คลังเก็บหมวดหมู่: ข่าวสาร

ข่าวสาร

ทำอย่างไร จะช่วยการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในครรภ์แฝด

S__38207905

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ครรภ์แฝดเป็นภาวะแทรกซ้อนอย่างหนึ่งของการตั้งครรภ์ที่ในปัจจุบันพบเพิ่มขึ้นในประเทศต่างๆ ทั่วโลก เนื่องจากค่านิยมของสตรีที่แต่งงานช้าลง เมื่อแต่งงานเมื่ออายุมากขึ้นก็มีโอกาสที่ต้องพึ่งพาการใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ซึ่งมีโอกาสที่จะเกิดการตั้งครรภ์แฝดเพิ่มขึ้น ปัญหาที่พบเพิ่มขึ้นในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในครรภ์แฝดเป็นสิ่งที่พบตามมา เนื่องจากการที่ครรภ์แฝดมีโอกาสที่จะเกิดการคลอดก่อนกำหนดและทารกน้ำหนักตัวจากการอยู่ในพื้นที่ในครรภ์มารดาที่มีความจำกัด ต้องอยู่ในภาวะแบ่งกันกินแบ่งกันอยู่ หลังคลอดทารกมีโอกาสต้องเข้ารักษาที่หอผู้ป่วยทารกวิกฤตเพิ่มขึ้น ทำให้การเริ่มนมแม่ทำได้ช้า รวมทั้งเมื่อให้นมแม่ได้แล้วยังต้องจัดเวลาเพื่อให้นมแก่ทารกที่มากกว่าหนึ่งคนให้เพียงพอ จึงมักพบว่าระยะเวลาของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดาที่มีครรภ์แฝดมักให้นมลูกได้สั้นกว่ามารดาที่เป็นครรภ์เดี่ยว มีความพยายามที่จะให้คำปรึกษา อบรม และสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในครรภ์แฝด ซึ่งการให้คำปรึกษาที่ดีก็น่าจะช่วยให้มารดาและครอบครัวเตรียมพร้อมที่จะช่วยให้ลูกได้กินนมแม่ได้ดีขึ้น แต่ยังขาดหลักฐานเชิงประจักษ์ถึงประโยชน์ที่เหนือกว่าจากการที่ให้ความรู้และให้การสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดาครรภ์แฝดจากการศึกษาทดลองแบบสุ่ม (randomized controlled trial)1 อย่างไรก็ตาม การดูแล การช่วยป้องกันและลดภาวะแทรกซ้อนของทารกแฝดให้น้อยลง น่าจะช่วยให้โอกาสของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ดีและมีสูงขึ้น

เอกสารอ้างอิง

  1. Whitford HM, Wallis SK, Dowswell T, West HM, Renfrew MJ. Breastfeeding education and support for women with twins or higher order multiples. Cochrane Database Syst Rev 2017;2:CD012003.

การตั้งครรภ์ครั้งแรกและการได้รับการให้ความรู้เรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สำคัญกว่าอายุของมารดา

IMG_3523

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? ? เป็นที่ทราบกันดีว่า อายุของมารดาเป็นปัจจัยที่มีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ แต่หากวิเคราะห์ลงไปในรายละเอียด ปัจจัยที่มีผลเกี่ยวข้องกันได้แก่ ปัจจัยจากลำดับครรภ์และปัจจัยเรื่องการได้รับความรู้เรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่1 โดยหากมารดาที่ตั้งครรภ์หรือมีบุตรอายุน้อยมักจะมีความสัมพันธ์กับการเป็นการตั้งครรภ์ครั้งแรก ซึ่งมารดายังขาดประสบการณ์ในการดูแลครรภ์ การคลอด และการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ทำให้มีผลต่อระยะเวลาและอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และเช่นเดียวกันในมารดาที่อายุน้อย ยิ่งหากเป็นมารดาวัยรุ่นหรืออยู่ในวัยเรียน การตั้งครรภ์มักไม่ได้วางแผนหรือเป็นการตั้งครรภ์ที่ไม่ต้องการ ดังนั้น ความสนใจจะแสวงหาความรู้เกี่ยวกับการดูแลครรภ์และการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มักจะมีน้อย สิ่งนี้ส่งผลต่อทั้งอัตราและระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การให้คำปรึกษาจึงต้องเริ่มจากการชักจูงมารดาให้เข้าร่วมการฝากครรภ์ตามระบบ เพื่อจะให้ได้รับการให้คำปรึกษา การถ่ายทอดประสบการณ์จากกลุ่มมารดาที่มาฝากครรภ์ด้วยกัน ซึ่งจะสร้างให้เกิดความเข้าใจ ตั้งใจ และมีทัศนคติที่ดีต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยจะส่งผลดีต่อผลลัพธ์ของการตั้งครรภ์ สุขภาพมารดาและทารก

เอกสารอ้างอิง

  1. Whipps MD. Education Attainment and Parity Explain the Relationship Between Maternal Age and Breastfeeding Duration in U.S. Mothers. J Hum Lact 2017;33:220-4.

 

อุปสรรคของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดาวัยเรียน

IMG_3739

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ?ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นเป็นปัญหาที่พบเพิ่มขึ้นทั่วโลกรวมทั้งในประเทศไทย เมื่อมารดาตั้งครรภ์ในขณะที่เป็นวัยรุ่น ส่วนใหญ่มักอยู่ในวัยเรียน ซึ่งปัญหาหรือภาวะแทรกซ้อนระหว่างการตั้งครรภ์และการคลอดเพิ่มขึ้น ได้แก่ การเกิดการคลอดก่อนกำหนด ภาวะทารกน้ำหนักตัวน้อย และหากมีการตั้งครรภ์ในมารดาที่อายุน้อยกว่า 13 ปี อุ้งเชิงกรานของมารดาอาจจะยังขยายขนาดไม่เพียงพอ ทำให้การคลอดบุตรยากลำบากและเสี่ยงต่อการผ่าตัดคลอดเพิ่มขึ้น หลังคลอดมารดาวัยรุ่นโดยเฉพาะที่อยู่ในวัยเรียนมักมีอุปสรรคในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยมารดามักมีอารมณ์ความรู้สึกโดดเดี่ยวและมีความกังวลว่า คนอื่นๆ จะคิดอย่างไรกับการตั้งครรภ์ของตนเอง นอกจากนี้มักเกิดคำถามในใจว่า จะให้นมลูกได้ที่ไหน จะปั๊มนมให้ลูกได้อย่างไร และส่วนหนึ่งมีการให้นมผงดัดแปลงสำหรับทารกเมื่อมารดากลับไปเรียนต่อ1 ดังนั้น จะเห็นว่า ปัญหาของมารดาวัยเรียนในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นั้น ต้องการการดูแลให้คำปรึกษาเพื่อแก้ปัญหาทั้งทางร่างกายและทางจิตใจที่บุคลากรทางการแพทย์ควรมีความเข้าใจถึงปัญหาของมารดาวัยเรียนเป็นอย่างดี

เอกสารอ้างอิง

  1. West JM, Power J, Hayward K, Joy P. An Exploratory Thematic Analysis of the Breastfeeding Experience of Students at a Canadian University. J Hum Lact 2017;33:205-13.

 

การสอนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของนักศึกษาพยาบาล

IMG_5808

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? เป็นที่ทราบกันดีว่า พยาบาลเป็นเสมือนบุคลากรหลักที่เป็นกำลังในการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ แต่การจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนที่สอนการพยาบาลนั้น แม้มีรายงานว่าส่วนใหญ่จะมีการจัดการเรียนการสอนเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ราวร้อยละ 80? แต่มีการเรียนการสอนส่วนใหญ่เพียง 1-2 ชั่วโมงและยังขาดหลักสูตรที่จัดการเรียนการสอนเฉพาะเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่1 สิ่งนี้มีผลต่อการเริ่มดำเนินการส่งเสริมและสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในสถานพยาบาล เนื่องจากการขาดความรู้ ทำให้ขาดความมั่นใจในการให้คำปรึกษาเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่แก่มารดาและครอบครัว โดยหากคาดหวังว่า แพทย์จะเป็นผู้ให้คำปรึกษาในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การจัดการเรียนการสอนเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของนักศึกษาแพทย์นั้น มักมีการจัดการเรียนการสอนน้อยกว่าของพยาบาล ดังนั้น จึงต้องมีการส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ตามหลักสูตรที่สร้างให้พยาบาลหรือแพทย์ที่จบมานั้น มีศักยภาพที่จะให้คำปรึกษาเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เบื้องต้นได้ด้วยความมั่นใจอย่างเต็มใจ ซึ่งต้องมีการร่วมสร้างทัศนคติที่ดีต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ขณะที่จัดการเรียนการสอนด้วย

เอกสารอ้างอิง

  1. Webber E, Serowoky M. Breastfeeding Curricular Content of Family Nurse Practitioner Programs. J Pediatr Health Care 2017;31:189-95.

 

แหล่งการเรียนรู้เรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของบุคลากรทางการแพทย์

s__38207668-1

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? การส่งเสริมการให้ความรู้เรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่แก่มารดาและครอบครัวเป็นสิ่งที่จะช่วยให้มารดาเข้าใจถึงประโยชน์และความสำคัญในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และช่วยในการเพิ่มอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ แต่ในการเรียนการสอนของแพทย์ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ยังมีการจัดการเรียนการสอนในเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่น้อย และยังขาดการเพิ่มทักษะที่จะให้การดูแลมารดาเมื่อมีปัญหาเบื้องต้นเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่1

? ? ? ? ? ? ? ในประเทศไทย หลักสูตรของแพทยศาสตร์บัณฑิตในโรงเรียนแพทย์ต่างๆ ยังมีความหลากหลาย ส่วนใหญ่ความรู้และทักษะขึ้นอยู่กับว่า ขณะที่นักศึกษาแพทย์ผ่านการเรียนรู้ที่แผนกสูติศาสตร์และกุมารเวชศาสตร์ มีอาจารย์ผู้ดูแลมีความสนใจในเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อยู่หรือไม่ หากไม่มี นักศึกษาบางคนอาจขาดทักษะและประสบการณ์ในการเรียนรู้ ซึ่งเป็นจุดอ่อนของการจัดการเรียนการสอนในขณะที่โรคต่างๆ เพิ่มขึ้นมากและระยะเวลาการอบรมเพื่อการเป็นแพทย์ยังมีความจำกัดที่ 6 ปี การให้หรือการจัดลำดับความสำคัญในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จึงมีความแตกต่างกัน

? ? ? ? ? ? ? ? ?สำหรับหลักสูตรพยาบาล ส่วนใหญ่มีการจัดการเรียนการสอนเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ แต่การฝึกทักษะเพื่อให้คำปรึกษากับมารดาและครอบครัวยังมีความจำกัด ในพยาบาลผู้ที่จะมาทำหน้าที่ให้คำปรึกษาที่คลินิกนมแม่จึงต้องได้รับการอบรมเพิ่มเติม ขณะที่สถานที่ที่จะอบรมให้ความรู้เรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่เป็นหลักสูตรที่เฉพาะยังมีน้อย ได้แก่ ที่ศิริราชพยาบาล โดยในสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินีเป็นการจัดเพิ่มพูนทักษะทางปฏิบัติ ดังนั้น ความขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญทางพยาบาลการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จึงเป็นปัญหาในประเทศไทย อย่างไรก็ตาม การอนุมัติหลักสูตรเฉพาะทางพยาบาลผู้ชำนาญการการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อาจเป็นจุดเริ่มต้นในการแก้ปัญหา โดยโรงเรียนที่สอนพยาบาลควรได้รับการส่งเสริมให้เปิดหลักสูตรนี้พร้อมกับการสร้างบันไดอาชีพให้แก่พยาบาลผู้ชำนาญการทางด้านนี้

? ? ? ? ? ? ? ?ในบุคลากรสาขาอื่นๆ ที่ยังมีบทบาทสำคัญในการช่วยดูแลเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ได้แก่ เภสัชกร เจ้าหน้าที่สาธารณสุข รวมถึงเครือข่ายบุคลากรทางสาธารณสุขในชุมชนก็มีความจำเป็นที่จะต้องได้รับการอบรมและให้ความรู้ ให้มีความรู้ที่ทันสมัยอย่างต่อเนื่อง เพื่อจะเป็นส่วนหนึ่งในระบบที่จะช่วยขับเคลื่อนการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในชุมชน

เอกสารอ้างอิง

  1. Webber E, Serowoky M. Breastfeeding Curricular Content of Family Nurse Practitioner Programs. J Pediatr Health Care 2017;31:189-95.