คลังเก็บหมวดหมู่: ข่าวสาร

ข่าวสาร

การได้กินนมแม่ถือเป็นสิทธิพื้นฐานที่เท่าเทียมกันของทารก

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? ? นมแม่เป็นสิ่งที่สร้างขึ้นมาเพื่อเป็นอาหารที่ดีและเหมาะสมที่สุดสำหรับทารกแรกเกิด ไม่ว่ามารดาจะมีฐานะร่ำรวยหรือยากจน จะมีความเท่าเทียมกันของการที่มารดาจะมีโอกาสที่จะมอบนมแม่ให้แก่ลูก1 โอกาสเหล่านี้ถือเป็นสิ่งหนึ่งของการที่ธรรมชาติได้ให้ความเท่าเทียมนี้มาแก่ทารกแรกเกิด บุคลากรในโรงพยาบาลหากดำเนินการส่งเสริมหรือสนับสนุนให้ทารกได้กินนมแม่ในระหว่างหลังคลอดที่มารดาอยู่ในโรงพยาบาล จะช่วยเพิ่มระยะเวลาของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดาได้ ดังนั้น การวางแผนในการคลอดของมารดา หากคลอดในโรงพยาบาลที่สนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ก็จะมีโอกาสที่จะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ยาวนานกว่าแม้จะมีพื้นฐานของความเท่าเทียมกันในการที่ทารกจะได้กินนมแม่ ปัจจัยการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในสถานพยาบาลจึงถือเป็นเรื่องสำคัญที่มารดาและครอบครัวควรให้ความสนใจและใส่ใจ เพื่อสร้างโอกาสในการที่จะให้ลูกได้นมแม่ที่ยาวนานขึ้น

เอกสารอ้างอิง

  1. Vehling L, Chan D, McGavock J, et al. Exclusive breastfeeding in hospital predicts longer breastfeeding duration in Canada: Implications for health equity. Birth 2018.

 

 

การปรับเวลาอาบน้ำให้ทารกแรกเกิด

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ?การอาบน้ำให้ทารกแรกเกิดในระยะแรกหลังคลอดนั้น เมื่อพิจารณาความจำเป็นและลำดับความสำคัญ มีขั้นตอนที่จำเป็นในการจัดการทารกในระยะแรกหลังคลอดมากกว่าการอาบน้ำให้ทารก โดยทั่วไป เมื่อทารกคลอดใหม่ ๆ การเช็ดตัวทารกให้ทารกตัวแห้งมีความจำเป็นในการป้องกันภาวะตัวเย็นของทารก การประเมินการหายใจและจังหวะการเต้นของหัวใจทารกเพื่อประเมินสุขภาพเบื้องต้นของทารกก็เป็นสิ่งที่จำเป็น ที่เหลือนอกนั้นล้วนสามารถรอกระบวนการการให้มารดาได้โอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อ และปล่อยให้ทารกใช้ช่วงเวลาในระยะแรกหลังคลอดปรับตัวอยู่บนอกมารดาพร้อมกับคลืบคลานเข้าหาเต้านมและเริ่มต้นการกินนมแม่ได้ทั้งนั้น ตัวอย่างเช่น การฉีดวัคซีนแม้มีความจำเป็นแต่ยังสามารถรอได้ไม่ต้องรีบร้อนฉีดในระยะแรกหลังคลอด ซึ่งจะเป็นการสร้างความเจ็บปวดและรบกวนช่วงเวลาสำคัญที่ควรจัดให้สำหรับการสร้างความผูกพัน ความรักระหว่างแม่และลูก ดังนั้น การปรับขั้นตอนกระบวนการจัดการของพยาบาลหลังการคลอดเช่นการอาบน้ำให้แก่ทารกควรมีการปรับเปลี่ยนตามลำดับความสำคัญ1 เพราะนอกจากจะเป็นการสะท้อนถึงความเข้าใจกลไกการปรับตัวที่เหมาะสมของทารกแล้ว ยังช่วยส่งเสริมและสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อีกด้วย

เอกสารอ้างอิง

  1. Suchy C, Morton C, Ramos RR, et al. Does Changing Newborn Bath Procedure Alter Newborn Temperatures and Exclusive Breastfeeding? Neonatal Netw 2018;37:4-10.

การให้นมลูกกับการลดความเจ็บปวด

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? ? ลูกเป็นเสมือนแก้วตาดวงใจของพ่อแม่ เมื่อแรกคลอดการได้พบหน้าลูกจึงเป็นสิ่งที่คาดหวังและรอคอยของแม่และพ่อ ดังนั้นความจดจ่อหรือความสนใจของมารดาจึงให้และไปสู่ทารกแรกเกิดจนสิ้น การนำลูกไปไว้บนอกหรือดูดนมมารดาตั้งแต่แรกคลอดจึงช่วยลดความรู้สึกปวดแผลจากการคลอดของมารดาได้ ในทางกลับกัน การอยู่บนอกมารดาหรือการได้ดูดนมแม่ก็สามารถลดความเจ็บปวดของทารกจากการฉีดวัคซีนได้ ทั้ง ๆ ที่ทารกอาจจะยังมองเห็นหน้ามารดาไม่ชัด แต่ความคุ้นเคย ใกล้ชิด กลิ่นและบรรยากาศที่อบอุ่น ปลอดภัยก็ทำให้ทารกสงบและลดความเจ็บปวดลงเมื่อต้องเผชิญกับการฉีดวัคซีน ดังนั้น จึงเป็นข้อแนะนำให้ทารกกินนมแม่ก่อน ระหว่าง หรือหลังการฉีดวัคซีน ซึ่งนอกจากจะเป็นผลดีในแง่การลดความเจ็บปวดแก่ทารก ยังช่วยหลีกเลี่ยงอันตรายที่อาจเกิดจากการใช้ยาแก้ปวดในทารกได้1

เอกสารอ้างอิง

  1. Suleiman N, Shamsuddin SH, Mohd Rus R, Drahman S, Taib M. The Relevancy of paracetamol and Breastfeeding Post Infant Vaccination: A Systematic Review. Pharmacy (Basel) 2018;6.

แพทย์ควรมีความรู้เรื่องยาที่ใช้ในระหว่างการให้นมบุตร

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? ? เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เมื่อสตรีตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรแล้วมีโรคประจำตัวอื่น ๆ ที่จำเป็นต้องใช้ยาเป็นประจำ โดยเฉพาะโรคทางจิตเวช ได้แก่ โรคที่เกิดจากความวิตกกังวล หรือโรคซึมเศร้า ซึ่งพบมีอุบัติการณ์สูงขึ้น อาจเป็นเพราะสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป การแข่งขันทางการเรียน การค้า เศรษฐกิจสูง จึงมีโอกาสที่จะพบมารดาที่จำเป็นต้องกินยาทางด้านจิตเวชในระหว่างการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร แพทย์ทางจิตเวชอาจต้องมีความรู้ในเรื่องการใช้ยาเหล่านี้ในระยะตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรด้วย1 เนื่องจากผู้ป่วยอาจจะสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับอันตรายหรือผลแทรกซ้อนในกรณีที่ต้องรับประทานยาในระหว่างการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร แน่นอนการให้ผู้ป่วยมาปรึกษาเรื่องยากับสูติแพทย์ก็อาจเป็นหนทางหนึ่ง แต่บางครั้งผู้ป่วยต้องการความมั่นใจที่จะได้จากจิตแพทย์ด้วย หากแพทย์ผู้ดูแลไม่ว่าในสาขาใดสามารถที่จะค้นคว้าหาข้อมูลของยาที่ใช้ในระหว่างการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรแล้วก็จะเป็นประโยชน์แก่มารดาและต่อการตัดสินใจจะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต่อด้วย อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันการจัดข้อมูลยาตามกลุ่มยา (category) นั้น องค์การอาหารและยาของสหรัฐแนะนำให้มีการปรับเปลี่ยนการให้ข้อมูลใหม่แล้ว โดยแพทย์ควรให้ข้อมูลถึงการศึกษาวิจัยว่ามีข้อมูลอย่างไรบ้างแล้วชี้แจงในรายละเอียดมากกว่าการให้ข้อมูลว่า ยานี้อยู่ใน category C ซึ่งแสดงว่าขาดข้อมูลที่เพียงพอ แล้วชี้แจงผู้ป่วยว่ามีความปลอดภัยในการใช้ ดังนั้น การให้ข้อมูลตามที่มีการศึกษาอยู่โดยรายละเอียดจำเป็นเพื่อให้มารดาและครอบครัวร่วมพิจารณา จึงเป็นสิ่งที่ควรปฏิบัติและทำให้เป็นมาตรฐานในการรักษาทางการแพทย์

เอกสารอ้างอิง

  1. Terres NM. Resources for Psychiatric Clinicians Working With Breastfeeding Mothers. J Psychosoc Nurs Ment Health Serv 2018:1-10.

 

เทคนิคการบีบน้ำนมด้วยมือ

การบีบน้ำนมด้วยมือเป็นทักษะพื้นฐานที่นอกเหนือจากจะช่วยในการเก็บน้ำนมแล้ว ยังสะท้อนหรือบ่งบอกว่าแม่มีน้ำนมเพียงพอได้ หากบีบน้ำนมแล้วน้ำนมพุ่งหรือไหลดี