คลังเก็บหมวดหมู่: ความรู้สำหรับนักศึกษา

ความรู้สำหรับนักศึกษา

การเสริมธาตุเหล็กในมารดาที่ให้นมลูก

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์?

? ? ? ? ? ? ? ความสำคัญของธาตุเหล็กในทารกแรกเกิดนอกจากช่วยในเรื่องของการสร้างเม็ดเลือดแดง ธาตุเหล็กยังช่วยในพัฒนาการทางด้านพฤติกรรมและระบบประสาทของทารกแรกเกิดอีกด้วย โดยทั่วไปสมองของทารกจะมีการเจริญเติบโตมากใน?1-2?ปีแรก?ดังนั้นการขาดธาตุเหล็กจึงมีผลต่อการพัฒนาการของสมองของทารก ในทารกที่คลอดครบกำหนด ทารกมักจะมีการสะสมธาตุเหล็กพอเพียงใน?4-6?เดือนแรก การเสริมธาตุเหล็กจึงแนะนำหลังช่วงหกเดือนเป็นต้นไป?แต่ในมารดาที่มีการขาดธาตุเหล็ก ทารกที่คลอดก่อนกำหนด หรือทารกที่มีน้ำหนักตัวน้อยจะมีความเสี่ยงที่จะพบการขาดธาตุเหล็กตั้งแต่ในระยะแรกได้?การเสริมธาตุเหล็กจึงควรเสริมในระยะแรกด้วย มีการศึกษาถึงการเสริมธาตุเหล็กให้กับมารดาในระหว่างการให้นมลูก พบว่าช่วยให้ทารกมีธาตุเหล็กสะสมเพิ่มขึ้น ขณะที่การเสริมธาตุเหล็กในทารกโดยตรง พบว่าความยาวของทารกและเส้นรอบวงของศีรษะทารกเพิ่มขึ้น ดังนั้นในทารกที่ไม่มีความเสี่ยง การเสริมธาตุเหล็กแนะนำให้เสริมในอาหารเสริมตามวัยหลังทารกอายุหกเดือน โดยเสริมอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง?ได้แก่ เนื้อสัตว์ เต้าหู้ และถั่วในอาหารเสริมตามวัยในทารกแรกเกิด1?

เอกสารอ้างอิง?

1.Taylor SN. ABM Clinical Protocol #29: Iron, Zinc, and Vitamin D Supplementation During Breastfeeding. Breastfeed Med 2018;13:398-404.?

??

การให้คำปรึกษาเรื่องเอชไอวีในมารดาที่ตั้งครรภ์และให้นมลูก

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์?

? ? ? ? ? ? ? ? การติดเชื้อเอชไอวีนั้นจากการมีเพศสัมพันธ์เป็นสิ่งที่ประชาชนทั่วไปมักรับรู้และทราบจากสื่อที่มีการรณรงค์การใช้ถุงยางอนามัยเพื่อป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีที่จะนำไปสู่การเกิดโรคเอดส์?(AIDS)?แต่การสื่อสารที่ยังมีความจำเป็น สำคัญ และเป็นบทบาทที่สำคัญของบุคลากรทางการแพทย์อีกส่วนหนึ่งก็คือ การให้คำปรึกษาและให้ความรู้แก่มารดาที่ตั้งครรภ์และให้นมบุตร สามี และคู่นอนถึงการติดเชื้อเอชไอวีที่จะมีโอกาสเพิ่มขึ้นในระหว่างที่มารดาตั้งครรภ์ รวมทั้งการติดเชื้อผ่านไปสู่ลูกจะสูงขึ้น หากมีการติดเชื้อเอชไอวีในช่วงระหว่างตั้งครรภ์หรือให้นมลูก1?ดังนั้นสิ่งนี้จึงมีความจำเป็นต้องสร้างความเข้าใจแก่มารดาที่ตั้งครรภ์และให้นมลูกพร้อมคู่นอนเข้าใจถึงความเสี่ยงต่าง ๆ ที่มีควรต้องมีการตรวจคัดกรองการติดเชื้อเอชไอวีในระหว่างการฝากครรภ์ โดยการให้ข้อมูลถึงคู่นอนตามความเป็นจริง รวมทั้งพฤติกรรมทางแพทย์ที่มีความเสี่ยง?จะทำให้แพทย์ให้คำแนะนำในการตรวจได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม?

เอกสารอ้างอิง?

1.Chi BH, Rosenberg NE, Mweemba O, et al. Involving both parents in HIV prevention during pregnancy and breastfeeding. Bull World Health Organ 2018;96:69-71.?

??

เอดส์กับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์?

? ? ? ? ? ? ? ? ? ?แม้ว่าโรคเอดส์?(AIDS)?จะเป็นข้อบ่งห้ามในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่?แต่ด้วยข้อจำกัดในการสนับสนุนการให้นมผงดัดแปลงสำหรับทารกจนเจริญวัยมีค่าใช้จ่ายที่สูง จึงมีบางประเทศที่ยังคงแนะนำให้ลูกกินนมแม่ในมารดาที่ติดเชื้อเอชไอวี เพื่อลดการเสียชีวิตของทารกจากอาการท้องร่วงและการติดเชื้อในทางเดินอาหาร โดยในยุคที่ต้องใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับโรคนี้?การเรียนรู้จากประสบการณ์การใช้ยาต้านไวรัสในระหว่างการตั้งครรภ์และให้นมบุตรจึงยังมีประโยชน์ มีการศึกษาการใช้ยาต้านไวรัสให้ในมารดาที่ติดเชื้อเอชไอวีในระหว่างการตั้งครรภ์และให้นมบุตรพบว่า มารดาที่ได้ยาต้านไวรัสในระหว่างการตั้งครรภ์และให้นมบุตรมีอัตราการติดเชื้อจากแม่สู่ลูกต่ำกว่ามารดาที่ไม่ใช้ยา1?ดังนั้น การให้ลูกกินนมแม่ในมารดาที่ติดเชื้อเอชไอวีที่ได้รับยาต้านไวรัสอาจเป็นทางเลือกหนึ่งของการให้อาหารในทารกในอนาคต?

เอกสารอ้างอิง?

1.Chi BH, Mutale W, Winston J, et al. Infant HIV-Free Survival in the Era of Universal Antiretroviral Therapy for Pregnant and Breastfeeding Women: A Community-Based Cohort Study from Rural Zambia. Pediatr Infect Dis J 2018.?

??

แม่ที่คลอดบุตรเองมีความผูกพันกับลูกมากกว่าแม่ที่ผ่าตัดคลอด

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์?

? ? ? ? ? ? ? ? ?ความรักความผูกพันระหว่างแม่กับลูก?แม้ว่าจะเป็นเรื่องธรรมชาติ แต่ได้มีการศึกษาในแม่ที่มีวิธีการคลอดที่แตกต่างกัน พบว่าแม่ที่คลอดลูกเองมีความผูกพันกับลูกมากกว่าแม่ที่ผ่าตัดคลอด นอกจากนี้ ยังพบความสัมพันธ์ระหว่างความผูกพันของแม่กับลูกกับการประเมินคะแนนการเข้าเต้า?(LATCH score)1?ซึ่งสิ่งนี้น่าจะสะท้อนถึงกระบวนการส่งเสริมความรักความผูกพันระหว่างแม่กับลูกน่าจะมีเร็วกว่าหรือมากกว่า สมมุติฐานนี้น่าจะเกิดจาก แม่ที่คลอดลูกเองจะให้นมลูกได้เร็วกว่า การที่แม่นำลูกเข้าเต้าได้ดี มีคะแนนการประเมินการเข้าเต้าสูง จะกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนออกซิโทซินได้ดี ฮอร์โมนออกซิโทซินจะมีความสัมพันธ์กับการสร้างความรักความผูกพันระหว่างแม่กับลูก ดังนั้น แพทย์ผู้ดูแลควรให้คำแนะนำแก่แม่ว่า หากแม่สามารถคลอดได้เองจะส่งเสริมความรักความผูกพันระหว่างแม่กับลูกได้มากกว่า ควรหลีกเลี่ยงการผ่าตัดคลอดที่ไม่จำเป็น แต่หากแม่จำเป็นต้องผ่าตัดคลอด การนำลูกมากระตุ้นดูดนมตั้งแต่ในระยะแรกหลังคลอดยิ่งเร็ว น่าจะยิ่งช่วยสร้างความรักความผูกพันระหว่างแม่และลูกได้ดี และยังช่วยให้โอกาสที่แม่จะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้นานกว่า ซึ่งจะมีประโยชน์ที่ดีต่อทั้งแม่และลูก??

เอกสารอ้างอิง?

1.Cetisli NE, Arkan G, Top ED. Maternal attachment and breastfeeding behaviors according to type of delivery in the immediate postpartum period. Rev Assoc Med Bras (1992) 2018;64:164-9.?

??

ทารกคลอดก่อนกำหนดจะกินนมแม่สำเร็จ อะไรเป็นตัวตัดสิน?

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ปัญหาหรืออุปสรรคที่พบในทารกที่คลอดก่อนกำหนดที่บุคลากรทางการแพทย์ต้องเผชิญในการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีหลายอย่าง ได้แก่

ปัจจัยด้านทารกในเรื่องอายุครรภ์ที่ยังไม่ครบกำหนด อาจทำให้พัฒนาการของการดูดนมแม่จากเต้าขาดความพร้อม และภาวะแทรกซ้อนที่มีจากการคลอดก่อนกำหนด เช่น การหายใจเร็ว ภาวะน้ำตาลต่ำ ภาวะตัวเย็น

ปัจจัยด้านบุคลากรทางการแพทย์ที่ขาดความรู้และทักษะในการให้การดูแลทารกคลอดก่อนกำหนดให้ประสบความสำเร็จในการกินนมแม่จากเต้า และกระบวนการในการดูแลรักษาที่ไม่เอื้อต่อการสนับสนุนให้ลูกได้กินนมแม่จากเต้า เช่น การแยกแม่จากลูกโดยไม่กระตุ้นให้มารดามาเยี่ยมลูก ให้มารดามีการโอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อและเตรียมความพร้อมสำหรับการให้นม

ปัจจัยด้านเครื่องมือและสถานที่ บุคลากรทางการแพทย์อาจมีความวิตกกังวลว่าทารกอาจตัวเย็นหรือมีความผิดปกติในขณะที่นำมาโอบกอดเนื้อแนบเนื้อหรือให้นมแม่ โดยการขาดเครื่องมือที่จะประเมินติดตามทารกอย่างเพียงพอจึงทำให้บุคลากรขาดความมั่นใจในการให้การสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

? ? ? ? ? ? ? ?มีการศึกษาถึงว่าอะไรเป็นตัวตัดสินของทารกที่คลอดก่อนกำหนดจะประสบความสำเร็จในการกินนมแม่จากเต้า พบว่า อายุครรภ์ซึ่งบ่งบอกถึงพัฒนาการต่าง ๆ ที่จะมีความพร้อมในการกินนมแม่ และการให้ทารกได้กินนมแม่จากเต้าตั้งแต่ในครั้งแรกที่เริ่มให้นม1 ซึ่งหากมองดูทั้งสองปัจจัยนี้ ปัจจัยเรื่องอายุครรภ์ที่คลอดออกมาก่อนกำหนด อาจเป็นเรื่องที่ยากในการที่จะลดการคลอดก่อนกำหนดลง แต่การให้โอกาสหรือสนับสนุนให้ทารกได้พยายามดูดนมแม่ตั้งแต่ในครั้งแรกของการเริ่มให้นมนี้อาจทำได้ง่ายกว่า หากมารดาเห็นความสำคัญของการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และจัดระบบการดูแลให้เอื้อต่อการเริ่มต้นการกินนมของทารกควรเริ่มจากการให้ทารกกินนมจากเต้า ซึ่งถือเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญในการช่วยให้อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในทารกที่คลอดก่อนกำหนดสูงขึ้นได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Casey L, Fucile S, Dow KE. Determinants of Successful Direct Breastfeeding at Hospital Discharge in High-Risk Premature Infants. Breastfeed Med 2018.

?