หลังคลอด ทารกส่วนใหญ่จะถูกแยกจากมารดา

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? ในกระบวนการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นั้น การให้ทารกได้รับการโอบกอดสัมผัสเนื้อแนบเนื้อในชั่วโมงแรกหลังคลอดถือเป็นหนึ่งในกระบวนการที่มีความสำคัญมากที่สุด เนื่องจากจะเป็นการเริ่มต้นที่ดี โดยพบว่าทารกได้เริ่มต้นการดูดนมแม่ภายในหนึ่งชั่วโมงแรกเพียงร้อยละ 45 ในประเทศที่ยังไม่พัฒนาหรือกำลังพัฒนา ซึ่งเป็นตัวเลขที่ยังไม่สูง การที่ทารกได้เริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ภายในหนึ่งชั่วโมงจะช่วยในการลดการเสียชีวิตของทารกได้ หากทารกเริ่มต้นดูดนมในช่วง 2-23 ชั่วโมงหลังคลอดจะเพิ่มความเสี่ยงในการเสียชีวิตของทารกในช่วง 28 วันแรกร้อยละ 40 หากการเริ่มต้นการดูดนมแม่ช้ากว่า 24 ชั่วโมง ความเสี่ยงในการเสียชีวิตของทารกจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 801 ?ซึ่งการดูแลที่จะทำให้ทารกได้เริ่มต้นการดูดนมแม่ตั้งแต่ในหนึ่งชั่วโมงแรกส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่กับกระบวนการการดูแลในระหว่างการคลอดและหลังคลอดของสถานพยาบาลในแต่ละที่โดยรวมถึงปัจจัยจากผู้ให้บริการที่อาจให้ความสำคัญและมีความใส่ใจในจุดนี้แตกต่างกัน ปัญหาที่มักพบที่ทำให้เกิดกระบวนการการเริ่มต้นการดูดนมแม่ช้า ได้แก่ การให้ความสำคัญในกระบวนการอื่น ๆ มากกว่า กล่าวคือ สนใจในการเช็ดตัว วัดอุณหภูมิ การฉีดวัคซีน หรืออ้างว่ายุ่ง ขาดกำลังคนในการดูแลที่เพียงพอ จนทำให้เกิดความล่าช้าในการเริ่มต้น ดังนั้น ควรมีการเปลี่ยนทัศนคติที่จะสร้างให้เกิดการเริ่มต้นการให้นมลูกภายในหนึ่งชั่วโมงแรก เพื่อสร้างเสริมสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่ดีและช่วยเพิ่มอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ด้วย

เอกสารอ้างอิง

  1. Arts M, Taqi I, Begin F. Improving the Early Initiation of Breastfeeding: The WHO-UNICEF Breastfeeding Advocacy Initiative. Breastfeed Med 2017.