คลังเก็บหมวดหมู่: ข่าวสาร

ข่าวสาร

การให้นมแม่ในทารกที่มีภาวะกล้ามเนื้อตึงตัวน้อย ตอนที่ 1

IMG_1626

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? ภาวะกล้ามเนื้อตึงตัวน้อย (hypotonia) ก่อนที่จะอธิบายเรื่องภาวะกล้ามเนื้อตึงตัวน้อย ควรต้องเข้าใจความหมายของแรงตึงตัวของกล้ามเนื้อก่อน (muscle tone) ซึ่งแรงตึงตัวของกล้ามเนื้อนั้น คือแรงต้านทานการออกแรงยืดกล้ามเนื้อในขณะที่กล้ามเนื้ออยู่ในระยะพัก โดยแรงต้านของกล้ามเนื้อจะมีขนาดพอเหมาะในสภาวะปกติเพื่อให้การคงอยู่ของตำแหน่งของกล้ามเนื้อทำได้ดี เมื่อแรงต้านของกล้ามเนื้อนี้มีน้อยกว่าปกติจะถือว่ามีภาวะกล้ามเนื้อตึงตัวน้อย ซึ่งในการให้ทารกกินนมแม่ ทารกอาจมีแรงดูดที่อ่อนแรง หรือต้องพึ่งพามารดาในการประคองคอหรือศีรษะมากขึ้น เพื่อช่วยให้ตำแหน่งการกินและดูดนมทารกทำให้อย่างเหมาะสม

เอกสารอ้างอิง

  1. Thomas J, Marinelli KA, Academy of Breastfeeding M. ABM Clinical Protocol #16: Breastfeeding the Hypotonic Infant, Revision 2016. Breastfeed Med 2016.

กลิ่นน้ำนมแม่และการกินนมแม่ลดความเจ็บปวดของทารก

IMG_1698

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? ในช่วงระยะหลังคลอด ทารกจะได้รับการเจาะเลือดตรวจและฉีดวัคซีน? ซึ่งความเจ็บปวดจากการเจาะเลือดหรือฉีดวัคซีนจะทำให้ทารกร้องไห้และอาจทำให้เกิดความวิตกกังวลของมารดาและครอบครัว มีการศึกษาที่ให้ทารกได้กลิ่นนมแม่ก่อนการเจาะเลือดที่ปลายเท้าพบว่า ทารกมีอาการแสดงถึงความเจ็บปวดน้อยลง1 เช่นเดียวกันกับการให้ทารกกินนมแม่ขณะฉีดวัคซีนทารกจะช่วยลดความเจ็บปวดของทารกได้2 ดังนั้น การที่บุคลากรทางการแพทย์ใส่ใจกับความวิตกกังวลของมารดา โดยช่วยลดไม่ให้มารดามีความเครียด จะทำให้น้ำนมมารดามาได้ดีและป้องกันปัญหาการเกิดภาวะน้ำนมไม่พอได้ด้วย

เอกสารอ้างอิง

  1. Akcan E, Polat S. Comparative Effect of the Smells of Amniotic Fluid, Breast Milk, and Lavender on Newborns’ Pain During Heel Lance. Breastfeed Med 2016.
  2. Thomas T, Shetty AP, Bagali PV. Role of breastfeeding in pain response during injectable immunisation among infants. Nurs J India 2011;102:184-6.

การสอนท่าในการให้นมบุตรแก่มารดา

IMG_1713

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? ในการให้นมบุตร มารดาควรสามารถให้นมบุตรได้หลายท่า เพื่อช่วยในการลดความเมื่อยล้าขณะให้นมและสะดวกในการทำกิจกรรมร่วมในระหว่างชีวิตประจำวัน โดยมีการศึกษาว่า หากมารดาสามารถให้นมลูกได้ตั้งแต่ 2 ท่าขึ้นไปก่อนกลับบ้านสัมพันธ์กับระยะเวลาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่นานกว่า 1.5-1.7 เท่าในช่วงหกเดือนหลังคลอด1 ดังนั้น การใส่ใจให้ความสำคัญกับการสอนท่าให้นมลูกให้แก่มารดาจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น

เอกสารอ้างอิง

  1. Puapornpong P, Raungrongmorakot K, Manolerdtewan W, Ketsuwan S, Sinutchanan W. The Number of Infant Feeding Positions and the 6-Month Exclusive Breastfeeding Rates. J Med Assoc Thai 2015;98:1075-81.

การเจ็บหัวนมจากภาวะหัวนมขาดเลือด

IMG_1709

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? การเจ็บหัวนมพบได้บ่อยหลังคลอด ภาวะหัวนมขาดเลือดเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการเจ็บหัวนมได้1 ลักษณะของการเจ็บหัวนมจากภาวะหัวนมขาดเลือดจะมีอาการเมื่ออากาศเย็น หรือเป็นหลังการอาบน้ำที่หัวนมยังเปียกชื้นอยู่ และพบหลังจากทารกดูดนมและหัวนมยังเปียกชื้นอยู่เช่นกัน อาการเจ็บหัวนมจากการขาดเลือดจะมีอาการปวดจี๊ดที่หัวนม หากมีการสังเกตที่หัวนม จะพบว่า หัวนมจะสีซีดจางลงชั่วคราวในระยะสั้นๆ จากนั้นจะมีเลือดกลับไปเลี้ยง สีของหัวนมจะกลับแดงคล้ำเหมือนเดิม

? ? ? ? ? ? ปัจจัยเสี่ยงที่สัมพันธ์กับการพบการเจ็บหัวนมจากหัวนมขาดเลือด ได้แก่ การผ่าตัดบริเวณเต้านม มารดามีโรคเกี่ยวกับภูมิคุ้มกันต้านตนเอง (autoimmune) และการใช้ยาบางชนิดในระหว่างการตั้งครรภ์ สำหรับการรักษา จะใช้การดูแลการปฏิบัติที่จะช่วยให้หัวนมอบอุ่น ไม่เย็นหรือเปียกชื้น โดยใส่เสื้อผ้าหรือชุดชั้นในที่ช่วยรักษาอุณหภูมิที่หัวนมไม่ให้เย็นเกินไป เช็ดตัวและหัวนมให้แห้งเสมอหลังอาบน้ำ เช็ดหัวนมให้แห้งหลังทารกกินนม ซึ่งโดยมากการปฏิบัติตัวที่เหมาะสมจะช่วยป้องกันและลดอาการได้? แต่หากอาการเป็นมากหรือการปรับพฤติกรรมยังไม่ช่วย อาจพิจารณาการใช้ยา calcium channel blocker ได้แก่ nifedipine ในการรักษา2

เอกสารอ้างอิง

  1. ภาวิน พัวพรพงษ์. รอบรู้เรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่. นครนายก: ซี.ที. ดอทคอม; 2558.
  2. Buck ML, Amir LH, Cullinane M, Donath SM, Team CS. Nipple pain, damage, and vasospasm in the first 8 weeks postpartum. Breastfeed Med 2014;9:56-62.

การเจ็บหัวนม อาการอย่างไรจึงน่าวิตกกังวล

IMG_1635

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? การเจ็บหัวนมนั้นมักเกิดขึ้นกับมารดาในช่วงให้นมลูกหลังคลอด โดยทั่วไปหัวนมมารดาที่จะไวต่อการตอบสนองระหว่างการตั้งครรภ์จากการมีระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่สูง หลังคลอดเมื่อระดับฮอร์โมนลดลง? อาการเจ็บหัวนมขณะทารกดูดนมจะลดลงเมื่อเวลาผ่านไป และจะค่อยๆ หายไปภายในหนึ่งสัปดาห์ แต่หากอาการเจ็บหัวนมยังมีอยู่มากและต่อเนื่องเกินหนึ่งสัปดาห์จำเป็นต้องมีการหาสาเหตุเพิ่มเติม ซึ่งส่วนใหญ่ร้อยละ 80 เป็นจากการจัดท่าและการเข้าเต้าที่ไม่เหมาะสม ซึ่งวิธีการตรวจสอบ คือ ต้องสังเกตมารดาขณะให้นมลูกว่ามีท่าการให้นมและการเข้าเต้าที่เหมาะสมหรือไม่ ได้แก่ ทารกอ้าปากกว้างขณะเข้าเต้า ประกบและอมหัวนมและลานนมด้านล่างมากกว่าด้านบน ศีรษะทารกควรเงยเล็กน้อยโดยอยู่ในแนวเดียวกันกับลำตัวที่ได้รับการประคองอย่างมั่นคงและแนบชิดติดลำตัวมารดา1 ข้อสังเกต มารดาไม่ความก้มหลังหรือเกร็งมือหรือแขนระหว่างให้นมมากเกินไป เนื่องจากอาจทำให้เหนื่อยล้า เมื่อย และท้อแท้ในการให้นมแม่ได้ ควรมีการหนุนหมอนหรือผ้ารองรับข้อมือหรือแขนให้วางสบายๆ เพื่อสามารถให้นมแม่ได้อย่างผ่อนคลายและยาวนาน การเอาใจใส่ในเรื่องความสะดวกสบายในการให้นมนี้เป็นจุดเรื่องต้นที่สำคัญในการให้นมแม่ โดยให้ยึดหลัก ?ผ่อนคลาย สบาย และสะดวกกับนมแม่?

เอกสารอ้างอิง

  1. ภาวิน พัวพรพงษ์. รอบรู้เรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่. นครนายก: ซี.ที. ดอทคอม; 2558.