คลังเก็บป้ายกำกับ: ภาวะลิ้นติดของทารกส่งผลต่อความวิตกกังวลของมารดา

ภาวะลิ้นติดของทารกส่งผลต่อความวิตกกังวลของมารดา

tongue-tie swu

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? ภาวะลิ้นติดในประเทศไทยพบราวร้อยละ 13-151,2 ซึ่งในกรณีที่มีภาวะลิ้นติดของทารกแรกเกิดชนิดปานกลางหรือรุนแรงจะมีโอกาสที่จะพบการเข้าเต้าของทารกในการกินนมมีความยากลำบากเพิ่มขึ้น หากเป็นปัญหาทำให้การกินนมของทารก สิ่งนี้มักทำให้เกิดความวิตกกังวลแก่มารดา3 ซึ่งการให้คำปรึกษา ให้ทางเลือกสำหรับการผ่าตัดรักษาตั้งแต่ในระยะแรกเมื่อเริ่มพบปัญหาพบว่า จะช่วยลดการเจ็บเต้านม ช่วยให้การเข้าเต้าดีขึ้น และช่วยลดความวิตกกังวลของมารดาลงได้ ซึ่งภาวะลิ้นติดนี้ยังเป็นอุปสรรคอย่างหนึ่งในการส่งเสริมและสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เนื่องจากยังขาดการมอบหมายหรือกำหนดหน้าที่ในการคัดกรองเบื้องต้น ขาดผู้ที่จะให้การยืนยันการวินิจฉัย และที่สำคัญคือขาดผู้ที่จะรับผิดชอบในการให้การผ่าตัดดูแลรักษา ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือของแพทย์จากสหวิชาชีพ รวมทั้งองค์กรกลางที่จะช่วยวางแนวทางในการวินิจฉัยและให้การรักษาที่เหมาะสมกับบริบทของสถานพยาบาลในแต่ละที่ ความตื่นตัวของบุคลากรทางการแพทย์น่าจะช่วยสร้างกลไกที่ก่อให้เกิดการขับเคลื่อนรวมทั้งกระบวนการที่จะช่วยการแก้ปัญหา เพื่อลดผลเสียจากการเข้าเต้าลำบากจากทารกแรกเกิดที่มีภาวะลิ้นติด

เอกสารอ้างอิง

  1. Puapornpong P, Raungrongmorakot K, Mahasitthiwat V, Ketsuwan S. Comparisons of the latching on between newborns with tongue-tie and normal newborns. J Med Assoc Thai 2014;97:255-9.
  2. Puapornpong P, Paritakul P, Suksamarnwong M, Srisuwan S, Ketsuwan S. Nipple Pain Incidence, the Predisposing Factors, the Recovery Period After Care Management, and the Exclusive Breastfeeding Outcome. Breastfeed Med 2017;12:169-73.
  3. Wong K, Patel P, Cohen MB, Levi JR. Breastfeeding Infants with Ankyloglossia: Insight into Mothers’ Experiences. Breastfeed Med 2017;12:86-90.