ภาวะลิ้นติดของทารกกับการเจ็บหัวนมของมารดา

img_2127

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? ภาวะลิ้นติดนั้น คือ การที่ทารกมีพังผืดใต้ลิ้นการที่รบกวนการเคลื่อนไหวของลิ้น ซึ่งในกรณีที่ทารกต้องการดูดนมจากเต้า ทารกจำเป็นต้องแลบลิ้นออกไป กดบริเวณลานนม การมีพังผืดใต้ลิ้นจะจำกัดการเคลื่อนไหวของลิ้น ทำให้น้ำนมสามารถไหลไม่ดี ทารกจึงออกแรงในการดูดนมเพิ่มขึ้น ทำให้มารดาเกิดอาการเจ็บหัวนม โดยที่อาการเจ็บหัวนมของมารดาเป็นอาการนำที่ทำให้ได้รับการส่งต่อมาเพื่อให้การรักษาบ่อยที่สุด สำหรับการรักษาทารกที่มีภาวะลิ้นติด ได้แก่ การทำ frenetomy ซึ่งเป็นการผ่าตัดเพียงเล็กน้อย เพื่อตัดพังผืดใต้ลิ้นออก สามารถทำได้ที่ห้องตรวจผู้ป่วยนอก ทารกไม่ต้องใช้ยาสลบ หลังการผ่าตัดทารกสามารถดูดนมได้เลย

? ? ? ? ? ? ? อุบัติการณ์ของทารกที่มีภาวะลิ้นติดในประเทศไทยพบร้อยละ ?13.4 อย่างไรก็ตาม ทารกที่มักมีความจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดรักษา ได้แก่ ทารกที่มีภาวะลิ้นติดปานกลางและรุนแรง1 ซึ่งพบได้ราวครึ่งหนึ่งของทั้งหมดคือร้อยละ 6-7 การให้การวินิจฉัยสาเหตุของการเจ็บหัวนมของมารดาจากการที่ทารกมีภาวะลิ้นติดแล้วให้การรักษาตั้งแต่ในระยะแรก จะสามารถลดการหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ก่อนเวลาอันควร และลดความทุกข์ทรมานของมารดาจากการเจ็บหัวนมขณะให้ทารกดูดนมได้ บุคลากรทางการแพทย์จึงควรใส่ใจกับการตรวจช่องปากทารกแรกเกิดโดยละเอียด

เอกสารอ้างอิง

  1. Puapornpong P, Raungrongmorakot K, Mahasitthiwat V, Ketsuwan S. Comparisons of the latching on between newborns with tongue-tie and normal newborns. J Med Assoc Thai 2014;97:255-9.