คลังเก็บหมวดหมู่: ความรู้สำหรับนักศึกษา

ความรู้สำหรับนักศึกษา

เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การลงทุนที่คุ้มค่าที่สุดในยุคนี้

IMG_1697

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ??ก่อนที่จะคิดวางแผนลงทุนในเรื่องใด คงต้องมีความเข้าใจถึงประโยชน์ของสิ่งที่จะลงทุนก่อน ประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นั้น จะลดการเจ็บป่วยและเสียชีวิตของทารก เพิ่มความเฉลียวฉลาด เพิ่มความสำเร็จในการศึกษา และเพิ่มความสำเร็จในการหารายได้เมื่อเข้าสู่วัยผู้ใหญ่1 ขณะที่ไม่พบผลเสียใดๆ จากนมแม่ในทารกปกติ ดังนั้น หากคุณพ่อคุณแม่ต้องการลงทุน การสร้างให้ลูกมีสุขภาพที่แข็งแรง เฉลียวฉลาด และประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน จึงเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าที่สุด เมื่อเป็นเช่นนี้ เราจึงเห็นธนาคารโลก (World Bank) ที่ตั้งเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนจากการขจัดความยากจนและกระตุ้นความเจริญรุ่งเรืองร่วมกันของบรรดาสมาชิก สนับสนุนให้ลงทุนในการสร้างคนจากการเริ่มต้นด้วยการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ซึ่งจะเป็นพื้นฐานของการที่จะนำไปสู่เป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืนได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Hansen K. Breastfeeding: a smart investment in people and in economies. Lancet 2016;387:416.

การผ่าตัดคลอด อุปสรรคที่ยิ่งใหญ่ในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

S__38208154

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ??การผ่าตัดคลอด ในอดีตถือว่าเป็นความจำเป็นที่ต้องมีข้อบ่งชี้ชัดเจนเนื่องจากความเสี่ยงของการผ่าตัดคลอดสูงกว่าการให้มารดาคลอดปกติทางช่องคลอด แต่เมื่อการแพทย์พัฒนาขึ้น ภาวะแทรกซ้อนของการผ่าตัดคลอดลดลง ทำให้ความใส่ใจและเข้มงวดในข้อบ่งชี้ในการผ่าตัดคลอดลดลงด้วย เห็นได้จากอัตราการผ่าตัดคลอดที่เพิ่มสูงขึ้นทั้งในโรงพยาบาลรัฐบาลและโรงพยาบาลเอกชน ในโรงพยาบาลรัฐบาลนั้น อัตราการผ่าตัดคลอดโดยรวมจะพบราวร้อยละ 30-50 ขณะที่ในโรงพยาบาลเอกชนพบอัตราการผ่าตัดคลอดราวร้อยละ 70-90 ซึ่งการผ่าตัดคลอดที่เพิ่มขึ้นนี้ส่วนหนึ่งเป็นจากความกังวลในเรื่องการฟ้องร้อง ซึ่งการที่แพทย์ดูแลการคลอดปกติ บางครั้งหากเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ไม่ได้คาดคิด มารดาและครอบครัวจะตั้งคำถามว่า ?ทำไม่หมอไม่ตัดสินใจผ่าตัดคลอด? ความเชื่อและค่านิยมลึกๆ ที่ยังฝังใจมารดาและครอบครัวว่า การผ่าตัดคลอดน่าจะมีความปลอดภัยในการคลอดมากกว่าจึงอาจมีผลต่ออัตราการผ่าตัดคลอดด้วย ผลของการผ่าตัดคลอดนั้น นอกจากความเสี่ยงต่างๆ ของมารดาและทารกที่พบสูงขึ้นแล้ว ยังพบว่ามีผลเสียต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ด้วย โดยมารดาที่ผ่าตัดคลอดจะเริ่มการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ช้ากว่า การเจ็บแผลที่มากกว่าส่งผลต่อการขยับตัว การจัดท่า และการนำทารกเข้าเต้าได้ไม่ดี ซึ่งส่งผลต่อการหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เร็วกว่าที่ควร1,2 การที่พบว่าอัตราการผ่าตัดคลอดเพิ่มสูงขึ้น จึงส่งผลเสียและเป็นอุปสรรคที่สำคัญอันหนึ่งต่ออัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

เอกสารอ้างอิง

  1. Hobbs AJ, Mannion CA, McDonald SW, Brockway M, Tough SC. The impact of caesarean section on breastfeeding initiation, duration and difficulties in the first four months postpartum. BMC Pregnancy Childbirth 2016;16:90.
  2. Buranawongtrakoon S, Puapornpong P. Comparison of LATCH scores at the second day postpartum between mothers with cesarean sections and those with normal deliveries. Thai J Obstet and Gynaecol 2016;24:6-13.

การใช้สมุดบันทึกของมารดาช่วยในการเรียนรู้เรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

IMG_1734

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ??การบันทึกข้อมูลจะมีความถูกต้องมากกว่าการจดจำเพียงอย่างเดียว เช่นเดียวกันกับการศึกษาเรียนรู้ในเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การใช้สมุดบันทึกการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (breastfeeding diaries) จะช่วยให้แพทย์ได้รับรู้และเรียนรู้มากขึ้นโดยเฉพาะการบันทึกข้อมูลที่มีความละเอียดอ่อนหรือมีความซับซ้อน ซึ่งนอกจากจะช่วยในการวางแผนการให้การดูแลรักษาได้อย่างเหมาะสมแล้ว ยังช่วยในเรื่องการเก็บข้อมูลเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ด้วย1 ดังนั้น การเอาใจใส่ของแพทย์ที่ทำสมุดบันทึกการดูแลการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้กับมารดา และการที่มารดาเห็นความสำคัญของการบันทึกข้อมูล จะช่วยพัฒนาการเรียนรู้เรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต่อไปในอนาคตได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Hinsliff-Smith K, Spencer R. Researcher perspectives from a study of women’s experiences of breastfeeding. Nurse Res 2016;23:13-7.

 

ใช้ยาแก้ปวดพาราเซตามอลระหว่างท้องอาจเสี่ยงต่อพฤติกรรมผิดปกติในทารก

IMG_9372

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ???การช่างสังเกตและเอาใจใส่กับความผิดปกติทางพฤติกรรมของทารกเมื่อเจริญเติบโตขึ้น ได้แก่ การอยู่ไม่สุก ไม่ค่อยมีสมาธิ มีอารมณ์ที่รุนแรง ไม่เหมาะสมพบเพิ่มขึ้นมากในปัจจุบัน เช่นเดียวกันกับการใช้ยา โดยในระหว่างที่ตั้งครรภ์มารดามีการใช้ยาที่หลากหลาย แต่หนึ่งในยาที่พบว่ามีการใช้บ่อยที่สุดตัวหนึ่งคือ ยาพาราเซตามอล ซึ่งเมื่อมีการศึกษาโดยการเก็บข้อมูลการใช้ยาในระหว่างการตั้งครรภ์ไตรมาสที่สองและที่สาม พบว่าการใช้ยาพาราเซตามอลมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมของทารกที่ผิดปกติเมื่อทารกเจริญเติบโตขึ้น เช่น การมีลักษณะที่อยู่ไม่สุก และมีความผิดปกติทางด้านอารมณ์ที่พบสูงมากขึ้น โดยการใช้ยาในช่วงไตรมาสที่สามจะมีความเสี่ยงมากกว่าการใช้ยาในช่วงไตรมาสที่สอง และความเสี่ยงนี้ยังคงพบเมื่อตัดตัวแปรกวนที่มีผลต่อพฤติกรรมที่ผิดปกติออกแล้ว1 คำถามที่ตามมา คือ ยาพาราเซตามอลยังสามารถเลือกใช้ในมารดาที่ตั้งครรภ์ได้หรือไม่ จึงจำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมให้ได้ข้อมูลที่มากพอที่จะสรุปผล รวมตั้งศึกษาและอธิบายถึงกลไกที่ทำให้เกิดความผิดปกติของพฤติกรรมของทารกเมื่อเจริญเติบโตขึ้น อย่างไรก็ตาม ในการใช้ยา หลักของการเลือกใช้คือ หากชั่งน้ำหนักระหว่างข้อดีและข้อเสียที่จะเกิดขึ้นแล้ว ข้อดีมีมากกว่าข้อเสีย การใช้ยาตัวนั้นก็อาจได้รับการพิจารณาให้ใช้ได้ภายใต้ดุลยพินิจของแพทย์และการตัดสินใจของมารดาและครอบครัวที่รับทราบข้อมูลอย่างครบถ้วน

เอกสารอ้างอิง

  1. Stergiakouli E, Thapar A, Davey Smith G. Association of Acetaminophen Use During Pregnancy With Behavioral Problems in Childhood: Evidence Against Confounding. JAMA Pediatr 2016.

ความจำเป็นในการใช้ยาปฏิชีวนะระหว่างมารดามีเต้านมอักเสบ

S__38208108

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ???การใช้ยาปฏิชีวนะในระหว่างการให้นมบุตรในขณะที่มารดามีเต้านมอักเสบนั้นควรเลือกใช้อย่างสมเหตุสมผล การใช้ยาปฏิชีวนะจะมีประโยชน์หากมีการติดเชื้อที่เต้านมและทำให้เต้านมอักเสบ หรือมีการอักเสบของเต้านมอยู่ก่อนและมีภาวะแทรกซ้อนของการติดเชื้อแบคทีเรียร่วมเข้าไปด้วย เนื่องจากบางส่วนของการอักเสบของเต้านมเกิดจากการคั่งจากการขังของน้ำนมไปกดเบียดทำลายเยื่อบุผิวแล้วกระตุ้นกลไกที่ทำให้เกิดการอักเสบโดยยังไม่มีการติดเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วย โดยจะเห็นได้จากผลของการศึกษาการใช้ยาปฏิชีวนะในระหว่างที่มารดาได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นเต้านมอักเสบที่พบว่า ไม่มีความแตกต่างกันของผลการรักษาระหว่างการใช้ยาปฏิชีวนะกับไม่ใช้ แต่จะใช้การช่วยระบายน้ำนมที่คั่งหรือขังเป็นหลักแทน1 ดังนั้น การที่แพทย์จะเลือกใช้ยาปฏิชีวนะในมารดาที่มีภาวะเต้านมอักเสบ ควรพิจารณาให้ในมารดาที่มีความเสี่ยงจะมีการติดเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วย โดยดูจากการมีไข้สูงนานเกิน 24 ชั่วโมง มารดามีแผลอักเสบและติดเชื้อที่หัวนม หรือในกรณีที่ให้การรักษาโดยการช่วยระบายน้ำนมออกจากเต้านมแล้วไม่ดีขึ้น ซึ่งเป็นข้อแนะนำที่ควรปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ เพื่อการเลือกใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล

เอกสารอ้างอิง

  1. Jahanfar S, Ng CJ, Teng CL. Antibiotics for mastitis in breastfeeding women. Sao Paulo Med J 2016;134:273.