ข้อมูลงานวิจัยที่ช่วยฝ่าฟันอุปสรรคของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? มีงานวิจัยที่สนับสนุนการขับเคลื่อน การฝ่าฟันอุปสรรคของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่บุคลากรทางการแพทย์และผู้ที่สนใจในการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ควรศึกษา ได้แก่

  • การศึกษาทบทวนเรื่องการให้ความรู้เรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในระหว่างการฝากครรภ์เพื่อช่วยเพิ่มระยะเวลาของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยแม้ว่าที่ผ่านมา จะเชื่อว่าการให้ความรู้แก่มารดาและครอบครัวจะมีส่วนช่วยในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ แต่ยังขาดหลักฐานเชิงประจักษ์ที่จะยืนยันว่า การให้ความรู้ในระหว่างการฝากครรภ์จะช่วยเพิ่มการเริ่มการกินนมแม่ เพิ่มสัดส่วนหรืออัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หรืออัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวที่ระยะสามเดือนหรือหกเดือน หรือเพิ่มระยะเวลาของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การอ่านการทบทวนบทความนี้จะมีความเข้าใจถึงการจัดการให้ความรู้ในระหว่างการฝากครรภ์ในรูปแบบต่าง ๆ และแนวโน้มของผลที่มีต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่1
  • การศึกษาอย่างเป็นระบบถึงการจัดการสาธารณสุขพื้นฐานเพื่อสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ซึ่งพบว่าในประเทศที่กำลังพัฒนา การจัดโปรแกรมการให้ความรู้แก่มารดาช่วยเพิ่มอัตราการเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในระยะสั้น สำหรับการเยี่ยมบ้านหรือการโทรศัพท์ติดตามเยี่ยมมารดาจะช่วยเพิ่มอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ทั้งในระยะสั้นและในระยะยาว2 นอกจากนี้ การจัดโปรแกรมให้ความรู้และติดตามการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่โดยบุคลากรทางการแพทย์ยังช่วยสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดากลุ่มที่มีรายได้น้อยด้วย3
  • การให้การสนับสนุนในระดับชุมชนที่ช่วยพัฒนาการดูแลสุขภาพมารดาและทารก พบว่าการจัดบริการการติดตามเยี่ยมบ้านจากบุคลากรสาธารณสุขในชุมชนที่ได้รับการฝึกอบรม และการโทรศัพท์ติดตามสามารถช่วยสนับสนุนการเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในระยะแรกได้4
  • ความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อมั่นของมารดาว่าสามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้กับความรู้สึกว่านมแม่ไม่เพียงพอ ผลการศึกษาพบว่า หากมารดาที่มีความเชื่อมั่นในตนเองสูงว่าสามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ จะลดความรู้สึกว่านมแม่ไม่เพียงพอ ซึ่งมีผลต่อการหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ก่อนระยะเวลาที่เหมาะสม5
  • การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และวิธีการให้นมแม่ จะมีข้อมูลระบาดวิทยาของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ประโยชน์ของนมแม่ต่อมารดาและทารก ประโยชน์ของนมแม่ต่อเศรษฐกิจ ระยะเวลาของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ข้อห้ามในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อาหารของมารดาและการใช้ยาในระหว่างการให้นมบุตร บันไดสิบขั้นสู่ความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และการบริหารจัดการในการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ รวมถึงบทบาทของกุมารแพทย์ที่มีต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่6
  • การโอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อตั้งแต่ในระยะแรกหลังคลอดและพฤติกรรมการกินนมแม่ของทารกแรกเกิดที่คลอดครบกำหนด พบว่าการโอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อตั้งแต่ในระยะแรกหลังคลอดช่วยเพิ่มอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวในทารกที่คลอดครบกำหนด7

ที่มาจาก การบรรยายของ ศ.คลินิก พญ.ศิราภรณ์ สวัสดิวร และหนังสือประกอบการประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติครั้งที่ 6 ในวันที่ 8-10 พฤศจิกายน 2560 ณ โรงแรมมณเฑียร ริเวอร์ไซด์ และการค้นคว้าเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

  1. 1. Lumbiganon P, Martis R, Laopaiboon M, Festin MR, Ho JJ, Hakimi M. Antenatal breastfeeding education for increasing breastfeeding duration. Cochrane Database Syst Rev 2016;12:CD006425.
  2. 2. Guise JM, Palda V, Westhoff C, et al. The effectiveness of primary care-based interventions to promote breastfeeding: systematic evidence review and meta-analysis for the US Preventive Services Task Force. Ann Fam Med 2003;1:70-8.
  3. 3. Ibanez G, de Reynal de Saint Michel C, Denantes M, Saurel-Cubizolles MJ, Ringa V, Magnier AM. Systematic review and meta-analysis of randomized controlled trials evaluating primary care-based interventions to promote breastfeeding in low-income women. Fam Pract 2012;29:245-54.
  4. 4. Lassi ZS, Das JK, Salam RA, Bhutta ZA. Evidence from community level inputs to improve quality of care for maternal and newborn health: interventions and findings. Reprod Health 2014;11 Suppl 2:S2.
  5. 5. Otsuka K, Dennis CL, Tatsuoka H, Jimba M. The relationship between breastfeeding self-efficacy and perceived insufficient milk among Japanese mothers. J Obstet Gynecol Neonatal Nurs 2008;37:546-55.
  6. 6. Eidelman AI. Breastfeeding and the use of human milk: an analysis of the American Academy of Pediatrics 2012 Breastfeeding Policy Statement. Breastfeed Med 2012;7:323-4.
  7. 7. Thukral A, Sankar MJ, Agarwal R, Gupta N, Deorari AK, Paul VK. Early skin-to-skin contact and breast-feeding behavior in term neonates: a randomized controlled trial. Neonatology 2012;102:114-9.