คลังเก็บหมวดหมู่: ความรู้สำหรับนักศึกษา

ความรู้สำหรับนักศึกษา

การส่งเสริมสายสัมพันธ์แม่ลูกในระยะแรกหลังคลอด (Early bonding)

59

? ? ? ? ? ? ? ?ตามธรรมชาติมารดาและทารกย่อมมีสายสัมพันธ์กันตั้งแต่รู้สึกว่ามีการตั้งครรภ์ ทารกเริ่มมีการดิ้นหรือเคลื่อนไหวภายในครรภ์มารดา การเปลี่ยนแปลงขนาดของหน้าท้องที่แสดงว่ามีการเจริญเติบโตของทารก การลูบท้องส่งสัมผัสจากมารดาสู่ทารก การพูดคุยของมารดากับทารกในครรภ์ จนกระทั่งถึงกระบวนการของการคลอดและการให้ทารกได้กินนมแม่ แต่การส่งเสริมสายสัมพันธ์แม่ลูกนั้นในปัจจุบันถือเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อช่วยสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และลดปัญหาการทอดทิ้งลูกของมารดาวัยรุ่น

??????????? การส่งเสริมสายสัมพันธ์แม่ลูกควรเริ่มตั้งแต่ทราบว่ามารดามีการตั้งครรภ์ การให้ความรู้ความเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ในระยะฝากครรภ์ จะทำให้มารดาสังเกตการเปลี่ยนแปลงและรู้สึกรับรู้ถึงทารกมากขึ้น ดังนั้น แพทย์จึงไม่ควรละเลยกับการให้ความสนใจในการอธิบายถึงการเปลี่ยนแปลงในระยะต่างๆ ในระหว่างการตั้งครรภ์ขณะฝากครรภ์ และเตรียมแนะนำการเปลี่ยนแปลงที่มารดาต้องเผชิญพร้อมการปฏิบัติตัวที่เหมาะสมเพื่อเตรียมความพร้อมในการคลอดบุตรและเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้อย่างเหมาะสมในระยะหลังคลอด อย่างไรก็ตาม สำหรับการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นั้น ระยะที่มีความสำคัญมากคือ ระยะเริ่มต้นการให้ลูกได้กินนมแม่หรือระยะแรกหลังคลอดนั่นเอง

 

ทารกมีความเสี่ยงด้านสุขภาพหากไม่ได้กินนมแม่

img_2194

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? นมแม่ให้ภูมิคุ้มกันแก่ทารก ซึ่งป้องกันการติดเชื้อที่ทำให้เกิดความเจ็บป่วย1-3 โดยส่งผลให้ทารกมีพัฒนาการที่ล่าช้า เกิดความพิการ และลดการเสียชีวิตได้ สำหรับผลในระยะยาวเมื่อทารกเจริญเติบโตขึ้น จะช่วยลดการเกิดภาวะอ้วน4 โรคเบาหวาน5,6 ไขมันในเลือดสูง7 ?ที่เป็นโรคที่มีความเสี่ยงจากพฤติกรรมการกิน จะเห็นว่า หากทารกขาดการเริ่มต้นการกินนมแม่ที่เป็นอาหารที่เหมาะสมและดีที่สุดสำหรับทารกตั้งแต่แรกเกิดแล้ว? ทารกที่มีความเสี่ยงด้านสุขภาพในหลากหลายด้านที่พบเป็นปัญหาใหญ่ในวัยผู้ใหญ่ และเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของคนทั่วโลก ดังนั้น คุณแม่ทุกท่านส่วนใหญ่ปรารถนาให้ลูกมีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรงที่จะเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการประสบความสำเร็จของชีวิตในอนาคต ควรส่งเสริมการให้ลูกได้กินนมแม่ตั้งแต่แรกเกิด ?

เอกสารอ้างอิง

  1. Abrahams SW, Labbok MH. Breastfeeding and otitis media: a review of recent evidence. Curr Allergy Asthma Rep 2011;11:508-12.
  2. Vogazianos E, Vogazianos P, Fiala J, Janecek D, Slapak I. The effect of breastfeeding and its duration on acute otitis media in children in Brno, Czech Republic. Cent Eur J Public Health 2007;15:143-6.
  3. Dogaru CM, Nyffenegger D, Pescatore AM, Spycher BD, Kuehni CE. Breastfeeding and childhood asthma: systematic review and meta-analysis. Am J Epidemiol 2014;179:1153-67.
  4. Verstraete SG, Heyman MB, Wojcicki JM. Breastfeeding offers protection against obesity in children of recently immigrated Latina women. J Community Health 2014;39:480-6.
  5. Patelarou E, Girvalaki C, Brokalaki H, Patelarou A, Androulaki Z, Vardavas C. Current evidence on the associations of breastfeeding, infant formula, and cow’s milk introduction with type 1 diabetes mellitus: a systematic review. Nutr Rev 2012;70:509-19.
  6. Pereira PF, Alfenas Rde C, Araujo RM. Does breastfeeding influence the risk of developing diabetes mellitus in children? A review of current evidence. J Pediatr (Rio J) 2014;90:7-15.
  7. Owen CG, Whincup PH, Kaye SJ, et al. Does initial breastfeeding lead to lower blood cholesterol in adult life? A quantitative review of the evidence. Am J Clin Nutr 2008;88:305-14.

 

นมแม่ช่วยเพิ่มน้ำหนักทารกได้ดีในหกเดือนแรกหลังคลอด

img_2192

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? ?ทารกที่กินนมแม่จะได้รับภูมิคุ้มกันจากมารดาผ่านทางน้ำนม ซึ่งป้องกันการติดเชื้อและอาการท้องเสียที่พบได้บ่อยและอาจเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตของทารกได้ ซึ่งการป้องกันการติดเชื้อและอาการท้องเสียในทารกมีผลต่อการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักทารก และทำให้ทารกเจริญเติบโตได้ดี โดยจากการศึกษาพบว่า การให้ลูกได้กินนมแม่มีความสัมพันธ์ที่ดีกับการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักทารกในช่วงหกเดือนแรกหลังคลอด แต่ในช่วง 6-12 เดือนหลังคลอดการมีอาการท้องเสียของทารกจะมีความสัมพันธ์ที่สำคัญกับการลดลงของน้ำหนักของทารก1 ซึ่งสิ่งนี้บ่งบอกถึงคุณประโยชน์ของนมแม่ที่ช่วยในการป้องกันการติดเชื้อและอาการท้องเสียของทารกในช่วงหกเดือนแรกโดยเฉพาะในทารกที่ได้รับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว แต่เมื่อมีการให้อาหารตามวัยสำหรับทารก การดูแลเรื่องความสะอาดของอาหารนั้นเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องใส่ใจเพื่อป้องกันการลดลงของน้ำหนักทารก ที่ส่วนใหญ่เกิดจากติดเชื้อและทำให้เกิดอาการท้องเสีย

เอกสารอ้างอิง

  1. Wright MJ, Mendez MA, Bentley ME, Adair LS. Breastfeeding modifies the impact of diarrhoeal disease on relative weight: a longitudinal analysis of 2-12 month-old Filipino infants. Matern Child Nutr 2016.

 

การที่แม่ทำงานน้อยในช่วงให้นมบุตรจะช่วยเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

img_2109

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? ? การกลับไปทำงานหลังคลอดเป็นปัญหาที่สำคัญและเป็นปัญหาใหญ่ที่กระทบต่ออัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวหกเดือน เนื่องจากการที่มารดาต้องกลับไปทำงานต้องมีการวางแผนที่จะให้ลูกได้กินนมแม่ โดยเฉพาะหากต้องการที่จะให้ลูกกินนมแม่อย่างเดียว ยิ่งต้องมีการวางแผนที่ดี ซึ่งมารดาอาจพบอุปสรรคต่างๆ ที่ต้องแก้ปัญหา เช่น การเดินทางกลับมาให้นมลูก การบีบน้ำนมหรือการปั๊มนมเก็บไว้ให้ลูก การฝึกผู้ที่ดูแลให้สามารถให้นมแม่ที่เก็บแช่แข็งไว้ได้อย่างเหมาะสม มีการศึกษาถึงชั่วโมงการทำงานของมารดาหลังการกลับไปทำงานและความสัมพันธ์กับการเลี้ยงลุกด้วยนมแม่ พบว่า หากมารดาหลังการกลับไปทำงานแล้ว ชั่วโมงของการทำงานน้อยกว่า 19 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ จะไม่ส่งผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่แม้มารดาต้องกลับไปทำงาน1 นั่นคือ หากทำงาน 5 วันจะทำงานประมาณวันละ 4 ชั่วโมงหรือครึ่งวัน ซึ่งเป็นเรื่องน่าสนใจและท้าทายที่หากสามารถลดเวลาทำงานของมารดาในช่วงที่มารดาให้นมบุตรได้ จะช่วยในเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ อย่างไรก็ตาม การศึกษานี้เป็นการศึกษาในประเทศออสเตรเลีย การนำมาปรับใช้ในประเทศไทยเป็นเรื่องที่ต้องการการศึกษาเพิ่มเติมต่อไป? เนื่องจากอาจมีบริบทหลายอย่างที่แตกต่างกัน รัฐบาลหรือผู้ที่มีบทบาทในการส่งเสริมหรือสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จึงอาจมองเห็นแนวทางในการลดอุปสรรคของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จากการกลับไปทำงานของมารดา ซึ่งหากสามารถมีนโยบายสาธารณะที่ลดการทำงานของมารดาในช่วงให้นมบุตรได้ เด็กไทยจะมีโอกาสได้กินนมแม่มากขึ้น

เอกสารอ้างอิง

  1. Xiang N, Zadoroznyj M, Tomaszewski W, Martin B. Timing of Return to Work and Breastfeeding in Australia. Pediatrics 2016;137.

แม่ที่เป็นแม่บ้านถุงพลาสติกอาจเสี่ยงต่อการมีลูกที่มีบุตรยาก

img_2126

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? ? ?แม่ที่เป็นแม่บ้านในยุคปัจจุบันมักซื้ออาหารรับประทานโดยเป็นอาหารที่ใส่ในถุงพลาสติก ซึ่งจะมีความเสี่ยงในการได้รับสารพิษที่มักใช้ในการทำละลายพลาสติกได้แก่ di-n-butyl phthalate หรือ DBP ซึ่งหากได้รับสารนี้ในปริมาณที่มากที่จะผลเสียต่อร่างกายมารดาขณะตั้งครรภ์อาจมีความเสี่ยงในการเกิดความพิการหรือความผิดปกติของทารก และยังเป็นสารก่อมะเร็งด้วย นอกจากนี้ ในมารดาที่ได้รับสาร DBP ขณะให้นมลูก สารเหล่านี้จะผ่านไปยังทารก มีรายงานว่าทำให้เกิดความผิดปกติในฮอร์โมนเพศของทารกเพศหญิงในสัตว์ทดลอง ซึ่งอาจทำให้มีผลต่อการมีลูกยากในอนาคต1 ดังนั้น การที่สภาพสังคมในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไป การใช้ชีวิตเพิ่งพาถุงพลาสติกมากขึ้น อาจเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เราพบปัญหาของการมีบุตรยากเพิ่มขึ้นกว่าในสมัยก่อนได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Xie Z, Wang J, Dai F, et al. Effects of maternal exposure to di-n-butyl phthalate during pregnancy and breastfeeding on ovarian development and function of F1 female rats. Environ Toxicol Pharmacol 2016;43:38-43.