คลังเก็บหมวดหมู่: ข่าวสาร

ข่าวสาร

สมุดคู่มือและการโทรศัพท์ติดตามช่วยการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

IMG_3959

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? การให้ความรู้แก่มารดามีผลดีต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ดังนั้น การให้สมุดคู่มือแนะนำเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่แก่มารดาในระยะหลังคลอด ให้มารดาสามารถอ่านเนื้อหาความรู้เรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ลงข้อมูลการให้นมลูก และมีการแนะนำการแก้ปัญหาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ สิ่งนี้น่าจะกระตุ้นเตือนถึงประโยชน์และความสำคัญของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และช่วยเพิ่มอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ นอกจากนี้การติดตามโทรศัพท์สอบถามเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และเปิดโอกาสให้มารดาได้มีการสอบถามแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ก็น่าจะช่วยเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้เช่นกัน มีการศึกษาถึงผลของการให้สมุดคู่มือและการโทรศัพท์ไปสอบถามมารดาเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่พบว่าสามารถช่วยเพิ่มอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวที่สามเดือนหลังคลอด1 ดังนั้นบุคลากรทางการแพทย์ควรเพิ่มระบบการให้บริการโดยการจัดการแจกสมุดคู่มือรวมทั้งการโทรศัพท์ติดตาม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

เอกสารอ้างอิง

  1. Zakarija-Grkovic I, Puharic D, Malicki M, Hoddinott P. Breastfeeding booklet and proactive phone calls for increasing exclusive breastfeeding rates: RCT protocol. Matern Child Nutr 2017;13.

โรคซึมเศร้าหลังคลอดส่งผลกระทบต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

IMG_3953

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? ในมารดาที่ไม่สามารถให้ลูกกินนมแม่ได้ บางคนอาจรู้สึกผิดและรู้สึกด้อยค่า โดยหากมารดามีบุคลิกภาพที่เสี่ยงต่อการที่จะเกิดโรคซึมเศร้า สิ่งนี้อาจเป็นตัวกระตุ้นให้มารดาเกิดอาการซึมเศร้าหลังคลอดได้ ดังนั้น หลังคลอดมารดาควรได้รับการเอาใจใส่ เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงของร่างกายและจิตใจเป็นอย่างมาก การให้ความเข้าใจของสามีและครอบครัวจึงมีความสำคัญ

? ? ? ? ? ? ?การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ก็เป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยลดอาการซึมเศร้า เนื่องจากผลของฮอร์โมนโดยเฉพาะออกซิโตซินที่เป็นฮอร์โมนแห่งความรักช่วยลดการเกิดอาการซึมเศร้า ในทางกลับกันมารดาที่มีโรคซึมเศร้าจะมีความเสี่ยงที่จะหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ก่อนระยะเวลาที่แนะนำ โดยมีการศึกษาพบว่า มารดาที่มีโรคซึมเศร้าจะมีความเสี่ยงที่จะหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ประมาณร้อยละ 20 ที่สามเดือนหลังคลอดเมื่อเทียบกับมารดาที่ไม่มีภาวะนี้1 ดังนั้น โรคหรืออาการซึมเศร้าจึงอาจเป็นทั้งความเสี่ยงต่อการหยุดนมแม่และการไม่ได้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อาจเป็นตัวกระตุ้นของอาการของโรคซึมเศร้าได้ ซึ่งบุคลากรทางการแพทย์ควรเข้าใจและใส่ใจในมารดาที่มีบุคลิกภาพที่เอื้อต่อการเกิดอาการซึมเศร้า เพื่อการวางแผนการติดตามดูแลอย่างใกล้ชิด

เอกสารอ้างอิง

  1. Wouk K, Stuebe AM, Meltzer-Brody S. Postpartum Mental Health and Breastfeeding Practices: An Analysis Using the 2010-2011 Pregnancy Risk Assessment Monitoring System. Matern Child Health J 2017;21:636-47.

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นหน้าที่หรือทางเลือก

IMG_3957

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? เป็นที่ทราบกันดีว่า ประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีทั้งสารอาหารที่ครบถ้วนและช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันแก่ทารก ซึ่งจะช่วยให้ทารกเจริญเติบโต เฉลียวฉลาด และมีสุขภาพที่แข็งแรง โดยทั่วไปมารดาที่คลอดบุตรควรเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ แต่บางครั้งมีคำถามที่เกิดขึ้นว่า การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นหน้าที่หรือเป็นทางเลือกที่มารดาสามารถใช้เหตุผลในการตัดสินใจในการเลือกที่จะให้นมบุตรหรือไม่ ก่อนที่ตอบคำถามนี้คงต้องมาดูถึงความหมายของคำว่า ?หน้าที่? ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน คำว่า หน้าที่ หมายถึง กิจที่จะต้องทำด้วยความรับผิดชอบ จะมีคำว่า ?ต้อง? และ ?ความรับผิดชอบ? ซึ่งเป็นการกำหนดหรือบังคับกระทำด้วยมีผลต่อความรับผิดชอบ หากไม่ปฏิบัติจะขาดความรับผิดชอบ ดังนั้น หากตีความว่าเป็นหน้าที่ของมารดา มารดาที่ไม่ได้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อาจรู้สึกผิด หรือรู้สึกด้อยค่าหากมารดาไม่สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้1 แต่หากให้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นทางเลือก ก่อนที่จะเลือกมารดาควรรับฟังข้อมูลทางเลือกของอาหารสำหรับทารกอย่างครบถ้วนและเลือกสิ่งที่เหมาะสมกับตนเองและทารก การไม่เลือกการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ไม่ถือเป็นสิ่งที่ผิด อย่างไรก็ตาม หน้าที่ของบุคลากรทางการแพทย์ควรแนะนำสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับมารดาและทารกก่อน ดังนั้นไม่ว่ามารดาจะเข้าใจว่าการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นหน้าที่หรือทางเลือกบนพื้นฐานแห่งการรับรู้และประสบการณ์ที่ผ่านมา หากไม่เกิดผลเสียแก่มารดาและทารก บุคลากรทางการแพทย์ควรเคารพความคิดเห็นของมารดาโดยหากมีข้อจำกัดและเหตุผลที่มารดาไม่สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ การให้คำปรึกษาที่จะช่วยแก้ไขปัญหาหรืออุปสรรคที่มารดาและทารกต้องเผชิญก่อน เป็นสิ่งที่ควรกระทำ แต่หากอุปสรรคนั้นไม่สามารถจะผ่านไปได้ การประคับประคองความรู้สึกของมารดา ลดความรู้สึกผิดหรือด้อยค่า ก็ยังเป็นหน้าที่ของบุคลากรทางการแพทย์ด้วย

เอกสารอ้างอิง

  1. Woollard F, Porter L. Breastfeeding and defeasible duties to benefit. J Med Ethics 2017.

 

ภาวะลิ้นติดของทารกส่งผลต่อความวิตกกังวลของมารดา

tongue-tie swu

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? ภาวะลิ้นติดในประเทศไทยพบราวร้อยละ 13-151,2 ซึ่งในกรณีที่มีภาวะลิ้นติดของทารกแรกเกิดชนิดปานกลางหรือรุนแรงจะมีโอกาสที่จะพบการเข้าเต้าของทารกในการกินนมมีความยากลำบากเพิ่มขึ้น หากเป็นปัญหาทำให้การกินนมของทารก สิ่งนี้มักทำให้เกิดความวิตกกังวลแก่มารดา3 ซึ่งการให้คำปรึกษา ให้ทางเลือกสำหรับการผ่าตัดรักษาตั้งแต่ในระยะแรกเมื่อเริ่มพบปัญหาพบว่า จะช่วยลดการเจ็บเต้านม ช่วยให้การเข้าเต้าดีขึ้น และช่วยลดความวิตกกังวลของมารดาลงได้ ซึ่งภาวะลิ้นติดนี้ยังเป็นอุปสรรคอย่างหนึ่งในการส่งเสริมและสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เนื่องจากยังขาดการมอบหมายหรือกำหนดหน้าที่ในการคัดกรองเบื้องต้น ขาดผู้ที่จะให้การยืนยันการวินิจฉัย และที่สำคัญคือขาดผู้ที่จะรับผิดชอบในการให้การผ่าตัดดูแลรักษา ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือของแพทย์จากสหวิชาชีพ รวมทั้งองค์กรกลางที่จะช่วยวางแนวทางในการวินิจฉัยและให้การรักษาที่เหมาะสมกับบริบทของสถานพยาบาลในแต่ละที่ ความตื่นตัวของบุคลากรทางการแพทย์น่าจะช่วยสร้างกลไกที่ก่อให้เกิดการขับเคลื่อนรวมทั้งกระบวนการที่จะช่วยการแก้ปัญหา เพื่อลดผลเสียจากการเข้าเต้าลำบากจากทารกแรกเกิดที่มีภาวะลิ้นติด

เอกสารอ้างอิง

  1. Puapornpong P, Raungrongmorakot K, Mahasitthiwat V, Ketsuwan S. Comparisons of the latching on between newborns with tongue-tie and normal newborns. J Med Assoc Thai 2014;97:255-9.
  2. Puapornpong P, Paritakul P, Suksamarnwong M, Srisuwan S, Ketsuwan S. Nipple Pain Incidence, the Predisposing Factors, the Recovery Period After Care Management, and the Exclusive Breastfeeding Outcome. Breastfeed Med 2017;12:169-73.
  3. Wong K, Patel P, Cohen MB, Levi JR. Breastfeeding Infants with Ankyloglossia: Insight into Mothers’ Experiences. Breastfeed Med 2017;12:86-90.

การใช้ชีวิตอย่างพอเพียง พอดี น่าจะส่งผลดีต่อนมแม่

IMG_2931

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? ? การดำเนินชีวิตอย่างสมดุล พอเพียง และพอดี มีการวางแผนสำหรับการตั้งครรภ์เมื่อมีความพร้อมและอายุที่เหมาะสม การใส่ใจดูแลการตั้งครรภ์ การรับประทานอาหารที่ดีและออกกำลังกายอย่างเหมาะสมเป็นพื้นฐานที่สุขภาพที่ดี เมื่อมารดามีสุขภาพที่ดี โอกาสที่จะสร้างให้เกิดลูกที่ดีและมีคุณภาพจะดีขึ้น แต่คำว่าสุขภาพนั้น ต้องมองถึงสุขภาพทั้งทางกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณด้วย ตัวอย่างเช่น หากมารดาตั้งครรภ์ ก่อนหน้านี้เคยกินกาแฟทุกวันเป็นประจำวันละ 1 แก้ว เมื่อตั้งครรภ์แล้วจึงงดกาแฟเด็ดขาด เนื่องจากความวิตกกังวลว่าจะเกิดผลเสียต่อทารก แล้วอดไม่ได้ กินกาแฟไปหนึ่งแก้วแล้วเครียดหนัก กลับอาจเกิดผลเสียต่อทารกจากความเครียดของมารดามากกว่าการกินกาแฟ หรือมารดาที่ไม่เคยออกกำลังกายเลยก่อนตั้งครรภ์ แต่เห็นว่า การออกกำลังกายเป็นผลดีต่อการตั้งครรภ์ จึงตั้งหน้าตั้งตาออกกำลังกายอย่างหนักจนน้ำหนักลดระหว่างการตั้งครรภ์ ก็อาจเป็นผลเสียมากกว่าผลดีเช่นกัน อีกตัวอย่างหนึ่ง การได้รับแอลกอฮอล์หลังคลอดขณะให้นมบุตร อาจเกิดจากกินยาดองเหล้าหรือการเช้าสังคมเพียงเล็กน้อย ร่วมกับการหลีกเลี่ยงเว้นช่วงระยะเวลาให้นมบุตรให้เหมาะสม มีรายงานว่าไม่มีผลเสียต่อพัฒนาการและการเจริญเติบโตของทารกที่อายุหนึ่งปี1 แต่หากมารดาเครียด ความเครียดนี้อาจมีผลกระทบต่อการหลั่งน้ำนมโดยอาจส่งผลให้น้ำนมลดลงได้ นี่อาจแสดงถึงการใช้ชีวิตอย่างสมดุล มีความรู้ความเข้าอย่างเหมาะสม มีจิตใจที่เบิกบาน ไม่วิตกกังวล เครียดจนเกินไป มีการเข้าสังคม มีเพื่อนบ้านและสภาพแวดล้อมที่ดี มีจิตอาสาที่จะเผื่อแผ่และแบ่งบัน สิ่งเหล่านี้น่าจะทำให้เกิดผลที่ดีในการที่จะสร้างลูก เด็กที่จะเจริญเติบโตไปเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ อย่างที่ประเทศชาติต้องการ โดยการมีนโยบายที่เสนอให้มีลูกเพื่อชาติ

เอกสารอ้างอิง

  1. Wilson J, Tay RY, McCormack C, et al. Alcohol consumption by breastfeeding mothers: Frequency, correlates and infant outcomes. Drug Alcohol Rev 2017.