คลังเก็บหมวดหมู่: ข่าวสาร

ข่าวสาร

นมแม่ จุดเริ่มต้นของการพัฒนาความเฉลียวฉลาดของลูก

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? นมแม่เป็นจุดเริ่มต้นของโครงสร้างสมองที่ดี โดยเด็กที่กินนมแม่จะมีการพัฒนาโครงสร้างทางกายภาพของสมองซึ่งจะเป็นรากฐานของความเฉลียวฉลาด (executive function) ที่จะบ่งบอกถึงการเลือกตัดสินใจได้อย่างเหมาะสม และทำให้มีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จในชีวิตสูงขึ้น ?องค์ประกอบของความเฉลียวฉลาดประกอบด้วยความสามารถของสมอง 5 ประการ ได้แก่

  • การตั้งเป้าหมาย (goal-directed) โดยจะมีการวางแผน การลำดับงาน และทำต่อเนื่องไปจนบรรลุเป้าหมาย
  • การควบคุมตนเอง (self-control) โดยจะมีสมาธิจดจ่อ ไม่หันไปทำสิ่งอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้อง
  • การปรับเปลี่ยนความยืดหยุ่นในความคิด (switching) โดยเปรียบเทียบคล้ายคลึงกับการเปลี่ยนเกียร์ของการทำงานของสมอง เพื่อรับมือกับปัญหาและสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งแสดงถึงความยืดหยุ่นในความคิด
  • ความสามารถในการจดจำการทำงาน (working memory) โดยการสามารถจะเรียกใช้ข้อมูลในสมองมาคิดหรือวิเคราะห์ได้อย่างรวดเร็ว ความสามารถในการจดจำข้อมูลไว้ชั่วคราว และการจัดการกับข้อมูลเหล่านั้นขณะที่ทำงาน
  • สติปัญญา (cognitive function) มีการใช้ความคิดและเหตุผลในการแก้ปัญหา

มีการศึกษาพบว่า นมแม่ช่วยในการพัฒนาความเฉลียวฉลาดได้จาก

  1. เพิ่มการทำงานของปลายประสาทให้มีความรวดเร็วขึ้น โคเลสเตอรอลที่มีในนมแม่จะช่วยสร้างไมยีลิน (myelin) ที่เป็นเปลือกหุ้มปลายประสาทที่จะช่วยให้การสื่อสารของเซลล์ประสาททำได้ดีและมีความรวดเร็วขึ้น
  2. เพิ่มเนื้อสมองส่วนที่เป็นสีขาวในสมองส่วนหน้า การเพิ่มสมองส่วนที่เป็นสีขาวในสมองส่วนหน้าในส่วน promotor และสมองส่วนที่ทำงานในส่วน association area จะช่วยประสานการเชื่อมโยงสัญญาณของระบบประสาทได้ดีขึ้น
  3. ช่วยบรรเทาการเกิดผลเสียจากภาวะเครียด (toxic stress) เนื่องจากภาวะเครียดจะส่งผลเสียที่เป็นพิษที่จะทำลายวงจรการพัฒนาของสมองส่วนหน้าและสมองที่ทำหน้าที่ในการตัดสินใจ ซึ่งกระบวนการต่าง ๆ ในระหว่างที่ทารกที่กินนมแม่จะช่วยลดภาวะเครียดที่เกิดกับทารกได้ ผลประโยชน์จะเกิดกับมารดาและทารก ได้แก่
  • ผลประโยชน์ต่อมารดา เกิดจากการโอบกอดเนื้อแนบเนื้อ การเพิ่มของฮอร์โมนแห่งความรัก หรือออกซิโทซิน ความรักและผูกพันกับลูก ช่วยการกระตุ้นน้ำนม และลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะซึมเศร้าหรือนอนไม่หลับ
  • ผลประโยชน์ต่อทารก ช่วยพัฒนาระบบภูมิคุ้มกัน ความรักและผูกพันกับมารดา เพิ่มระดับฮอร์โมนคอร์ติซอล เพิ่มการไหลเวียนของเลือดและความเสถียร และลดผลเสียที่เกิดจากภาวะเครียด

??????????????? จากข้อมูลข้างต้นจะให้การสนับสนุนในเรื่องนมแม่กับการพัฒนาความเฉลียวฉลาด นอกจากนี้ ยังมีรายงานการวิจัยว่านมแม่ช่วยเพิ่มคะแนนความฉลาด (IQ) ซึ่งการพัฒนาคความฉลาดจะอยู่ในสมองส่วนเดียวกันกับความเฉลียวฉลาด โดยจะอยู่ในสมองส่วน fronto-parietal หากมีการตัดหรือทำลายสมองส่วนหน้าจะเกิดปัญหาต่อความเฉลียวฉลาดและคะแนนความฉลาดไปพร้อม ๆ กัน สิ่งนี้ช่วยยืนยันว่าการพัฒนาคะแนนความฉลาดจากการกินนมแม่น่าจะช่วยพัฒนาความเฉลียวฉลาดด้วย

ที่มาจาก การบรรยายของ อาจารย์พรพิไล เลิศวิชา และหนังสือประกอบการประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติครั้งที่ 6 ในวันที่ 8-10 พฤศจิกายน 2560 ณ โรงแรมมณเฑียร ริเวอร์ไซด์

จากการโอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อสู่การโอบอุ้มทารก

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? เป็นที่ทราบกันเป็นอย่างดีว่า การโอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อ (kangaroo mother care หรือ skin-to-skin contact) มีประโยชน์ต่อทั้งทารกที่คลอดครบกำหนดและทารกที่คลอดก่อนด้วย โดยรายละเอียดของประโยชน์ที่มี ได้แก่

  1. ช่วยให้อัตราการเต้นของหัวใจทารกอยู่ในเกณฑ์ปกติ
  2. ช่วยให้อัตราการหายใจของทารกคงที่
  3. ช่วยควบคุมอุณหภูมิกายของทารกให้เหมาะสม
  4. ช่วยเพิ่มน้ำหนักตัวและการเจริญเติบโตของสมองทารก
  5. ช่วยลดจำนวนวันในการนอนโรงพยาบาล
  6. ช่วยให้ทารกหลับได้นานขึ้น
  7. ช่วยลดความเจ็บปวดและความเครียดของทารก
  8. ส่งเสริมให้ทารกดูดนมจากเต้าได้เร็วขึ้นและเพิ่มความรักความผูกพันระหว่างมารดาและทารก

? ? ? ? ? ? ซึ่งในการโอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อ เน้นให้อุ้มทารกที่สวมเฉพาะผ้าอ้อม เพื่อให้ผิวกายของทารกได้สัมผัสกับมารดา โดยจัดแขนขาทารกให้อยู่ในท่าคล้ายกบอยู่บนอกของมารดา

? ? ? ? ? ?สำหรับการใช้ผ้าโอบอุ้มทารก (baby wearing) เป็นวิธีที่ใช้ส่วนของผ้ารองรับน้ำหนักตัวของทารกจากร่างกายผู้อุ้ม ซึ่งสามารถใช้ได้ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงวัยหัดเดิน โดยรายละเอียดของประโยชน์ที่มี ได้แก่

  1. ทำให้ทารกสงบขึ้น ร้องไห้น้อยลง
  2. ทารกแรกคลอดหรือทารกที่มีความต้องการพิเศษ เมื่ออยู่ติดกับมารดา จังหวะหัวใจ การหายใจและการเคลื่อนไหวของมารดาจะกระตุ้นการตอบสนองทางร่างกายของทารก ทำให้มารดารู้สึกมั่นใจในการเลี้ยงดูทารก
  3. ลดการเกิดภาวะซึมเศร้าหลังคลอด
  4. ทารกได้ใกล้ชิดผู้คน ส่งเสริมการเรียนรู้เรื่องภาษาได้เร็วขึ้น
  5. มารดารู้สึกสบายขึ้น เมื่อทารกอายุมากขึ้น มารดาสามารถทำงานไปพร้อมกับการโอบอุ้มทารก โดยไม่ต้องหยุดพักบ่อย ๆ

ชนิดของผ้าที่ใช้โอบอุ้มทารกมีหลายชนิด ได้แก่

  • Wraps จะเป็นผ้าที่ยาวมากนำมาพันห่อหุ้มตัวเด็ก โดยมีทั้งชนิดที่อุ้มทารกทางด้านหน้าและทางด้านหลัง เทคนิคการพันผ้ามีหลายรูปแบบ เช่น Woven และ stretchy wrap
  • Ring slings จะมีแหวนโลหะหรือไนลอนที่ยึดติดกับปลายผ้าที่จะใช้ปรับขนาดของผ้าที่รองรับทารกให้เข้ากับร่างกายของมารดา
  • Pouch slings ผ้าจะมีลักษณะคล้ายสายสะพาย สวมจากไหล่ข้างหนึ่งไปยังสะโพกพาดข้ามลำตัวมารดา ไม่สามารถปรับขนาดได้ แต่สามารถจะใช้อุ้มทารกทั้งทางด้านหน้าและด้านหลังได้
  • Buckle carriers หรือที่เรียกว่า กระเป๋าเป้อุ้ม ผลิตจากวัสดุที่มีโครงสร้างแบบอ่อน ส่วนใหญ่มีสายรัดที่เบาะและไหล่เพื่อความสบายในการสวมใส่ สามารถปรับสายรัดให้พอดีกับผู้อุ้มได้ โดยมีให้เลือกทั้งขนาดที่รองรับทารกที่มีน้ำหนักน้อยและทารกที่มีน้ำหนักมากขึ้น
  • Asian-style baby carriers จะมีรูปแบบหลากหลายที่ใช้ในประเทศในกลุ่มอาเซียน ได้แก่ Mei Tai จากประเทศจีน Podaegi จากเกาหลี และ Onbuhimo จากประเทศญี่ปุ่น

? ? ? ? ? ? ?แล้วทำไมต้องมีการพูดถึง จากการโอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อสู่การโอบอุ้มทารก เนื่องจากการที่จะสนับสนุนให้ทารกได้กินนมแม่ในระยะเวลาที่เหมาะสม การโอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อจะมีส่วนช่วยให้ทารกดูดนมแม่จากเต้าได้ดีขึ้น แต่เมื่อทารกเจริญเติบโตขึ้น ในสังคมปัจจุบัน บทบาทของมารดามีด้วยกันหลายบทบาททั้งในส่วนที่เป็นแม่บ้าน แม่ที่ทำงาน รวมทั้งบทบาทแม่ที่ต้องให้นมลูก การเลือกใช้ผ้าโอบอุ้มทารกจะทำให้มารดาสามารถทำกิจกรรมอื่น ๆ ไปพร้อมกับการดูแลทารกได้ ทำให้มีความมั่นใจในการที่จะเลี้ยงดูทารกและมีความมั่นใจที่จะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ดีขึ้น

ที่มาจาก การบรรยายของ หทัยทิพย์ โสมดำ ณัฐวีณ์ บุนนาค และพีณภัทร์ รุจิเกียรติขจร ในงานการประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติครั้งที่ 6 ในวันที่ 8-10 พฤศจิกายน 2560 ณ โรงแรมมณเฑียร ริเวอร์ไซด์

ความสัมพันธ์ของพังผืดใต้ลิ้นกับการดูดนมมารดา

มงคล เลาหเพ็ญแสง

นมแม่…แหล่งอาหารสำคัญของลูก

? ? ? ? ? ? ? ? ? เป็นที่ทราบกันดีว่า นมแม่เป็นแหล่งอาหารที่มีคุณค่ามากที่สุดสำหรับลูก โดยเฉพาะในเด็กวัยแรกเกิดถึง 6 เดือน ทั้งสารอาหารที่มีประโยชน์ และภูมิต้านทานโรค นอกจากนี้ยังสะดวกและประหยัด ที่สำคัญระหว่างให้นมลูกนั้นเป็นช่วงเวลาคุณภาพที่ช่วยสร้างสายสัมพันธ์ระหว่างแม่ลูกให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น คลินิกนมแม่ โรงพยาบาลศิริราชจึงรณรงค์การให้นมแม่อย่างต่อเนื่อง ปัญหาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จึงลดน้อยลง ทว่าคลินิกนมแม่กลับพบปัญหาใหม่ นั่นคือคุณแม่จำนวนหนึ่งไม่สามารถให้นมลูกได้ เนื่องจากเด็กมีพังผืดใต้ลิ้น จากปัญหาดังกล่าว ทำให้แม่หลายคนตัดสินใจให้ลูกดูดนมจากขวดพลาสติกแทนการดูดจากเต้าตนเอง เพราะทนเจ็บไม่ไหว การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จึงเกิดความล้มเหลว จึงได้มีการวางแผนการรักษาด้วยการผ่าตัด และทำการวิจัยเปรียบเทียบวิธีการรักษาพังผืดใต้ลิ้นระหว่างการผ่าตัดโดยการดมยาสลบที่ทำมาแต่เดิม (frenuloplasty) และการผ่าตัดโดยการใช้ยาชาเฉพาะที่ (frenulotomy) ว่าจะสามารถแก้ปัญหาได้เหมือนกันหรือไม่ เมื่อนำผลการรักษาทั้ง 2 วิธีมาเปรียบเทียบกันพบว่า การใช้ยาชาเฉพาะที่สะดวก รวดเร็ว ลดอัตราเสี่ยงจากการดมยาสลบ และที่สำคัญคือลดค่าใช้จ่าย ซึ่งค่ารักษาพยาบาลด้วยการดมยาสลบประมาณ 2,000 กว่าบาท แต่การใช้ยาชาเฉพาะที่ราคาจะประมาณ 200-300 บาท และเป็นการแก้ปัญหาอย่างทันท่วงที ต่อมาจึงมีการพัฒนา Care Team Tongue Tie เพื่อให้การดูแลมีการเชื่อมโยงและต่อเนื่อง และได้มีการพัฒนา SIRIRAJ TONGUE-TIE SCORE (STT Score)

กำเนิด SIRIRAJ TONGUE-TIE SCORE

??????????????? เนื่องจากการวิจัยทำในเด็กจำนวน 1,500 ราย ทั้งยังเป็นเรื่องที่ค่อนข้างใหม่ที่ยังไม่มีใครมีความรู้เรื่องนี้เลย ก่อนลงมือทำจึงต้องมีการวางแผนเป็นอย่างดี เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจในการผ่าตัดรักษา จากผลการศึกษานำมาสู่การพัฒนา SIRIRAJ TONGUE-TIE SCORE ดังรูปที่ 1

รูปที่ 1 SIRIRAJ TONGUE-TIE SCORE

???????????????? การพัฒนาเครื่องมือนนี้จะช่วยในการตัดสินใจในทำการผ่าตัดในเด็กที่มีปัญหาเรื่องการดูดนมไม่ได้เท่านั้น ถ้าในเด็กที่มีพังผืดเยอะ แต่ยังสามารถดูดนมแม่ได้เราก็จะไม่ผ่าตัด และเครื่องมือนี้จะสามารถช่วยเราวินิจฉัยได้ว่า คนไข้กลุ่มไหนที่ควรได้รับการผ่าตัด กลุ่มไหนไม่มีปัญหาเราก็ไม่ทำ

??????????????? ?เครื่องมือนี้คือเครื่องมือวัดปัญหาการดูดนมของเด็ก ความจริงอาจไม่ใช่ปัญหาเรื่องพังผืด หรือเรื่องลานหัวนมแม่ แต่อาจะเป็นปัญหาการอุ้มลูกไม่ถูกวิธี เพราะบางคนเป็นแม่ครั้งแรก ไม่เคยมีประสบการณ์ในการเลี้ยงลูก ซึ่งถ้าเราให้ความช่วยเหลือในเรื่องของการจัดท่าให้นม มารดาก็จะสามารถผ่านปัญหานี้ไปได้อย่างสบาย แถมไม่ต้องมีความเจ็บปวดจากการถูกลูกงับลานหัวนม ไม่ต้องมีปัญหาหัวนมแตก หรือเจ็บปวดด้วย แต่ถ้าขาดการช่วยเหลือ เด็กก็จะงับดูดนมแบบผิดวิธี หรือใช้เหงือกงับหัวนมแม่ และทำให้เด็กดูดนมได้ไม่ดี ทั้งที่ความจริงน่าจะดูดได้ดี?

??????????????? ความสำเร็จที่ได้รับจากการทำวิจัยในครั้งนี้ ?นอกจากจะช่วยยกระดับการทำงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้มีมาตรฐานขึ้น ผู้ป่วยได้รับประโยชน์ทั้งแม่และเด็กแล้ว ยังนำมาซึ่งความภาคภูมิใจของทีมงาน และทำให้บุคลากรชื่นใจ

??????????????? ปัจจุบันศิริราชมีคลินิกดูแลเฉพาะพังผืดใต้ลิ้นอย่างครบวงจร? ทำการผ่าตัดรักษาช่วยให้ทารกที่มีปัญหา กลับมาดูดนมได้อย่างมีประสิทธิภาพ? โดยปลอดภัยไปมากกว่า 30,000 ราย? และยังเป็นสถานที่ฝึกอบรมบุคลากรทุกระดับออกไปรับใช้สังคมไทย? ช่วยเหลือส่งเสริมการเรื่องลูกด้วยนมมารดา อย่างต่อเนื่อง

ที่มาจาก การบรรยายและหนังสือประกอบการประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติครั้งที่ 6 ในวันที่ 8-10 พฤศจิกายน 2560 ณ โรงแรมมณเฑียร ริเวอร์ไซด์

 

ความเป็นไปได้ในการจ่ายค่าตอบแทน DRG ในการให้บริการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

กฤช ลี่ทองอิน

? ? ? ? ? ? ? วิธีการจ่ายเงินแก่ผู้ให้บริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ที่สำคัญมี 3 วิธี คือ

1. จ่ายแบบเหมาจ่ายตามรายหัวประชากร (Capitation) สำหรับบริการผู้ป่วยนอก และบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค (บางส่วน)

2. จ่ายตามกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม (DRG) เป็นการจ่ายตามรายป่วยสำหรับบริการผู้ป่วยใน

3. จ่ายตามผลการปฏิบัติงาน (Pay for performance) เช่น จ่ายตามรายกิจกรรม รายครั้ง รายบริการ รายชุดบริการ บริการถึงเป้าหมายที่กำหนด โดยจ่ายตามรายการในอัตราที่กำหนด (fee schedule) หรือจ่ายเป็นอุปกรณ์/ยา จ่ายในอัตราเหมาจ่ายตามชุดเหมาบริการ จ่ายเพิ่มพิเศษ (Bonus)

??????????????? บริการให้คำแนะนำการให้นมแม่/สาธิตการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เป็นกิจกรรมย่อยของบริการดูแลหลังคลอดภายใต้สิทธิประโยชน์บริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ซึ่งมีค่าใช้จ่ายรองรับแล้ว ในทางปฏิบัติการให้คำแนะนำการให้นมแม่มีการดำเนินการตั้งแต่ระยะหลังคลอดขณะอยู่ที่โรงพยาบาลแบบผู้ป่วยใน ซึ่งอาจไม่เพียงพอในการสร้างความรู้ความเข้าใจ โดยมีความจำเป็นต้องนัดต่อเนื่องแบบผู้ป่วยนอกเพื่อให้คำแนะนำเพิ่มเติมพร้อมไปกับการตรวจหลังคลอดหรือตรวจติดตามเด็ก หรืออาจแนะนำขณะเยี่ยมบ้าน

? ? ? ? ? ? ? การจ่ายแบบเหมาจ่ายตามรายหัว ถึงแม้ระบุว่ารวมบริการให้คำแนะนำนมแม่โดยไม่จ่ายเป็นการเฉพาะ จะไม่จูงใจต่อการให้บริการ หากจ่ายรวมใน DRG สำหรับผู้ป่วยในซึ่งเป็นผู้ป่วยระยะเฉียบพลันนั้น โดยทางทฤษฎีสามารถคิดรวมใน DRG ได้ แต่ลักษณะกิจกรรมเป็นรูปแบบการให้คำปรึกษาอาจไม่ส่งผลต่อค่าน้ำหนักสัมพัทธ์มากนักเมื่อเทียบกับกิจกรรมบริการอื่นๆ ทำให้ค่าใช้จ่ายที่คาดว่าจะได้เพิ่มไม่ชัดเจน ซึ่งไม่อาจสร้างแรงจูงใจในการบริการ การจ่ายตามผลการปฏิบัติงานโดยกำหนดชุดเหมาบริการให้คำแนะ นำการให้นมแม่พร้อมเงื่อนไขการบริการให้ชัดเจน และกำหนดอัตราเหมาจ่ายที่จูงใจพอควร น่าจะเป็นทาง เลือกในการสนับสนุนนโยบายการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้ปรากฏเป็นจริง? นอกจากนั้น ยังมีเรื่องคุณสมบัติของเจ้าหน้าที่และหน่วยบริการ ที่จะให้บริการและเบิกจ่าย รวมทั้งการตรวจสอบ ที่จะต้องพิจารณาโดยการมีส่วนร่วมของผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียและที่เกี่ยวข้อง

ที่มาจาก การบรรยายและหนังสือประกอบการประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติครั้งที่ 6 ในวันที่ 8-10 พฤศจิกายน 2560 ณ โรงแรมมณเฑียร ริเวิอร์ไซด์

ข้อมูลงานวิจัยที่ช่วยฝ่าฟันอุปสรรคของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? มีงานวิจัยที่สนับสนุนการขับเคลื่อน การฝ่าฟันอุปสรรคของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่บุคลากรทางการแพทย์และผู้ที่สนใจในการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ควรศึกษา ได้แก่

  • การศึกษาทบทวนเรื่องการให้ความรู้เรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในระหว่างการฝากครรภ์เพื่อช่วยเพิ่มระยะเวลาของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยแม้ว่าที่ผ่านมา จะเชื่อว่าการให้ความรู้แก่มารดาและครอบครัวจะมีส่วนช่วยในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ แต่ยังขาดหลักฐานเชิงประจักษ์ที่จะยืนยันว่า การให้ความรู้ในระหว่างการฝากครรภ์จะช่วยเพิ่มการเริ่มการกินนมแม่ เพิ่มสัดส่วนหรืออัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หรืออัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวที่ระยะสามเดือนหรือหกเดือน หรือเพิ่มระยะเวลาของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การอ่านการทบทวนบทความนี้จะมีความเข้าใจถึงการจัดการให้ความรู้ในระหว่างการฝากครรภ์ในรูปแบบต่าง ๆ และแนวโน้มของผลที่มีต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่1
  • การศึกษาอย่างเป็นระบบถึงการจัดการสาธารณสุขพื้นฐานเพื่อสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ซึ่งพบว่าในประเทศที่กำลังพัฒนา การจัดโปรแกรมการให้ความรู้แก่มารดาช่วยเพิ่มอัตราการเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในระยะสั้น สำหรับการเยี่ยมบ้านหรือการโทรศัพท์ติดตามเยี่ยมมารดาจะช่วยเพิ่มอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ทั้งในระยะสั้นและในระยะยาว2 นอกจากนี้ การจัดโปรแกรมให้ความรู้และติดตามการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่โดยบุคลากรทางการแพทย์ยังช่วยสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดากลุ่มที่มีรายได้น้อยด้วย3
  • การให้การสนับสนุนในระดับชุมชนที่ช่วยพัฒนาการดูแลสุขภาพมารดาและทารก พบว่าการจัดบริการการติดตามเยี่ยมบ้านจากบุคลากรสาธารณสุขในชุมชนที่ได้รับการฝึกอบรม และการโทรศัพท์ติดตามสามารถช่วยสนับสนุนการเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในระยะแรกได้4
  • ความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อมั่นของมารดาว่าสามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้กับความรู้สึกว่านมแม่ไม่เพียงพอ ผลการศึกษาพบว่า หากมารดาที่มีความเชื่อมั่นในตนเองสูงว่าสามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ จะลดความรู้สึกว่านมแม่ไม่เพียงพอ ซึ่งมีผลต่อการหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ก่อนระยะเวลาที่เหมาะสม5
  • การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และวิธีการให้นมแม่ จะมีข้อมูลระบาดวิทยาของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ประโยชน์ของนมแม่ต่อมารดาและทารก ประโยชน์ของนมแม่ต่อเศรษฐกิจ ระยะเวลาของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ข้อห้ามในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อาหารของมารดาและการใช้ยาในระหว่างการให้นมบุตร บันไดสิบขั้นสู่ความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และการบริหารจัดการในการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ รวมถึงบทบาทของกุมารแพทย์ที่มีต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่6
  • การโอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อตั้งแต่ในระยะแรกหลังคลอดและพฤติกรรมการกินนมแม่ของทารกแรกเกิดที่คลอดครบกำหนด พบว่าการโอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อตั้งแต่ในระยะแรกหลังคลอดช่วยเพิ่มอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวในทารกที่คลอดครบกำหนด7

ที่มาจาก การบรรยายของ ศ.คลินิก พญ.ศิราภรณ์ สวัสดิวร และหนังสือประกอบการประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติครั้งที่ 6 ในวันที่ 8-10 พฤศจิกายน 2560 ณ โรงแรมมณเฑียร ริเวอร์ไซด์ และการค้นคว้าเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

  1. 1. Lumbiganon P, Martis R, Laopaiboon M, Festin MR, Ho JJ, Hakimi M. Antenatal breastfeeding education for increasing breastfeeding duration. Cochrane Database Syst Rev 2016;12:CD006425.
  2. 2. Guise JM, Palda V, Westhoff C, et al. The effectiveness of primary care-based interventions to promote breastfeeding: systematic evidence review and meta-analysis for the US Preventive Services Task Force. Ann Fam Med 2003;1:70-8.
  3. 3. Ibanez G, de Reynal de Saint Michel C, Denantes M, Saurel-Cubizolles MJ, Ringa V, Magnier AM. Systematic review and meta-analysis of randomized controlled trials evaluating primary care-based interventions to promote breastfeeding in low-income women. Fam Pract 2012;29:245-54.
  4. 4. Lassi ZS, Das JK, Salam RA, Bhutta ZA. Evidence from community level inputs to improve quality of care for maternal and newborn health: interventions and findings. Reprod Health 2014;11 Suppl 2:S2.
  5. 5. Otsuka K, Dennis CL, Tatsuoka H, Jimba M. The relationship between breastfeeding self-efficacy and perceived insufficient milk among Japanese mothers. J Obstet Gynecol Neonatal Nurs 2008;37:546-55.
  6. 6. Eidelman AI. Breastfeeding and the use of human milk: an analysis of the American Academy of Pediatrics 2012 Breastfeeding Policy Statement. Breastfeed Med 2012;7:323-4.
  7. 7. Thukral A, Sankar MJ, Agarwal R, Gupta N, Deorari AK, Paul VK. Early skin-to-skin contact and breast-feeding behavior in term neonates: a randomized controlled trial. Neonatology 2012;102:114-9.