คลังเก็บหมวดหมู่: ข่าวสาร

ข่าวสาร

ภาวะลิ้นติดของทารกกับการเจ็บหัวนมของมารดา

img_2127

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? ภาวะลิ้นติดนั้น คือ การที่ทารกมีพังผืดใต้ลิ้นการที่รบกวนการเคลื่อนไหวของลิ้น ซึ่งในกรณีที่ทารกต้องการดูดนมจากเต้า ทารกจำเป็นต้องแลบลิ้นออกไป กดบริเวณลานนม การมีพังผืดใต้ลิ้นจะจำกัดการเคลื่อนไหวของลิ้น ทำให้น้ำนมสามารถไหลไม่ดี ทารกจึงออกแรงในการดูดนมเพิ่มขึ้น ทำให้มารดาเกิดอาการเจ็บหัวนม โดยที่อาการเจ็บหัวนมของมารดาเป็นอาการนำที่ทำให้ได้รับการส่งต่อมาเพื่อให้การรักษาบ่อยที่สุด สำหรับการรักษาทารกที่มีภาวะลิ้นติด ได้แก่ การทำ frenetomy ซึ่งเป็นการผ่าตัดเพียงเล็กน้อย เพื่อตัดพังผืดใต้ลิ้นออก สามารถทำได้ที่ห้องตรวจผู้ป่วยนอก ทารกไม่ต้องใช้ยาสลบ หลังการผ่าตัดทารกสามารถดูดนมได้เลย

? ? ? ? ? ? ? อุบัติการณ์ของทารกที่มีภาวะลิ้นติดในประเทศไทยพบร้อยละ ?13.4 อย่างไรก็ตาม ทารกที่มักมีความจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดรักษา ได้แก่ ทารกที่มีภาวะลิ้นติดปานกลางและรุนแรง1 ซึ่งพบได้ราวครึ่งหนึ่งของทั้งหมดคือร้อยละ 6-7 การให้การวินิจฉัยสาเหตุของการเจ็บหัวนมของมารดาจากการที่ทารกมีภาวะลิ้นติดแล้วให้การรักษาตั้งแต่ในระยะแรก จะสามารถลดการหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ก่อนเวลาอันควร และลดความทุกข์ทรมานของมารดาจากการเจ็บหัวนมขณะให้ทารกดูดนมได้ บุคลากรทางการแพทย์จึงควรใส่ใจกับการตรวจช่องปากทารกแรกเกิดโดยละเอียด

เอกสารอ้างอิง

  1. Puapornpong P, Raungrongmorakot K, Mahasitthiwat V, Ketsuwan S. Comparisons of the latching on between newborns with tongue-tie and normal newborns. J Med Assoc Thai 2014;97:255-9.

การบาดเจ็บของหัวนมในการให้นมลูก

IMG_1089

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

?????????? สาเหตุของการบาดเจ็บหัวนมขณะที่มารดาให้นมลูกเกิดจากการเข้าเต้าหรือการจัดท่าให้นมลูกที่ไม่เหมาะสม เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุด ซึ่งเมื่อท่าของทารกไม่เหมาะสม ทารกจะอ้าปาก อมหัวนมและลานนมได้ไม่ลึกพอ ทารกที่ดูดเฉพาะบริเวณหัวนม น้ำนมจะออกได้น้อย ทารกต้องออกแรงในการดูดมากขึ้น อาจหงุดหงิด ขบหรือกดหัวนม ทำให้เกิดการบาดเจ็บของหัวนม

?????????? ในกรณีที่ทารกเกิดก่อนกำหนด หรือมีความผิดปกติของการควบคุมระบบประสาทและกล้ามเนื้อในการอ้าปากอมหัวนมและลานนม รวมทั้งการกลืนน้ำนม สิ่งนี้จะทำให้กระบวนการดูดนมของทารกผิดปกติไป และทำให้เกิดการบาดเจ็บขณะทารกกินนมได้ นอกเหนือจากนี้ หากทารกมีภาวะลิ้นติด พังผืดที่อยู่ใต้ลิ้นจะจำกัดการที่ทารกจะแลบลิ้นออกมาเพื่อกดบริเวณลานนม ทำให้น้ำนมไหลออกไม่ดี ทารกจึงออกแรงมากขึ้นขณะดูดนมในตำแหน่งที่ไม่เหมาะสม ทำให้หัวนมบาดเจ็บ

????????? สำหรับการบาดเจ็บของหัวนมในกรณีที่ใช้เครื่องปั๊มนม อาจเกิดได้จากขนาดของเครื่องมือที่ใช้ปั๊มนมไม่เหมาะสมหรือไม่พอดีกับหัวนม หรืออาจเกิดจากการใช้แรงบีบปั๊มนมที่ไม่เหมาะสม สิ่งนี้ก็อาจทำให้มารดาบาดเจ็บหัวนมได้เช่นกัน

เอกสารอ้างอิง

1.????? Berens P, Eglash A, Malloy M, Steube AM. ABM Clinical Protocol #26: Persistent Pain with Breastfeeding. Breastfeed Med 2016;11:46-53.

การวินิจฉัยการเจ็บหัวนมของมารดาในการให้นมลูก

IMG_1118

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? การที่บุคลากรทางการแพทย์จะแนะนำการแก้ไขปัญหาการเจ็บหัวนมของมารดาในระหว่างการให้นมลูกจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดการเจ็บหัวนมพร้อมขั้นตอนการให้การวินิจฉัย1 โดยเพื่อให้เข้าใจได้ง่าย อาจแบ่งสาเหตุของการเจ็บหัวนมของมารดาเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้ 6 กลุ่ม

??? กลุ่มที่หนึ่ง เกิดจากการบาดเจ็บของหัวนม

??? กลุ่มที่สอง เกิดจากผิวหนังอักเสบ

??? กลุ่มที่สาม เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา หรือเชื้อไวรัส

??? กลุ่มที่สี่ เกิดจากการหดตัวของเส้นเลือดและเกิดการขาดเลือดที่หัวนม ได้แก่ Raynaud phenomenon

??? กลุ่มที่ห้า เกิดจากอาการไวต่อการกระตุ้นของหัวนม

??? กลุ่มที่หก เกิดจากสาเหตุอื่น ๆ ได้แก่ ท่อน้ำนมอุดตัน และมารดามีน้ำนมมาก

??????????? ส่วนใหญ่ของสาเหตุของการเจ็บหัวนมมักให้การวินิจฉัยได้จากการซักประวัติ การตรวจร่างกายของทั้งมารดาและทารก พร้อมทั้งการสังเกตการดูดนมของทารก หรือการปั๊มนม ซึ่งหากบุคลากรทางการแพทย์ทำความใจในเรื่องการเจ็บหัวนมของมารดาได้ดีและแนะนำการปฏิบัติให้กับมารดาอย่างเหมาะสม น่าจะสามารถลดปัญหาการเจ็บหัวนมที่เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยที่เป็นสาเหตุของการหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ก่อนเวลาอันควรได้

เอกสารอ้างอิง

1.????? Berens P, Eglash A, Malloy M, Steube AM. ABM Clinical Protocol #26: Persistent Pain with Breastfeeding. Breastfeed Med 2016;11:46-53.

ขั้นตอนการสังเกตการให้นมหรือปั๊มนม ในมารดาที่เจ็บหัวนม

IMG_1641

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? ?นอกจากการตรวจร่างกายของมารดาและทารกแล้ว ควรมีการสังเกตมารดาขณะให้นมบุตร และระหว่างการบีบน้ำนมด้วยมือหรือปั๊มนมด้วย เพื่อตรวจดูกระบวนการระหว่างการให้นมลูก การบีบน้ำนม และลักษณะของน้ำนม รายละเอียด ได้แก่

  • การจัดท่าการให้นมลูกของมารดา
  • ท่าและพฤติกรรมของทารกระหว่างการให้นม
  • การเข้าเต้าที่ถูกต้อง โดยทารกอ้าปากกว้าง อมหัวนมและลานนมลึก ริมฝีปากบานออก
  • ลักษณะและรูปแบบของการดูดนมของทารก หรือทารกมีอาการง่วงหลับ
  • ลักษณะและสีของหัวนมหลังการดูดนม

หากสังเกตมารดาบีบน้ำนมด้วยมือหรือปั๊มนม มีรายละเอียด ดังนี้

  • ดูท่าทางและวิธีการบีบน้ำนมด้วยมือ
  • ดูการใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ในการปั๊มนมได้เหมาะสมหรือไม่ ตรวจดูขนาดของที่ประกบหัวนม ขนาดของท่อดูด แรงดูด ระยะของรอบต่อนาที
  • หากมีการให้ที่ป้องกันหัวนม ควรตรวจดูว่ามีการเลือกใช้อย่างเหมาะสมหรือไม่

เอกสารอ้างอิง

  1. Berens P, Eglash A, Malloy M, Steube AM. ABM Clinical Protocol #26: Persistent Pain with Breastfeeding. Breastfeed Med 2016;11:46-53.

 

การตรวจร่างกายทารก ในมารดาที่เจ็บหัวนมขณะให้นมลูก

IMG_1721

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? การตรวจประเมินทารก หลักที่สำคัญคือ การประเมินส่วนต่างๆ ของทารกที่จะใช้ในการเข้าเต้าและดุดนม ได้แก่ อวัยวะในช่องปาก ความสมดุลย์ของกล้ามเนื้อและการทำงานที่สอดคล้องกันของระบบประสาท รวมทั้งอุปสรรคที่ขัดขวางการดูดและกินนมแม่ รายละเอียด ได้แก่

  • ตรวจความสมมาตรของศีรษะทารกและใบหน้า ลักษณะของขากรรไกร ตาและหู
  • ลักษณะและกายวิภาคในช่องปาก ตรวจฝ้าในปากทารก ตรวจผังพืดใต้ลิ้น ตรวจดูความสมบูรณ์ของเพดานอ่อน และการมีเพดานโหว่
  • ตรวจดูทางเดินหายใจ รวมทั้งอาการคัดจมูก
  • ตรวจดูการเคลื่อนไหวของศีรษะและลำคอ
  • ตรวจดูการตึงตัวของกล้ามเนื้อ
  • ตรวจดูความผิดปกติทางระบบประสาทของทารก

เอกสารอ้างอิง

  1. Berens P, Eglash A, Malloy M, Steube AM. ABM Clinical Protocol #26: Persistent Pain with Breastfeeding. Breastfeed Med 2016;11:46-53.