คลังเก็บหมวดหมู่: ความรู้สำหรับนักศึกษา

ความรู้สำหรับนักศึกษา

ขยะอิเลคทรอนิคส์ส่งผลกระทบต่อนมแม่

img_2188

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ในความเจริญก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีที่มีการพัฒนาขึ้นอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน มีการใช้เครื่องไฟฟ้า อุปกรณ์อิเลคทรอนิคส์ที่หลากหลายมากมายในชีวิตประจำวัน ซึ่งในอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิคส์เหล่านี้อาจส่งผ่านสารพิษที่มีผลต่อสิ่งแวดล้อมรวมทั้งมีผลกระทบต่อสัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยในอุปกรณ์ไฟฟ้าหรืออิเลคทรอนิคส์ที่มีสาร Polybrominated diphenyl ethers หรือ PBDE จะมีการกระจายของสารเหล่านี้ออกจากอุปกรณ์ไฟฟ้าหรืออิเคลทรอนิคส์เมื่ออุปกรณ์เหล่านี้มีอุณหภูมิสูงขึ้น ทำให้พบสารพิษเหล่านี้ในสิ่งแวดล้อมต่างๆ เนื้อสัตว์ ผลิตภัณฑ์จากนม รวมถึงในนมแม่ ซึ่งสารพิษเหล่านี้มีผลกระทบต่อการทำงานของฮอร์โมนต่างๆ ในร่างกาย ได้แก่ ไทรอยด์ฮอร์โมน และเอสโตรเจน ซึ่งอาจมีผลต่อการเจริญเติบโต พฤติกรรม และการแสดงออกทางเพศที่พบมีการเบี่ยงเบนทางเพศที่หลากหลายในปัจจุบัน นอกจากนี้ยังเป็นสารที่กระตุ้นเกิดความผิดปกติของโครโมโซม ทำให้เกิดมะเร็ง ดังนั้นในปัจจุบัน จึงพยายามหลีกเลี่ยงการใช้สารเหล่านี้ในอุปกรณ์ไฟฟ้าหรืออิเลคโทรนิคส์ อย่างไรก็ตาม มีการสำรวจสารเหล่านี้ในนมแม่ของมารดาในประเทศจีน และพบว่ามารดาที่รับประทานเนื้อสัตว์สูงอาจมีแนวโน้มจะพบสารพิษเหล่านี้สูงด้วย1 การให้ความสนใจใส่ใจกับสิ่งแวดล้อมจึงมีความจำเป็นนอกเหนือจากการดูแลส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

เอกสารอ้างอิง

  1. Yang L, Lu Y, Wang L, Chang F, Zhang J, Liu Y. Levels and Profiles of Polybrominated Diphenyl Ethers in Breast Milk During Different Nursing Durations. Bull Environ Contam Toxicol 2016;97:510-6.

 

นมแม่มีสารที่ช่วยในการเจริญเติบโตของหลอดเลือด

img_2132

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? ? นมแม่มีสารต่างๆ มากมายกว่า 200 ชนิด ทั้งที่ทราบว่าเป็นประโยชน์ต่อทารกและยังไม่ทราบว่ามีประโยชน์อย่างไร เมื่อเร็วๆ นี้มีการศึกษาพบว่าในนมแม่มีสารที่ช่วยในการเจริญเติบโตของหลอดเลือด (angiogenesis) ซึ่งกระตุ้นการเจริญเติบโตของหลอดเลือด โดยจะเป็นประโยชน์ต่อทั้งในด้านการเจริญเติบโต พัฒนาการและการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ และพบว่านมแม่ของมารดาที่คลอดก่อนกำหนดจะมีโปรตีนที่ช่วยในการเจริญเติบโตของหลอดเลือด (angioproteins) ชนิดที่ 1 ต่ำกว่าในนมแม่ของมารดาที่คลอดครบกำหนด ขณะที่โปรตีนที่ช่วยในการเจริญเติบโตของหลอดเลือดชนิดที่ 2 ไม่พบว่ามีความแตกต่างกัน1 อย่างไรก็ตาม ยังไม่ทราบถึงเหตุผลของระดับของโปรตีนที่ช่วยในการเจริญเติบโตของหลอดเลือดที่มีระดับแตกต่างกันในมารดาที่คลอดก่อนกำหนดและมารดาที่คลอดครบกำหนด ซึ่งจำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมต่อไป

เอกสารอ้างอิง

  1. Yesildal F, Koc E, Tas A, Ozgurtas T. Angiopoietins in Human Breast Milk. Breastfeed Med 2016;11:366-9.

ทารกที่มีมารดาอ้วนจะมีโอกาสอ้วนน้อยกว่าหากกินนมแม่

img_2114

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

  1. ? ? ? ? ? ? ? ?การที่มารดาอ้วนจะมีความเสี่ยงที่จะเกิดทารกที่มีภาวะอ้วนเพิ่มขึ้น และระหว่างการตั้งครรภ์จะมีภาวะแทรกซ้อนได้บ่อยกว่ามารดาที่มีดัชนีมวลกายอยู่ในเกณฑ์ปกติ ภาวะแทรกซ้อนที่พบเพิ่มขึ้นได้แก่ เบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ ครรภ์เป็นพิษ การคลอดยาก ทารกตัวโต ทารกคลอดติดไหล่ ทารกมีภาวะน้ำตาลต่ำ การตกเลือดหลังคลอด การติดเชื้อหลังคลอด ซึ่งภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้ อาจทำให้มารดาเริ่มการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ช้า ร่วมกับการที่มารดามีภาวะอ้วนจะส่งผลต่อระดับของฮอร์โมนอินซูลิน ซึ่งจะมีผลทำให้นมแม่มาช้า (delayed lactogenesis) จึงมักพบว่า มารดาที่มีภาวะอ้วนจะเริ่มให้นมลูกได้ช้าและมีอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต่ำกว่ามารดาที่มีดัชนีมวลกายปกติ อย่างไรก็ตาม หากมารดาสามารถเริ่มต้นการกระตุ้นดูดนมได้เร็วคือ ภายในหนึ่งชั่วโมงแรกหลังคลอดจะช่วยเพิ่มอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ และในมารดาที่มีภาวะอ้วนหากเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ลูกที่กินนมแม่จะมีโอกาสที่จะเกิดภาวะอ้วนได้น้อยกว่ามารดาที่ให้ลูกกินนมผงดัดแปลงสำหรับทารก1

เอกสารอ้างอิง

  1. Yeung H, Leff M, Rhee KE. Effect of Exclusive Breastfeeding Among Overweight and Obese Mothers on Infant Weight-for-Length Percentile at 1 Year. Breastfeed Med 2016.

 

มะเร็งไทรอยด์ป้องกันได้โดยให้ลูกกินนมแม่

img_2198

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ?มะเร็งไทรอยด์เป็นมะเร็งที่พบมากขึ้นในช่วงสิบปีที่ผ่านมาโดยเฉพาะในสตรี โดยขณะตั้งครรภ์ ต่อมไทรอยด์ทำงานเพิ่มขึ้น และฮอร์โมนเอสโตรเจนมีผลต่อเซลล์มะเร็งไทรอยด์ ดังนั้น จึงมีการศึกษาถึงความสัมพันธ์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่กับมะเร็งไทรอยด์ ซึ่งจากการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ข้อมูลจากหลายงานวิจัย (meta-analysis) พบว่า มารดาที่เคยให้ลูกกินนมแม่จะมีความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งไทรอยด์ลดลงร้อยละ 9?โดยหากมารดาให้ลูกกินนมแม่เพิ่มขึ้นทุกหนึ่งเดือนจะลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งไทรอยด์ลงเพิ่มขึ้นร้อยละ 4 1 จะเห็นว่า การให้ลูกกินนมแม่นั้น ลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งหลายอย่างในมารดา ได้แก่ มะเร็งรังไข่ มะเร็งเต้านม และรวมถึงมะเร็งไทรอยด์ด้วย

เอกสารอ้างอิง

  1. Yi X, Zhu J, Zhu X, Liu GJ, Wu L. Breastfeeding and thyroid cancer risk in women: A dose-response meta-analysis of epidemiological studies. Clin Nutr 2016;35:1039-46.

การเยี่ยมบ้านติดตามการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในชุมชน

S__45850763

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? ?ความใกล้ชิดและการดูแลอย่างต่อเนื่องหลังคลอดในชุมชน โดยเฉพาะการเยี่ยมบ้าน หากสามารถทำได้ในสัปดาห์แรกหลังคลอดจะช่วยในการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้เป็นอย่างดี เนื่องจากหลังจากการที่มารดาออกจากโรงพยาบาล เมื่อกลับมาที่บ้าน สิ่งแวดล้อมที่บ้าน บางส่วนอาจจะสนับสนุนการให้ลูกได้กินนมแม่ แต่บางส่วนอาจเป็นปัญหาหรืออุปสรรคในการที่มารดาจะดูแลให้ลูกได้กินนมแม่ ซึ่งการที่บุคลากรทางการแพทย์ได้เข้าไปเยี่ยมบ้านของมารดา ทราบบรรยากาศ ข้อจำกัด ปัญหาและอุปสรรคของมารดาที่ต้องเผชิญเมื่ออยู่ที่บ้าน จะทำให้สามารถให้คำแนะนำและให้คำปรึกษา รวมทั้งทางเลือกต่างๆ ในการดูแลทารกได้อย่างเหมาะสมกว่า มีการศึกษาเปรียบเทียบการดูแลการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และการเจริญเติบโตของทารกที่ติดตามดูแลที่แผนกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลกับที่ติดตามดูแลในศูนย์สุขภาพในชุมชน พบว่า อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในการติดตามดูแลที่ศูนย์สุขภาพชุมชนมีอัตราที่สูงกว่า1 สิ่งนี้แสดงถึง ความใกล้ชิดและความเข้าใจในสิ่งแวดล้อม การแก้ปัญหาและลดอุปสรรคที่อาจจะเข้าถึงได้มากกว่าในศูนย์สุขภาพชุมชน ซึ่งส่งผลต่ออัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่ดีกว่า

เอกสารอ้างอิง

  1. Yu C, Binns CW, Lee AH. Comparison of breastfeeding rates and health outcomes for infants receiving care from hospital outpatient clinic and community health centres in China. J Child Health Care 2016;20:286-93.