มารดาสามารถบีบน้ำนมด้วยมือได้ด้วยความมั่นใจ จะช่วยให้มารดาคงการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และประสบความสำเร็จได้1 อย่างไรก็ตาม หลังจากการสอนการบีบเก็บน้ำนมแล้ว การสอนเรื่องการเก็บรักษาน้ำนมพร้อมมีเอกสารที่จะให้มารดาสามารถกลับไปทบทวนในกรณีที่รับฟังไปแล้วอาจมีการหลงลืม ก็จะช่วยให้การให้การดูแลส่งเสริมและสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สมบูรณ์ขึ้น

เอกสารอ้างอิง

  1. Steurer LM, Smith JR. Manual Expression of Breast Milk: A Strategy to Aid in Breastfeeding Success. J Perinat Neonatal Nurs 2018;32:102-3.