คลังเก็บหมวดหมู่: ความรู้สำหรับนักศึกษา

ความรู้สำหรับนักศึกษา

การช่วยแก้ปัญหาทารกติดจุก

การแก้ไขปัญหาทารกติดจุก อาจต้องให้ทารกกินนมจากเต้าขณะง่วงนอนแล้วป้อนนมจากขวดนมพร้อมกันกับการดูดนมจากเต้า เพื่อให้ทารกค่อย ๆ ปรับตัวและคุ้นเคยกับการดูดนมจากเต้า


การเปิดวิดีโอประกอบเพลงช่วยส่งเสริมการให้นมลูกได้

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? การสื่อสารที่จะสนับสนุนและส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นั้น ควรมีการเลือกให้เหมาะสมกับกลุ่มของมารดาที่จะรับฟัง มีการศึกษาถึงทางเลือกในการสื่อสารการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่โดยการใช้สื่อวิดีโอประกอบเพลงหรือ music video เกี่ยวกับการให้นมลูกในกลุ่มมารดาวัยรุ่นพบว่า ช่วยส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ และทำให้มารดารู้สึกผ่อนคลายมากขึ้นหลังการให้นมลูก1 ดังนั้น การที่จะนำข้อมูลงานวิจัยนี้ไปปรับใช้ต้องเลือกกลุ่มมารดาในกลุ่มวัยรุ่นที่ชอบฟังเพลง และต้องเลือกเพลงและวิดีโอประกอบเพลงที่มีความเหมาะสมกับวัยของมารดาที่รับฟังด้วย จึงจะช่วยให้เกิดผลที่ดีในการจัดการดูแลส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

เอกสารอ้างอิง

  1. Austen EL, Beadle J, Lukeman S, Lukeman E, Aquino N. Using a Music Video Parody to Promote Breastfeeding and Increase Comfort Levels Among Young Adults. J Hum Lact 2017;33:560-9.

หลังคลอด ทารกส่วนใหญ่จะถูกแยกจากมารดา

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? ในกระบวนการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นั้น การให้ทารกได้รับการโอบกอดสัมผัสเนื้อแนบเนื้อในชั่วโมงแรกหลังคลอดถือเป็นหนึ่งในกระบวนการที่มีความสำคัญมากที่สุด เนื่องจากจะเป็นการเริ่มต้นที่ดี โดยพบว่าทารกได้เริ่มต้นการดูดนมแม่ภายในหนึ่งชั่วโมงแรกเพียงร้อยละ 45 ในประเทศที่ยังไม่พัฒนาหรือกำลังพัฒนา ซึ่งเป็นตัวเลขที่ยังไม่สูง การที่ทารกได้เริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ภายในหนึ่งชั่วโมงจะช่วยในการลดการเสียชีวิตของทารกได้ หากทารกเริ่มต้นดูดนมในช่วง 2-23 ชั่วโมงหลังคลอดจะเพิ่มความเสี่ยงในการเสียชีวิตของทารกในช่วง 28 วันแรกร้อยละ 40 หากการเริ่มต้นการดูดนมแม่ช้ากว่า 24 ชั่วโมง ความเสี่ยงในการเสียชีวิตของทารกจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 801 ?ซึ่งการดูแลที่จะทำให้ทารกได้เริ่มต้นการดูดนมแม่ตั้งแต่ในหนึ่งชั่วโมงแรกส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่กับกระบวนการการดูแลในระหว่างการคลอดและหลังคลอดของสถานพยาบาลในแต่ละที่โดยรวมถึงปัจจัยจากผู้ให้บริการที่อาจให้ความสำคัญและมีความใส่ใจในจุดนี้แตกต่างกัน ปัญหาที่มักพบที่ทำให้เกิดกระบวนการการเริ่มต้นการดูดนมแม่ช้า ได้แก่ การให้ความสำคัญในกระบวนการอื่น ๆ มากกว่า กล่าวคือ สนใจในการเช็ดตัว วัดอุณหภูมิ การฉีดวัคซีน หรืออ้างว่ายุ่ง ขาดกำลังคนในการดูแลที่เพียงพอ จนทำให้เกิดความล่าช้าในการเริ่มต้น ดังนั้น ควรมีการเปลี่ยนทัศนคติที่จะสร้างให้เกิดการเริ่มต้นการให้นมลูกภายในหนึ่งชั่วโมงแรก เพื่อสร้างเสริมสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่ดีและช่วยเพิ่มอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ด้วย

เอกสารอ้างอิง

  1. Arts M, Taqi I, Begin F. Improving the Early Initiation of Breastfeeding: The WHO-UNICEF Breastfeeding Advocacy Initiative. Breastfeed Med 2017.

 

 

เมลาโทนิน บทบาทในทารกที่กินนมแม่

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

               เมลาโทนิน (melatonin) เป็นฮอร์โมนที่มีบทบาทต่อการนอนหลับ ภูมิคุ้มกัน ภาวะซึมเศร้า ภาวะเจริญพันธุ์ และการตกไข่ในสตรี แล้วมาเกี่ยวอะไรกับการกินนมแม่ มีการศึกษาวิจัยพบว่า ในทารกที่กินนมแม่จะมีกระบวนการกระตุ้นภูมิคุ้มกันผ่านระบบน้ำเหลืองของทารกในลำไส้ ซึ่งการกระตุ้นภูมิคุ้มกันนี้จะมีผลต่อการหลั่งของฮอร์โมนเมลาโทนินด้วย1 ซึ่งเมื่อดูบทบาทของฮอร์โมนนี้ที่น่าจะมีต่อทารก ได้แก่ ผลต่อการนอนหลับที่จะช่วยในการพัฒนาการของระบบประสาทและสมองของทารก ผลต่อภูมิคุ้มกันโดยช่วยสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีที่ต่อต้านเชื้อโรคที่หลากหลาย ผลต่อภาวะซึมเศร้าที่เกิดจากฮอร์โมนเมลาโทนินมีผลต่อเซอโรโทนิน (serotonin) ที่เป็นสารสำคัญที่มีผลต่ออารมณ์และสภาพจิตใจ หากการหลั่งเมลาโทนินถูกควบคุมให้พอเหมาะ ทำให้การหลับได้ดี จะป้องกันภาวะซึมเศร้า ขณะที่การหลั่งเมลาโทนินมากเกินอาจทำให้เกิดภาวะซึมเศร้า  และผลต่อการตกไข่ ประจำเดือน และมีการบุตรจะถูกยับยั้งโดยระดับเมลาโทนินที่สูงจนกว่าทารกเจริญเติบโตขึ้น ดังนั้น รากฐานของความสัมพันธ์ของฮอร์โมนเมลาโทนินที่มีความเชื่อมโยงกับการกินนมแม่ของทารก อาจจะเป็นสิ่งที่อธิบายกลไกในการป้องกันโรคต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์จากการกินนมแม่เมื่อทารกเติบโตขึ้นในอนาคต ซึ่งต้องการการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมในรายละเอียดต่อไป

เอกสารอ้างอิง

  1. Anderson G, Vaillancourt C, Maes M, Reiter RJ. Breastfeeding and the gut-brain axis: is there a role for melatonin? Biomol Concepts 2017.

 

ไม่ควรให้มารดารู้สึกว่าถูกบังคับให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? แม้ว่ามารดาส่วนใหญ่เข้าใจว่านมแม่มีประโยชน์ แต่การเลือกที่จะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หรือไม่ก็เป็นสิทธิส่วนบุคคลที่บุคลากรทางการแพทย์ควรให้ความเคารพและยอมรับ หากมารดาตัดสินใจหลังจากได้รับข้อมูลเพียงพอ ถูกต้องอย่างเหมาะสมแล้ว ดังนั้น ขณะที่บุคลากรทางการแพทย์ให้คำปรึกษาไม่ควรกดดันหรือบังคับให้มารดาต้องเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เนื่องจากในสัญชาตญาณความเป็นแม่ มารดาอาจรู้สึกผิดอยู่แล้วที่ไม่ได้ให้ลูกกินนมแม่ ซึ่งอาจส่งผลต่อภาวะซึมเศร้าหลังคลอด นอกจากนี้ มารดาบางคนอาจรู้สึกต่อต้านกับการกดดันหรือการบังคับให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่1 ซึ่งในการให้คำปรึกษาบุคลากรทางการแพทย์ควรมีความเป็นมืออาชีพ????? ซึ่งเคารพสิทธิของผู้ป่วยที่เป็นสิทธิพื้นฐานที่ควรได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างสม่ำเสมอ

เอกสารอ้างอิง

  1. Alianmoghaddam N, Phibbs S, Benn C. Resistance to breastfeeding: A Foucauldian analysis of breastfeeding support from health professionals. Women Birth 2017.