คลังเก็บหมวดหมู่: ข่าวสาร

ข่าวสาร

การเจ็บหัวนมกับอาการซึมเศร้าหลังคลอด

IMG_1650

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? การเจ็บหัวนมเป็นอาการที่พบได้บ่อยหลังคลอด โดยสาเหตุของการเจ็บหัวนมของมารดาในการให้นมลูกมีได้หลายสาเหตุ ได้แก่ การจัดท่าให้นมลูกที่ไม่เหมาะสม การเข้าเต้าที่ไม่ถูกวิธี ทารกมีภาวะลิ้นติด มารดามีน้ำนมมากเกินไป การเป็นแผล อักเสบและการติดเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อรา และภาวะขาดเลือดไปเลี้ยงที่หัวนมขณะมีอากาศเย็น1 มีรายงานว่าพบการเจ็บหัวนมร้อยละ 38 ในมารดาหลังคลอดหนึ่งเดือน ซึ่งอาการจากสาเหตุเหล่านี้ส่งผลต่อมารดาโดยทำให้เกิดการนอนไม่หลับ อาการเครียด รวมถึงอาการซึมเศร้าหลังคลอดได้ และเมื่ออาการเหล่านี้บรรเทาหรือลดลง ภาวะเครียดของมารดาก็กลับเข้าสู่ภาวะปกติ2 จะเห็นว่า ปัญหาที่หลายคนอาจมองเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่ความจริงมีขนาดปัญหาที่ใหญ่ ที่ส่งผลต่อสุขภาพกายและสุขภาพใจของมารดา รวมทั้งเป็นสาเหตุที่ทำให้มารดาหยุดการให้นมแม่ก่อนเวลาที่เหมาะสม จึงควรเป็นอย่างยิ่งที่บุคลากรทางการแพทย์ไม่ควรละเลย

เอกสารอ้างอิง

  1. ภาวิน พัวพรพงษ์. รอบรู้เรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่. นครนายก: ซี.ที. ดอทคอม; 2558.
  2. Buck ML, Amir LH, Cullinane M, Donath SM, Team CS. Nipple pain, damage, and vasospasm in the first 8 weeks postpartum. Breastfeed Med 2014;9:56-62.

?

สัปดาห์แรกหลังคลอดสัปดาห์ทองของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

IMG_1694

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? เมื่อมารดาคลอดบุตร หากสามารถคลอดได้ปกติทางช่องคลอด ปัจจุบันเชื่อว่า การที่ทารกได้คลอดผ่านช่องคลอดมารดาออกมาจะมีเชื้อแบคทีเรียในช่องคลอดที่จะช่วยกระตุ้นภูมิคุ้นกันทารกและช่วยในการลดการเกิดโรคภูมิแพ้ในทารกได้ ซึ่งมารดาหากมีความตั้งใจ ส่วนใหญ่มารดาร้อยละ 85 สามารถคลอดปกติทางช่องคลอดได้เอง หลังการคลอด สิ่งที่จะช่วยสร้างภูมิคุ้มกันรวมทั้งให้สารอาหารแก่ทารก คือ ?นมแม่?

??????????? นมแม่ แม้เป็นเรื่องธรรมชาติ แต่เป็นสิ่งที่มารดาจะต้องมีการเตรียมตัว เตรียมใจ ให้มีความมุ่งมั่น หนักแน่น ในความตั้งใจที่จะให้นมลูก ในการเตรียมตัวนั้น มารดาควรทราบว่า หลังคลอดจะมีการเปลี่ยนแปลงของร่างกายอย่างไร นมแม่จะมาเมื่อไร น้ำหนักทารกที่ลดลงเบื้องต้นในช่วงสัปดาห์แรกหลังคลอดเป็นกลไกตามธรรมชาติ ซึ่งหากมารดาเข้าใจ และเล็งเห็นถึงประโยชน์และความสำคัญของนมแม่ต่อลูกและตัวมารดาเองในระยะสั้นและในระยะยาว มารดาจะมีจิตใจที่เข้มแข็ง แม้จะมีแรงกดดันจากคนในครอบครัว ซึ่งมารดาอาจต้องสร้างความเข้าใจและให้โอกาสคนในครอบครัวมาเรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญที่ให้คำปรึกษาเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่? โดยในสัปดาห์แรกหลังคลอดจะถือเป็นสัปดาห์ทองที่สำคัญในการที่มารดาจะต้องปรับตัว เรียนรู้นิสัยการกินนมของทารก และต้องผ่านข้อสงสัยหรือปัญหาต่างๆ ที่ไม่เคยเผชิญในช่วงสัปดาห์แรกหลังคลอด หากมารดาสามารถให้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในสัปดาห์แรก โอกาสที่จะประสบความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะมีสูง ?เช่นเดียวกันกับบุคลากรทางการแพทย์ที่ควรจะคัดกรองมารดาที่มีความเสี่ยงในการหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ก่อนระยะเวลาอันควรให้ได้รับการนัดติดตามในสัปดาห์แรก เพื่อให้คำปรึกษา แนะนำการปฏิบัติตัวหรือหนทางในการที่จะผ่านปัญหาหรืออุปสรรคที่อาจพบได้

เอกสารอ้างอิง

  1. ภาวิน พัวพรพงษ์. หนังสือรอบรู้เรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่. นครนายก: ซี.ที. ดอทคอม,

ลูกจะเป็นสาวเร็วขึ้นหากมารดาเป็นเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์

IMG_1576

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? การที่มารดาเป็นเบาหวานระหว่างการตั้งครรภ์จะมีความเสี่ยงหรือเพิ่มภาวะแทรกซ้อนได้หลายอย่างในระหว่างการตั้งครรภ์และการคลอด ได้แก่ ความพิการแต่กำเนิดของทารกสูงขึ้น ภาวะครรภ์เป็นพิษเพิ่มขึ้น ทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวมาก การคลอดยาก การผ่าตัดคลอด การคลอดติดไหล่ ทารกแรกเกิดมีน้ำตาลต่ำ นอกจากนี้ ยังมีการศึกษาพบว่า ทารกที่เกิดจากมารดาที่เป็นเบาหวานระหว่างการตั้งครรภ์จะเข้าสู่วัยรุ่นหรือเป็นสาวเร็วขึ้น 1.45 เท่าเมื่อเทียบกับทารกที่เกิดจากมารดาที่ไม่ได้เป็นเบาหวาน1 โดยที่ตัดปัจจัยเรื่องดัชนีมวลกายที่บ่งบอกถึงน้ำหนักที่มากของมารดาออกแล้ว ดังนั้น ในมารดาที่อ้วนที่เป็นเบาหวานระหว่างการตั้งครรภ์ ความเสี่ยงจะยิ่งเพิ่มขึ้น ซึ่งการคัดกรองปัญหาเบาหวานในมารดาเหล่านี้ จึงเป็นสิ่งที่บุคลากรทางการแพทย์ควรเอาใจใส่ ไม่ควรละเลย เพื่อลดภาวะแทรกซ้อน และป้องกันผลเสียในระยะยาวที่อาจเกิดแก่ทารก

เอกสารอ้างอิง

  1. Yi-Frazier JP, Hilliard ME, Fino NF, et al. Whose quality of life is it anyway? Discrepancies between youth and parent health-related quality of life ratings in type 1 and type 2 diabetes. Qual Life Res 2016;25:1113-21.

การใช้ยาต้านไวรัสในสตรีตั้งครรภ์ที่เป็นพาหะของไวรัสตับอักเสบบี

IMG_1570

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? การที่สตรีตั้งครรภ์เป็นพาหะของไวรัสตับอักเสบบีจะมีโอกาสที่เชื้อไวรัสจะติดต่อไปยังทารก และทำให้ทารกมีภาวะตับอักเสบเฉียบพลันหรือเรื้อรังได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในมารดาที่มีปริมาณเชื้อไวรัสสูง มีการศึกษาการใช้ยาต้านไวรัส tenofovir ให้ในมารดาที่ตั้งครรภ์ที่มีปริมาณไวรัสในกระแสเลือดมากกว่า 200000 ยูนิตต่อมิลลิลิตร สามารถลดความเสี่ยงในการเกิดการติดเชื้อในทารกได้1 โดยหลังคลอดทารกจะได้รับภูมิคุ้มกันและวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบีร่วมด้วย ซึ่งในมารดาเหล่านี้ยังสามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ โดยจะได้รับประโยชน์จากการที่ทารกได้รับนมแม่และไม่พบความเสี่ยงของการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเพิ่มขึ้น

เอกสารอ้างอิง

  1. Pan CQ, Duan Z, Dai E, et al. Tenofovir to Prevent Hepatitis B Transmission in Mothers with High Viral Load. N Engl J Med 2016;374:2324-34.

เด็กอ้วนจากมารดามีโฟเลตต่ำระหว่างตั้งครรภ์

IMG_1723

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? เป็นที่ทราบกันดีว่า การเสริมโฟเลตเพื่อป้องกันการผิดปกติของระบบท่อประสาทของทารกระหว่างการตั้งครรภ์ ควรรับประทานโฟเลตขนาด 400 ไมโครกรัมอย่างน้อยก่อนการตั้งครรภ์หนึ่งเดือนและต่อเนื่องไปในช่วงไตรมาสแรก แต่มีการศึกษาพบว่า มารดาที่มีระดับโฟเลตต่ำระหว่างตั้งครรภ์มีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงในการเกิดการอ้วนของทารกในวัยเด็ก นอกจากนี้ การที่มารดามีน้ำหนักเกินหรืออ้วนยังมีความสัมพันธ์กับการมีระดับโฟเลตต่ำระหว่างการตั้งครรภ์1 ดังนั้น ในมารดาที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วน ควรได้รับการแนะนำให้เสริมโฟเลตในระหว่างการตั้งครรภ์ เพื่อช่วยในการลดความเสี่ยงในการเกิดลูกอ้วนในวัยเด็ก

? ? ? ? ? ? ? ในประเทศไทย กรมอนามัยได้แนะนำให้เสริมโฟเลต ธาตุเหล็ก และไอโอดีนแก่มารดาระหว่างการตั้งครรภ์ เนื่องจากอยู่ในพื้นที่ที่มีอุบัติการณ์การขาดวิตามินและแร่ธาตุเหล่านี้ จึงควรเป็นอย่างยิ่งที่บุคลากรทางการแพทย์ควรเน้นย้ำให้มารดาได้รับเสริมวิตามินและแร่ธาตุให้ครบถ้วนระหว่างการตั้งครรภ์ สำหรับการลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะอ้วนในทารกที่มารดาสามารถทำได้ง่าย ได้แก่ การให้ลูกได้กินนมแม่ ซึ่งนอกจากจะช่วยป้องกันภาวะอ้วนของทารกเมื่อเข้าสู่ในวัยเด็กแล้ว ยังช่วยให้มารดาน้ำหนักลดลงได้ดี ช่วยในเรื่องการลดไขมันในกระแสเลือดของมารดาและอาจป้องกันโรคทางหลอดเลือดหัวใจของมารดาได้ด้วย อย่างไรก็ตาม ควรมีการศึกษาเพิ่มเติมในประเทศไทยถึงขนาดที่เหมาะสมของการเสริมวิตามินและแร่ธาตุต่างๆ ซึ่งจะทำให้การแนะนำมารดาทำได้อย่างเหมาะสมและมีประโยชน์สูงสุด

เอกสารอ้างอิง

  1. Wang G, Hu FB, Mistry KB, et al. Association Between Maternal Prepregnancy Body Mass Index and Plasma Folate Concentrations With Child Metabolic Health. JAMA Pediatr 2016:e160845.