คลังเก็บหมวดหมู่: ความรู้สำหรับนักศึกษา

ความรู้สำหรับนักศึกษา

ทารกที่คลอดก่อนกำหนดเสี่ยงต่อสมาธิสั้น

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? การคลอดก่อนกำหนดเป็นปัญหาใหญ่ที่ต้องการการดูแลวางแผนแก้ไข เนื่องจากทารกที่คลอดก่อนกำหนดมักยังมีการทำงานของอวัยวะบางส่วนที่ยังไม่พร้อม โดยพบอาการหายใจเร็วได้บ่อย นอกจากนี้ ยังพบการทำงานของกระเพาะลำไส้อาจเสี่ยงต่อการเกิดการอักเสบและขาดเลือด ทารกควบคุมอุณหภูมิกายยังไม่ดีทำให้มีโอกาสตัวเย็น สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยที่ต้องการการดูแลอย่างใกล้ชิดที่หอผู้ป่วยทารกวิกฤต ต้องการตู้อบที่ไว้ช่วยควบคุมอุณหภูมิให้ทารก ต้องการเครื่องมือที่ใช้ตรวจติดตามการหายใจและการเต้นของหัวใจเพื่อประเมินอันตรายที่จะเกิดกับทารก ดังนั้น ทารกเหล่านี้ต้องใช้ทรัพยากรเครื่องมือที่มีราคาสูง ต้องการบุคลากรผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านในการดูแล ซึ่งหากคลอดก่อนกำหนดนานก็ยิ่งต้องใช้เวลานานในการดูแลหรือเลี้ยงจนกว่าทารกจะโตพอที่จะช่วยเหลือตนเองได้ ค่าใช้จ่ายในการรักษาจึงสูง และยังมีสถานที่ที่มีความพร้อมในการรับดูแลทารกเหล่านี้ไม่เพียงพอกับอุบัติการณ์ของการเกิดการคลอดก่อนกำหนดที่เพิ่มขึ้น และเมื่อทารกเหล่านี้เจริญเติบโตขึ้นในวัยเด็กยังมีความเสี่ยงที่จะพบอาการของสมาธิสั้นสูงขึ้นโดยเฉพาะทารกเพศหญิง1 ?การวางแผนการป้องกันและบรรเทาปัญหาการคลอดก่อนกำหนดจึงควรเริ่มต้นวางแผนอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องในระยะยาว เพื่อสร้างกลไกหรือระบบส่งต่อที่เหมาะสมที่จะดูแลทารกเหล่านี้อย่างมีประสิทธิภาพในอนาคต

เอกสารอ้างอิง

1.????? Ask H, Gustavson K, Ystrom E, et al. Association of gestational age at birth with symptoms of attention-deficit/hyperactivity disorder in children. JAMA Pediatr.?Published online June 25, 2018. doi:10.1001/jamapediatrics.2018.1315

 

การประคบเต้านมด้วยลููกประคบ


ลูกประคบสามารถนำมาใช้ประคบเต้านมเพื่อลดอาการตึงคัดหรืออักเสบของเต้านมได้ ซึ่งจะช่วยขยายท่อน้ำนมและระบายน้ำนมที่ขังอยูู่ในเต้านม โดยร่วมกับการให้ลูกดูดนมจากเต้าหรือปั๊มนมหลังการประคบเต้านมด้วยลูกประคบ

ลักษณะทารกที่ปฏิเสธเต้านมจากการติดจุกนม

ทารกที่คลอดก่อนกำหนดหรือน้ำหนักตัวน้อยที่จำเป็นต้องอยู่หอผู้ป่วยทารกวิกฤต มักได้รับการป้อนนมด้วยจุุกนมจากขวดและติดจุกนม เมื่อมาให้นมจากเต้า ทารกอาจจะปฏิเสธการดูดนมจากเต้า เนื่องจากการดูดนมจากเต้า ทารกต้องอ้าปากกว้าง อมหัวนมและลานนมลึก ร่วมกับใช้ลิ้นดุนหรือกดไล่นมจากบริเวณลานนม ซึ่งกลไกการดูดนมจะยากกว่าการดูดนมจากจุกนมที่ทารกจะอมจุกนมเพียงตื้น ๆ มักเรียกภาวะที่ทารกปฏิเสธการดูดจากเต้านี้ว่า การสับสนหัวนม (nipple confusion)

การจับลูกเรอหลังกินนมในท่านั่ง

หลังทารกกินนมทุกครั้ง ควรมีการจับลูกให้เรอ ในวิดีโอนี้จะแสดงถึงวิธีการจับลูกเรอท่านั่ง โดยใช้มือประคองบริเวณคอของทารก แต่จะไม่กดหรือบีบบริเวณลำคอทารก จากนั้นจัดท่าทารกให้น่ังและลูบบริเวณหลังของทารก